• คลอดกม.สื่อลามก-แค่มีไว้ดูก็ถือว่าผิด! |
โพสต์โดย กรรมกรข่าว , วันที่ 11 ก.ค. 50 เวลา 10:57:53 IP: Hide ip |
กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
คลอดกม.สื่อลามก-แค่มีไว้ดูก็ถือว่าผิด!
ครม.คลอดร่างพ.ร.บ.ปราบสื่อลามก ก่อนส่งกฤษฎีกาตีความแล้วชงเข้าสนช. ระบุเอาผิดแม้แต่มีไว้ในครอบครอง สื่อที่จะนำไปสู่อันตรายรุนแรง ทั้งเรื่องเพศ ร่างกาย ทั้งคลิป หนัง หนังสือ เสียง อินเตอร์เน็ต ฯลฯ คลิปในมือถือก็ไม่เว้น ถ้ามีผลกับการกระทำความผิดทางเพศ เจอโทษ 1-5 ปี แต่ถ้าทำกับเด็กต่ำกว่า 15 โทษจะเป็นสูงกว่าถึง 3 เท่า แถมลงโทษหนักกับผู้ที่มีเพื่อการค้า นอกจากติดคุกแล้วยังถูกยึดทรัพย์ด้วย พร้อมตั้งกก.ปราบปรามวัตถุยั่วยุฯ ด้านเครือข่ายครอบครัวจี้รัฐบาลเร่งสรุปเรตติ้งให้จบใน 30 วัน เมื่อเวลา 08.30 น. วันที่ 10 ก.ค. พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี รับหนังสือจากตัวแทนเครือข่ายครอบครัว เครือข่ายเยาวชน เครือข่ายครอบครัวเฝ้าระวังและสร้างสรรค์สื่อ เครือข่ายเยาวชนสนับสนุนสื่อสร้างสรรค์ มูลนิธิกระจกเงา สถาบันต้นกล้า มูลนิธิเพื่อนหญิง และเด็กนักเรียนจากโรงเรียนลอออุทิศ โรงเรียนประเทืองทิพย์วิทยา เพื่อขอให้รัฐบาลเร่งรัดจัดระดับความเหมาะสมของสื่อโทรทัศน์สำหรับหนังสือดังกล่าวระบุว่า มีความจำเป็นที่รัฐบาลต้องมีมาตรการพัฒนาคุณภาพรายการโทรทัศน์อย่างเร่งด่วน ถึงเวลาแล้วที่ต้องปฏิรูปรายการโทรทัศน์ ก่อนที่สังคมไทยจะเสียหายกว่านี้ จึงเรียกร้องให้ความคุ้มครองเด็กจากความรุนแรงทางรายการโทรทัศน์ทันที ตามพ.ร.บ.คุ้มครองเด็กและอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
ขอให้นายกฯ ประสานสถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ ให้ทำรายการที่มีประโยชน์ต่อเด็ก และสั่งการกรมประชาสัมพันธ์เร่งดำเนินการตามมติครม.โดยเร็วที่สุด ส่งเสริมให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในคณะกรรมการจัดทำคู่มือ รวมถึงเกิดระบบการตรวจสอบของภาคประชาชนอย่างแท้จริง เช่น ผู้ที่ทำงานด้านเด็กและสตรี ขอเรียกร้องรัฐบาลเร่งรัดดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันด้านคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ รมต.ประจำสำนักนายกฯ กล่าวว่า วันนี้จะสามารถสรรหาบุคคลมาเป็นคณะอนุกรรมการจัดทำคู่มือแล้วเสร็จ โดยตนกับนายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รองนายกฯ และรมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จะร่วมกันพิจารณาผู้สื่อข่าวถามว่า จะพิจารณาบุคคลที่เป็นผู้จัดรายการภาคเอกชนร่วมเป็นคณะอนุกรรมการด้วยหรือไม่ คุณหญิงทิพาวดีกล่าวว่า อยากให้มีความหลากหลาย และอยากให้การจัดเรตติ้งโทรทัศน์แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อเด็กและเยาวชนซึ่งรอกันมานาน อย่างไรก็ตามในหลักการไม่มีปัญหา
