• สนธิ ชี้ต้องดูที่มาที่ไปของอีย |
โพสต์โดย กรรมกรข่าว , วันที่ 01 ก.ย. 50 เวลา 10:43:23 IP: Hide ip |
กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
จากการที่กลุ่มสหภาพยุโรป หรืออียู ขอลงนามเอ็มโอยู เพื่อสังเกตการณ์และดูแลการเลือกตั้งของไทยนั้น เรื่องนี้บรรดานักการเมืองและประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ต่างออกมาพูดสอดรับว่าไม่ใช่เรื่องของต่างชาติจะเข้ามาล้วงลึกการทำงานของรัฐบาลไทย เมื่อวันที่ 31 ส.ค. เวลา 10.00 น. ที่กองการบินกรมการขนส่งทหารบก (ขส.ทบ.) พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผบ.ทบ.และประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่กลุ่มสหภาพยุโรป หรืออียู จะเข้ามาสังเกตการณ์การเลือกตั้งของไทยว่า เรื่องอียู คมช. คงไม่เข้าไปเกี่ยวข้อง เป็นเรื่องของรัฐบาลที่จะตกลงกันเราจะไปเน้นย้ำเรื่องกระบวนการของการเลือกตั้ง หากมีจุดใดที่ กอ.รมน.จะเข้าไปเกี่ยวข้องก็ต้องพยายามรักษาให้ถูกต้องและเป็นธรรมต่อระบอบประชาธิปไตย ทุกหน่วยและผู้ว่าราชการจังหวัดทราบปัญหาอยู่แล้วจากบทเรียนที่ผ่านมา เมื่อถามว่า เหมาะสมหรือไม่ที่อียูจะเข้ามาสังเกตการณ์การเลือกตั้งของไทย พล.อ.สนธิตอบว่า ต้องศึกษาที่มาที่ไปว่าเป็นอย่างไร ส่วนจะให้ตอบว่าเหมาะหรือไม่นั้น คิดว่าคนไทยเป็นผู้ตัดสินใจจะถูกต้องมากกว่า รัฐบาล กกต.และส่วนที่เกี่ยวข้องต้องไปศึกษา “เราเป็นคนไทย สิทธิเสรีภาพ ความเป็นเอกราชของเรามีอยู่แล้ว โดยเฉพาะเรากำลังสร้างความสมานฉันท์ ต้องให้ทุกอย่างอยู่ในกรอบของความถูกต้องเป็นหลัก เรื่องความถูกต้องเราจะต้องดำรงไว้ อะไรที่ไม่ถูกต้องเราต้องพยายามกำจัดออกไป” พล.อ.สนธิกล่าว จี้รัฐเร่งหาตัวการดันอียูจุ้นเลือกตั้ง เมื่อถามว่า หน่วยข่าวรายงานหรือไม่ว่ากลุ่มอำนาจเก่าอยู่เบื้องหลังการเข้ามาของอียู พล.อ.สนธิตอบว่า ต้องศึกษาที่มาที่ไปเป็นอย่างไร ทำไมถึงเกิดมาอย่างนี้ หากเราศึกษาต้นตอได้ เราก็จะสามารถตอบคำถามตัวเองได้ และสามารถตอบคำถามในสังคมได้ว่าเกิดอะไรขึ้น ต้องฝากรัฐบาลว่าจะต้องหาที่มาที่ไปตรงนี้ให้ได้เพื่อประเมินข้อเท็จจริงในการปฏิบัติในอนาคต ด้านการข่าวขณะนี้กำลังติดตามอยู่ แต่การเลือกตั้งเป็นเรื่องภายในเพราะเรามีองค์กรกลางการเลือกตั้ง หรือพีเน็ต คอยเฝ้าดูอยู่แล้วเหมือนองค์กรสากลและประสานกับต่างประเทศอยู่แล้ว เขาก็เข้ามาดูแลอยู่คิดว่ารัฐบาลน่าจะต้องตัดสินใจ เมื่อถามว่า แสดงว่ามีกลุ่มบุคคลที่ให้ข้อมูลผิดกับชาวต่างชาติใช่หรือไม่ ประธาน คมช.ตอบว่า ไม่ทราบ ถึงบอกว่าเราต้องหาต้นตอมาจากไหน ย้ำ ปชต.ไทยไม่เหมือนประเทศอื่น เมื่อถามว่า เป็นเพราะต่างชาติยังไม่เข้าใจการปกครองของไทยใช่หรือไม่ พล.อ.สนธิตอบว่า ทุกประเทศวัฒนธรรมการบริหารประเทศและวัฒนธรรมของระบอบประชาธิปไตย ของประเทศบ้านใครบ้านมันไม่เหมือนกัน เราอย่าไปคิดว่าบ้านเราจะเป็นเหมือนประเทศนั้นประเทศนี้ เป็นไปไม่ได้ ต่างชาติจะต้องเข้าใจเราว่านี่คือวัฒนธรรมของประเทศเรา เพราะว่าเป็นอย่างนี้ต้องยอมรับประเทศวัฒนธรรมของเรา มั่นใจต่างชาติเข้าใจการเมืองไทยดี เมื่อถามว่า พบปะเอกอัครราชทูตต่างประเทศคิดว่าเขามีความเข้าใจไทยมากน้อยแค่ไหน พล.