• (มีคลิป เรื่องเด่นเย็นนี้)กรมวิทย์ฯการแพทย์ แจ้ง ''ขวดพลาสติกตากแดด ไม่เสี่ยงเป็นมะเร็ง'' |
โพสต์โดย โน้ต cmprice , วันที่ 04 มิ.ย. 57 เวลา 22:56:04 IP: Hide ip |
กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
จากที่มินโน้ตเคยได้อ่าน และมีคนแชร์ในอินเตอร์เน็ตว่าขวดน้ำ ที่ตากแดดจะมีสารให้ก่อเกิดมะเร็ง แต่ตอนนี้ทาง กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ออกมาบอกว่า ไม่เป็นอันตราย!!!
http://www.youtube.com/watch?v=wIhZO8BhDqA
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ลั่น 'อย่าเชื่อข่าวลือโลกออนไลน์' ห้ามดื่มน้ำจากขวดพลาสติกที่เก็บในรถยนต์-ตากแดด เสี่ยงเป็นมะเร็ง เผยซื้อน้ำดื่ม 18 ยี่ห้อทดลองตากแดด ก่อนนำมาตรวจหาสารกลุ่มไดออกซิน แต่ไม่พบ...
เมื่อวันที่ 2 มิ.ย. 57 นพ.อภิชัย มงคล อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวถึงการส่งต่อข่าวในสังคมออนไลน์ว่า ให้หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำบรรจุขวดพลาสติก ที่เก็บในหลังรถยนต์และจอดกลางแดด เพราะมีโอกาสได้รับสารไดออกซิน จนก่อให้เกิดมะเร็ง ซึ่งความจริงนั้น กลุ่มสารไดออกซินที่ก่อให้เกิดพิษมี 29 ตัว และสารแต่ละตัวจะมีค่าความเป็นพิษแตกต่างกัน โดยสารไดออกซินเกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของเคมีภัณฑ์ ที่มีสารคลอรีนเป็นองค์ประกอบ เช่น อุตสาหกรรมผลิตเยื่อกระดาษ อุตสาหกรรมผลิตยาฆ่าแมลง เป็นต้น หรือกระบวนการเผาไหม้อุณหภูมิสูงทุกชนิด เช่น เตาเผาขยะทั่วไป เตาเผาขยะจากโรงพยาบาล เตาเผาศพ การเผาไหม้ของเชื้อเพลิง และการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง เป็นต้น
ทั้งนี้ การสร้างกลุ่มสารไดออกซินจากการเผาไหม้ จะอยู่ในช่วงอุณหภูมิประมาณ 200-550 องศาเซลเซียส และจะเริ่มถูกทำลายเมื่ออุณหภูมิ 850 องศาเซลเซียสขึ้นไป ทำให้มีการปลดปล่อยและสะสมสารกลุ่มนี้ในสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นทางอากาศ ดิน หรือน้ำ ซึ่งสามารถปนเปื้อนเข้าสู่ห่วงโซ่อาหารของมนุษย์ได้ ดังนั้น ที่ระบุว่า ไดออกซินละลายออกมาจากขวดบรรจุน้ำดื่มเมื่อวางไว้ในที่ร้อนๆ เช่น หลังรถยนต์นั้น "ไม่ใช่เรื่องจริง" เพราะไม่เคยมีรายงานการตรวจพบไดออกซินในพลาสติก และสารเคมีต่างๆ ที่มีการกล่าวอ้างว่าละลายออกมาจากขวดพลาสติกทั้งในสภาวะอุณหภูมิสูง หรือสภาวะการแช่แข็ง แล้วทำปฏิกิริยาเกิดเป็นสารไดออกซินนั้น ไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนว่าเกิดขึ้นได้
"สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทย์ ซื้อตัวอย่างน้ำดื่มที่บรรจุในขวดพลาสติกชนิดพอลิเอทิลีน พอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต พอลิพรอพิลีน พอลิคาร์บอเนต และพอลิไวนิลคลอไรด์ ที่จำหน่ายในตลาดสดและซุปเปอร์มาร์เก็ต 18 ยี่ห้อ และนำไปวางในรถที่จอดกลางแดดเป็นเวลา 1 วัน และ 7 วัน จากนั้นตรวจวิเคราะห์สารประกอบกลุ่มไดออกซิน จำนวน 17 ตัว และพีซีบี จำนวน 18 ตัว พบว่า ตรวจไม่พบสารประกอบกลุ่มไดออกซินและพีซีบีในทุกตัวอย่าง ขอให้ผู้บริโภคพิจารณาข่าวสารต่างๆ ที่ได้รับจากสื่อออนไลน์ก่อน" นพ.อภิชัย กล่าว
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันขวดพลาสติกขนาดเล็กมีอยู่ 2 ชนิด คือ ขวดสีขาวขุ่น ทำจากพลาสติกชนิด PE (พอลิเอทิลีน) และขวดใสไม่มีสีทำจากพลาสติกชนิด PET (พอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต) ซึ่งนิยมใช้กันมากกว่าขวดแบบขาวขุ่น สำหรับขวดบรรจุน้ำ ชนิดเติม ซึ่งมีการบรรจุซ้ำจะเป็นขวดความจุ ประมาณ 20 ลิตร มี 3 ชนิด คือ ขวดสีขาวขุ่นทำจากพลาสติก ชนิด PP (พอลิพรอพิลีน) ขวดใส สีฟ้าอ่อน หรือสีเขียวอ่อน ทำจากพลาสติกชนิด PC (พอลิคาร์บอเนต) และขวดพลาสติกชนิด PET พลาสติกเหล่านี้ไม่มีสารคลอรีน เป็นองค์ประกอบที่จะเป็นต้นกำเนิดของไดออกซิน หรือถึงแม้ว่าพลาสติกชนิดอื่น เช่น พอลิไวนิลคลอไรด์ (PVC) มีสารคลอรีนเป็นองค์ประกอบ แต่อุณหภูมิของน้ำในขวดไม่ได้สูงมาก พอที่จะทำให้เกิดสารไดออกซินขึ้นมาได้ อีกทั้งไม่นิยมใช้เพื่อบรรจุน้ำบริโภค.
ขอบคุณที่มาจาก http://www.thai rath.co.th/content/426810
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
|
|
|
แจ้งลบกระทู้นี้
อ่าน 2140 |
|
แสดงความคิดเห็น |
โดย โน้ต cmprice
IP: Hide ip
, วันที่ 04 มิ.ย. 57
เวลา 22:56:04
|