แต่ความชัดเจนของตัวอย่างในการเขียนความหมายจะไปตีความใช้ดุลพินิจ เรื่องนี้หลักการก็คือผู้ผลิตรายการเป็นผู้ควบคุมโดยตัวเอง ไม่ต้องมีเซ็นเซอร์ ดังนั้นการตีความต้องใช้วิจารณญาณเป็นหลักสำคัญ"เด็กและผู้ใหญ่มีดุลพินิจไม่เท่าเทียมกัน ซึ่งโทรทัศน์เป็นของฟรีที่ไม่สามารถห้ามให้ใครไม่ให้ดูเวลาไหนไม่ได้ ซึ่งเวลาที่เหมาะสมสำหรับเด็กอยู่ในช่วง 16.00-20.00 น. ที่ผ่านมาเราจำแนกประเภทรายการด้วยการเซ็นเซอร์จนเคยชิน แต่เราปรับรูปแบบใหม่ไม่เป็นการเซ็นเซอร์ ดังนั้นต้องมีคู่มือจัดทำรายการ" คุณหญิงทิพาวดีกล่าวด้านนายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รองนายกรัฐมนตรี และรมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ แถลงภายหลังประชุมครม.ที่ทำเนียบรัฐบาลว่า ครม.เห็นชอบในหลักการร่างพ.ร.บ.ปราบปรามวัตถุยั่วยุพฤติกรรมอันตราย
โดยมีสาระสำคัญห้ามครอบครองวัตถุยั่วยุพฤติกรรมอันตราย เนื่องมาจากสังคมปัจจุบันมีพัฒนาการ มีวัตถุยั่วยุพฤติกรรมอันตราย ซึ่งหมายถึงสิ่งที่นำไปสู่ความไม่ดีอย่างยิ่ง อาทิ เอกสาร ภาพ ภาพเขียน ภาพพิมพ์ ภาพระบายสี สิ่งพิมพ์ รูปภาพ รูปลอย ภาพโฆษณา เครื่องหมาย รูปถ่าย ภาพยนตร์ วัสดุบันทึกภาพ วัสดุบันทึกข้อมูล วัสดุบันทึกเสียง เสียงหรือถ้อยคำทางโทรศัพท์ ข้อความ ข้อมูล ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ อินเตอร์เน็ต ฯลฯที่สามารถกระตุ้น ส่งเสริม หรือยั่วยุ ให้เกิดหรือน่าจะเกิดสิ่งที่เป็นอันตรายดังต่อไปนี้ การกระทำวิปริตทางเพศ กิจกรรมความสัมพันธ์ หรือการกระทำทางเพศต่อเด็กหรือการกระทำทางเพศของเด็ก การกระทำทารุณกรรมต่อเด็ก การฆ่าตัวตาย การใช้ยาเสพติด การกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาว่าด้วยความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย ความผิดเกี่ยวกับศาสนา ความผิดเกี่ยวกับเพศ และการใช้ความรุนแรงที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตกฎหมายดังกล่าวจะเป็นการป้องกันและปราบปรามอันตรายอย่างยิ่งต่อสังคม เพราะหากใครมีเจตนาทำ ผลิต สำเนา หรือครอบครองวัตถุยั่วยุพฤติกรรมอันตราย หรือที่ร้ายที่สุด คือการทำเป็นการค้า ก็ยิ่งจะได้รับโทษหนักที่สุด และหากกระทำกับเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ก็จะต้องรับโทษหนักขึ้นไปอีก 3 เท่า ซึ่งจะให้เจ้าพนักงานที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้กำหนดความผิด เพื่อส่งให้ศาลวินิจฉัยต่อไปนายไพบูลย์กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ได้ตั้งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามวัตถุยั่วยุพฤติกรรมอันตราย โดยมีรมว.การพัฒนาสังคมฯ เป็นประธาน ส่วนกรรมการประกอบด้วย รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงยุติธรรม และผู้ทรงคุณวุฒิ
