• มีเรียนรู้ เส้นทางร่างพ.ร.บ.ในรัฐสภา กันครับ ... สรุปด้วยรูปภาพ ง่ายๆ |
โพสต์โดย โน้ต cmprice , วันที่ 08 พ.ย. 56 เวลา 08:29:36 IP: Hide ip |
กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
พระราชบัญญัติ เป็นกฎหมายที่มีลำดับศักดิ์รองจากกฎหมายรัฐธรรมนูญที่ตราขึ้นเป็นกฎหมาย บังคับใช้แก่ประชาชน โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนและวุฒิสภา พระราชบัญญัติจะมีผลบังคับใช้อย่างสมบูรณ์ และเป็นเครื่องมือของฝ่ายบริหารในการใช้อำนาจ จะต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย และประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว
ซึ่งเนื้อหาของพระราชบัญญัตินั้นจะต้องไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่ง รัฐธรรมนูญ หรือหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญทั่วไป เรียกว่า ประเพณีการปกครองของประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุข นอกจากนี้ เนื้อหาของพระราชบัญญัติยังมีลักษณะกำหนดกฎเกณฑ์เป็นการทั่วไปในการก่อตั้ง เปลี่ยนแปลงกำหนดขอบเขตแห่งสิทธิและหน้าที่ของบุคคล ตลอดจนจำกัดสิทธิเสรีภาพของบุคคลได้ตามที่รัฐธรรมนูญให้อำนาจไว้
- การเสนอร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 139 ได้บัญญัติว่า การเสนอร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญจะเสนอได้ก็แต่โดย
1) คณะรัฐมนตรี
2) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภามีจำนวนไม้น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา หรือ
3) ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลฎีกา หรือองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งประธานศาลและประธานองค์กรนั้นเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐ ธรรมนูญนั้น
- การเสนอร่างพระราชบัญญัติ
ส่วนการเสนอร่างพระราชบัญญัติ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 142 ได้บัญญัติว่า การเสนอร่างพระราชบัญญัติจะเสนอได้ก็แต่โดย
1) คณะรัฐมนตรี
2) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่า 20 คน
3) ศาลหรือองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญเฉพาะกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดองค์กรและ กฎหมายที่ประธานศาล และประธานองค์กรนั้นเป็นผู้รักษาการ หรือ
4) ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 10,000 คน โดยจะเข้าชื่อเสนอกฎหมายได้เฉพาะหมวดสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย และหมวดแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐเท่านั้น
สำหรับร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินที่จะเสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภาจะต้องได้รับคำรับรองจากนายกรัฐมนตรี
กระบวนการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของสภาผู้แทนราษฎร
กระบวนการพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินั้น จะต้องเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรก่อน ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรจะต้องพิจารณาเป็น 3 วาระตามลำดับ ดังนี้
วาระที่ 1 เป็นการพิจารณาหลักการทั่วไปของร่างพระราชบัญญัติว่าสมควรจะลงมติรับหลักการหรือไม่รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัตินั้น
วาระที่ 2 เป็นการพิจารณาในรายละเอียดของร่างพระราชบัญญัติ โดยคณะกรรมาธิการที่สภาตั้งหรือคณะกรรมาธิการเต็มสภา
คณะกรรมาธิการที่สภาตั้ง ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติโดยคณะกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎรจะให้คณะ กรรมาธิการสามัญหรือคณะกรรมาธิการวิสามัญเป็นผู้พิจารณาก็ได้
คณะกรรมาธิการเต็มสภา ในกรณีที่สภาผู้แทนราษฎรมีมติให้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติโดยกรรมาธิการเต็ม สภาให้ถือว่าสมาชิกทุกคนในที่ประชุมประกอบกันเป็นคณะกรรมาธิการ และประธานของที่ประชุมมีฐานะเป็นประธานคณะกรรมาธิการด้วย การพิจารณาโดยกรรมาธิการเต็มสภาเป็นการพิจารณาขั้นคณะกรรมาธิการและการ พิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรในวาระที่ 2 เรียงลำดับมาตรารวมกันไป
วาระที่ 3 การ พิจารณาร่างพระราชบัญญัติในวาระที่ 3 นี้ จะไม่มีการอภิปราย และให้ที่ประชุมลงมติว่าเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ ในกรณีที่สภาผู้แทนราษฎรลงมติไม่ให้ความเห็นชอบ ร่างพระราชบัญญัตินั้นเป็นอันตกไป และในกรณีที่สภาผู้แทนราษฎรมีมติให้ความเห็นชอบ ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรดำเนินการเสนอร่างพระราชบัญญัตินั้นต่อวุฒิสภาต่อไป
การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของวุฒิสภา
วุฒิสภาต้องพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่สภาผู้แทนราษฎรเสนอมานั้นให้ เสร็จภายใน 60 วัน แต่ถ้าเป็นร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวด้วยการเงิน ต้องพิจารณาให้เสร็จภายใน 30 วัน ทั้งนี้เว้นแต่วุฒิสภาจะได้ลงมติให้ขยายเวลาออกไปเป็นกรณีพิเศษ กำหนดวันดังกล่าวให้หมายถึงวันในสมัยประชุม และให้เริ่มนับแต่วันที่ร่างพระราชบัญญัตินั้นมาถึงวุฒิสภา
ถ้าวุฒิสภาพิจารณาร่างพระราชบัญญัติไม่เสร็จภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าวุฒิสภาได้ให้ความเห็นชอบในร่างพระราชบัญญัตินั้น กรณีที่สภาผู้แทนราษฎรเสนอร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินไปยังวุฒิสภา ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรแจ้งไปด้วยว่าร่างพระราชบัญญัติที่เสนอไปนั้นเป็น ร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน คำแจ้งของประธานสภาผู้แทนราษฎรให้ถือเป็นเด็ดขาด
การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของวุฒิสภาจะพิจารณาเป็น 3 วาระเช่นเดียวกับการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของสภาผู้แทนราษฎร
เมื่อวุฒิสภาลงมติในวาระที่ 3 เห็นชอบด้วยกับสภาผู้แทนราษฎร โดยไม่มีการแก้ไขให้ถือว่าร่างพระราชบัญญัตินั้นได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา แล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าถวายพระมหากษัตริย์ภายใน 20 วันนับแต่วันที่ได้รับร่างพระราชบัญญัตินั้นจากรัฐสภา เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย และเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้
กระบวนการพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินั้นมีสาระสำคัญทางกฎหมายที่ต้อง พิจารณาในรายละเอียดตามแต่กรณีที่เกิดขึ้น เช่น กรณีรัฐสภาให้ความเห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญแล้ว ก่อนนำขึ้นทูลเกล้าถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญซึ่งต้องกระทำให้แล้วเสร็จ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับเรื่อง หรือในส่วนการพิจารณาของวุฒิสภาอาจเกิดกรณีวุฒิสภาไม่เห็นชอบด้วยกับสภาผู้ แทนราษฎร กรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติม หรือกรณีพระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วย
ขอบคุณเนื้อหาจาก http://news.mthai.com/politics-news/283198.html
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
|
|
|
แจ้งลบกระทู้นี้
อ่าน 1718 |
|
แสดงความคิดเห็น |
โดย โน้ต cmprice
IP: Hide ip
, วันที่ 08 พ.ย. 56
เวลา 08:29:36
|