อ.สนธิ ตอบว่า ทูตต่างประเทศที่อยู่ในประเทศไทย ตั้งแต่ก่อนวันที่ 19 กันยายน 2549 เข้าใจประเทศไทยดี เพราะคนที่จะเข้ามาเป็นทูตประจำประเทศไทยต้องมีการอบรมในเรื่องของประเทศที่จะมาประจำค่อนข้างมาก “ทุกคนรู้จักประเทศไทยดี รู้ประเพณี และรู้จักวัฒนธรรมทางการเมืองไทยดี ที่สำคัญลักษณะนิสัยของคนไทยเขารู้ดี เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ 19 กันยายน 2549 ผมเชื่อว่าทูตทุกคนทราบดี และหลัง 19 กันยายน 2549 ผมได้มีโอกาสพบกับทูตในหลายประเทศ เขาเข้าใจปัญหาของเราดี และในหลายๆประเทศก็ทำหนังสือมาชื่นชมแสดงความยินดีกับความสำเร็จ” ให้ กอ.รมน.รับคำสั่งรัฐบาล เมื่อถามว่า จะพูดคุยรัฐบาลและ กกต.ในการดูแลหน่วยเลือกตั้งต่างๆ เพื่อไม่เป็นที่ครหาของต่างประเทศ ประธาน คมช.ตอบว่า เป็นเรื่องของรัฐบาลและ กกต.ต้องหารือกัน คมช.ไม่เข้าไปเกี่ยวข้อง แต่ผลสรุปออกมาอย่างไร กอ.รมน.ก็จะขยายผลในวิถีทางปฏิบัติเท่านั้นเอง เมื่อถามว่า คมช.โอกาสที่ครบรอบการทำงาน 1 ปี ของ คมช. ชี้แจงทำความเข้าใจกับต่างประเทศหรือไม่ พล.อ.สนธิตอบว่า กำลังพิจารณาอยู่ว่าถึงเวลาหรือยัง แต่ คมช.สามารถอยู่ได้ ถึงปลายเดือน ธ.ค. 2550 เรายังมีเวลาชี้แจงอีกมาก เมื่อยังมีสถานการณ์อื่นที่กำลังสับสนอยู่หมายถึงสถานการณ์ที่สำคัญกว่า เรายังไม่รีบร้อน “ธีรภัทร์” ชงแผนต้านทุจริตเลือกตั้ง วันเดียวกัน ที่ทำเนียบรัฐบาล นายธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงเรื่องที่อียูจะเข้ามาสังเกตการณ์การเลือกตั้งของไทยว่า เป็นเรื่องปกติธรรมดาที่จะเข้ามาสังเกตการณ์เพื่อเก็บข้อมูล ดูวิธีการเลือกตั้งหรือความก้าวหน้าระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่เพราะมองว่าการเลือกตั้งในไทยไม่บริสุทธิ์ยุติธรรม เราเองอาจไปสังเกตการณ์ประเทศอื่นได้ แต่ทั้งนี้ เป็นไม่ได้และไม่จำเป็นที่จะให้มาลงนามเอ็มโอยู ที่จะให้อียูส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาควบคุมการเลือกตั้ง เพราะประเทศไทยมีอิสระ ทั้งนี้ เป็นหน้าที่รัฐบาลและ กกต.อยู่แล้ว ที่จะดูแลให้การเลือกตั้งเป็นไปอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรมมากที่สุด ตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญใหม่ ทั้งนี้ ในเดือน ก.ย.ได้ วางแผนรณรงค์เลือกตั้งไว้แล้ว โดยจะนำเสนอต่อนายกรัฐมนตรี รูปแบบอาจเป็นการให้การศึกษาทางการเมือง ความรู้เรื่องรัฐธรรมนูญ การเลือกตั้ง ให้ประชาชนเลือกคนดีเข้ามาเป็น ส.ส.ทั้งตามหัวเมืองใหญ่และ กทม. กกต.ชี้ต้องตรวจสอบเบื้องหน้าเบื้องหลัง ด้านนายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ กกต.กล่าวว่า หลังจากที่ กกต.