โดยกำหนดความผิดให้ถือว่าเป็นความผิดมูลฐานตามกฎหมาย ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินอีกด้วย เพื่อให้มีโอกาสที่จะยึดทรัพย์ เพราะหากกระทำเป็นการค้าจะเกิดกำไรมหาศาลจึงต้องใช้กฎหมายว่าด้วยการฟอกเงิน อย่างไรก็ตามคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามวัตถุยั่วยุพฤติกรรมอันตราย สามารถร่วมกันรักษาการในกรณีดำเนินการแต่งตั้งเจ้าพนักงานเพื่อดำเนินงานตามกฎหมายนี้ได้นายไพบูลย์กล่าวต่อว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องซับซ้อน ซึ่งครม.แสดงความเห็นกันอย่างหลากหลาย มีการทักท้วง เรื่องการทับซ้อนของข้อความในกฎหมาย กับการปฏิบัติที่ควรจะอยู่ในขอบเขตของการรักษาสิทธิมนุษยชน และความพอดีต่างๆ แต่ส่วนใหญ่เห็นชอบในหลักการและให้ส่งเรื่องไปยังคณะกรรมการกฤษฎีกาช่วยพิจารณาเพื่อให้นำเอาข้อสังเกตต่างๆ ที่ครม.ให้ไว้ไปประกอบการพิจารณา ก่อนส่งสนช.พิจารณาต่อไป"วัตถุยั่วยุ พฤติกรรมอันตรายที่ไปกระตุ้นการกระทำที่เป็นอันตรายเรื่องเพศ โดยเฉพาะการกระทำกับเด็กและเรื่องความรุนแรง เช่น การฆ่าตัวตาย การก่อการร้าย หรือการทำผิดศีลธรรมมากๆ เราจึงต้องการป้องกันและปราบปราม การผลิตหรือการทำการค้าวัตถุเหล่านั้น
ปัจจุบันมีกฎหมายดูแลอยู่แต่ไม่ตรงนัก ซึ่งผู้ยกร่างใช้คำว่าเป็นความผิดสีดำ ซึ่งเป็นความผิดแบบรุนแรงและอันตรายมากๆ ไม่ใช่ความผิดสีเทา เช่น ลามก อนาจาร ซึ่งคำว่าอันตรายมากๆ นั้น หมายถึงเป็นอันตรายต่อสังคม ทำให้เกิดพฤติกรรม เช่น ฆ่าตัวตาย ทารุณต่อเด็ก กระทำทางเพศต่อเด็กอายุน้อยๆ
ซึ่งสิ่งที่ไปทำนั้นอาจจะไม่ได้เป็นภาพลามกก็ได้ แต่อาจเป็นวรรณกรรม ที่เขียนแล้วชักจูงให้คิดไปในรูปเหล่านั้น อย่างไรก็ตามร่างพ.ร.บ.ปราบปรามวัตถุยั่วยุพฤติกรรมอันตราย ผู้กระทำความผิดมีโทษจำคุก 1-5 ปี และถ้าเป็นความผิดแรงมากขึ้นก็จะเพิ่มความผิดอีกเท่าตัว ถ้าแรงอีกจะเพิ่มเป็น 3 เท่า และยิ่งทำเป็นการค้าแล้วทำกับเด็กด้วยนั้น ก็จะได้รับโทษแรงที่สุด" รองนายกฯ กล่าวผู้สื่อข่าวถามว่า ภาพของวิดีโอคลิปที่ส่งกันในมือถือ ถือเป็นวัตถุอันตรายด้วยหรือไม่ นายไพบูลย์กล่าวว่า ถ้านำไปสู่การยั่วยุให้เกิดพฤติกรรมรุนแรงก็ถือว่าเข้าข่าย ซึ่งกฎหมายนี้ครอบคลุมถึงซีดี วิดีโอ หรือคลิป ที่คนดูแล้วเกิดความอยากไปทำอันตรายต่อเด็ก ต่อสัตว์ ก็ถือเป็นวิปริตเมื่อถามว่ากฎหมายดังกล่าวจะยิ่งทำให้ต้องมีการเซ็นเซอร์สื่อภาพยนตร์มากขึ้นหรือไม่ นายไพบูลย์กล่าวว่า ก่อนที่กฎหมายจะออกทุกฝ่ายต้องดูให้รอบคอบ แต่อย่างไรก็ตามเมื่อนำมาใช้แล้วหากหนักไปหรือเบาไปคงจะมีการปรับปรุงได้
ที่มาจาก ข่าวจาก เอมไทยดอทคอม
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
|
|
|
แจ้งลบกระทู้นี้
อ่าน 1562 |
|
แสดงความคิดเห็น |
โดย กรรมกรข่าว
IP: Hide ip
, วันที่ 11 ก.ค. 50
เวลา 10:57:53
|