และรัฐบาลแสดงท่าทีถึงการเข้ามาแทรกแซงกิจการในเมืองไทย ก็เห็นได้ชัดจากแถลงการณ์ของอียูที่มีความผ่อนปรนมากขึ้น ซึ่งทำให้เราสบายใจว่า กลุ่มอียูจะไม่แทรกแซงอำนาจอธิปไตยของไทย อย่างไรก็ตาม กกต.เปิดกว้าง และไม่ห้ามให้ต่างประเทศเข้ามาสังเกตการณ์เลือกตั้งในไทย แต่ กกต.มีแนวทางปฏิบัติตามกติกาที่เลียนแบบมาจากกติกาของสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ว่า ด้วยการให้สังเกตการณ์การเลือกตั้ง เมื่อถามว่า จำเป็นต้องตรวจสอบเบื้องหน้าเบื้องหลังของการเข้ามาตรวจสอบของอียูหรือไม่ นายสุทธิพลตอบว่า เราจำเป็นต้องถามรายละเอียดจากเอกอัครราชทูตอียูประจำประเทศไทยว่า มีจำนวนบุคลากรเท่าใด รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องทำเอ็มโอยู กกต.ต้องยืนยันความเป็นอิสระขององค์กร ถ้าเราขอเข้าไปสังเกตการณ์การเลือกตั้งในอียูบ้างและวางเงื่อนไขที่เป็นการก้าวก่าย คงไม่มีประเทศใดยินยอม ปชป.ชี้ต้องช่วยยันข้อเท็จจริงต่ออียู ทางด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการวิทยุตรงไปตรงมาว่าแปลกใจ เพราะว่าทางสหภาพยุโรปน่าจะพอทราบเรื่องของการเมืองไทยอยู่ระดับหนึ่ง อย่างน้อยที่สุดในช่วงการจัดประชามติที่ผ่านมาเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ทุกฝ่ายยอมรับผล เพราะฉะนั้นไม่น่าจะมีประเด็นปัญหาในเรื่องการเลือกตั้ง แต่ถ้าอยากจะสังเกตการณ์สามารถทำได้ในส่วนของเขา แต่ว่าถึงขั้นที่ว่าจะต้องมาลงนามข้อตกลง ไม่น่าจะมีความจำเป็นอย่างนั้น เมื่อถามว่ามีเบื้องหน้าเบื้องหลังว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ จ้างล็อบบี้ยิสต์หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ตอบว่า ยังไม่คิดไปถึงขนาดนั้น แต่ต้องช่วยกันยืนยันมากขึ้นว่าข้อเท็จจริงมันเป็นอย่างไร “เติ้ง” ย้อนถามอียูมันเป็นใคร ขณะที่นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย กล่าวว่า ไม่เห็นด้วย ถ้ามาสังเกตการณ์แล้วเอาข้อมูลผิดพลาดไปเสียหายหมด อียูเป็นใคร แล้วเมื่อปี พ.ศ. 2548 ฝนตกห่าใหญ่ทำไมไม่มา มาตอนนี้ทำไม พรรคชาติไทยไม่เห็นด้วย อย่าเข้ามาเลย เมื่อถามว่าพรรคประชาธิปัตย์สนับสนุน เพราะการสังเกตการณ์ของอียูอาจสะท้อนภาพการเลือกตั้งของไทย นายบรรหาร ตอบว่า เป็นความเห็นของประชาธิปัตย์ แต่พรรคชาติไทยไม่เห็นด้วย “เราไว้ใจพวกนี้หรือ ผมขอถาม มันเป็นใคร เรารู้จักเขาไหม ไม่รู้จัก เขาส่งใครมาไหม เป็นนอมินี ของใครหรือเปล่า เราตอบไม่ได้ใช่ไหม” เมื่อถามอีกว่ามีเหตุผลอะไรที่จะอธิบายตัวแทนอียู นายบรรหารตอบว่า เรามีรัฐบาลที่ซื่อสัตย์สุจริต ควบคุมการเลือกตั้งอย่างดีเยี่ยม จะขจัดการซื้อเสียง ขจัดความไม่ถูกต้อง รัฐบาลชุดนี้ทำแบบนี้มาตลอด ไม่เหมือนรัฐบาลชุดที่แล้ว เราต้องไว้ใจรัฐบาลชุดนี้ข่าวจาก ไทยรัฐ
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
|
|
|
แจ้งลบกระทู้นี้
อ่าน 1126 |
|
แสดงความคิดเห็น |
โดย กรรมกรข่าว
IP: Hide ip
, วันที่ 01 ก.ย. 50
เวลา 10:43:23
|