• กกต.เป่านกหวีด! กำหนดเปิดรับสมัครส.ส.11-22 พ.ย. นี้ |
โพสต์โดย กรรมกรข่าว , วันที่ 01 ก.ย. 50 เวลา 10:56:24 IP: Hide ip |
กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
กกต.เป่านกหวีด! กำหนดเปิดรับสมัครส.ส.11-22 พ.ย. นี้
ปี่กลองเลือกตั้งเริ่มแล้ว กกต.กำหนดเปิดรับสมัครส.ส.แบบสัดส่วน11-15 พ.ย.แบบแบ่งเขต 18-22พ.ย. กำหนดวันเลือกตั้งล่วงหน้า 16ธ.ค. พลงอ.สนธิ โยนรัฐบาล กกต. หาเหตุอียู ขอสังเกตเลือกตั้งในไทยวันนี้ (31สิงหาคม) นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) เปิดเผยว่า กกต.ได้กำหนดวันรับสมัคร ส.ส.ที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งในวันที่ 23 ธันวาคมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยการรับสมัคร ส.ส.แบบสัดส่วน กำหนดไว้วันที่ 11-15 พฤศจิกายน 2550 และการรับสมัคร ส.ส.แบบแบ่งเขต วันที่ 18-22 พฤศจิกายน2550สำหรับประชาชนผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งที่ต้องการขอใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งนอกเขตจังหวัดและนอกราชอาณาจักร สามารถมาลงทะเบียนขอใช้สิทธิล่วงหน้าได้ในระหว่างวันที่ 1-22 พฤศจิกายน 2550 และกำหนดให้ผู้มีสิทธิมาออกเสียงเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตจังหวัดในวันที่ 16 ธันวาคม 2550 ส่วนการออกเสียงเลือกตั้งล่วงหน้านอกราชอาณาจักร กำหนดไว้วันที่ 29 พฤศจิกายน-16 ธันวาคม2550เลขาธิการ กกต.ยังกล่าวถึงการรณรงค์ใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรว่า สัปดาห์หน้า กกต.จะหารือร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศว่าจะให้เป็นความรับผิดชอบของหน่วยงานใด ซึ่งอาจจะเป็นความรับผิดชอบของกระทรวงการต่างประเทศเอง หรือ กกต.จะเป็นผู้รับผิดชอบแต่มีกระทรวงการต่างประเทศช่วยอำนวยความสะดวกให้พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบกและประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ หรือ คมช. กล่าวว่ารัฐบาลและคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. จะต้องไปศึกษาหาที่มาที่ไปของการขอเข้ามาสังเกตการณ์การเลือกตั้งของสหภาพยุโรป หรือ อียู เพื่อตอบคำถามของสังคมให้ได้ และรัฐบาลจะต้องเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะให้ อียู เข้ามาร่วมสังเกตการณ์หรือไม่ อย่างไรก็ตาม ในส่วนของต่างประเทศเองก็ต้องเข้าใจด้วยว่าการบริหารบ้านเมืองของแต่ละประเทศนั้น ไม่เหมือนกัน อย่างไรก็ตามได้พูดคุยกับเอกอัครราชทูตของต่างประเทศแล้ว พบว่ามีความเข้าใจสถานการณ์ในประเทศเป็นอย่างดีอย่างไรก็ตาม พล.อ.สนธิ ปฏิเสธให้ความเห็นว่าข้อเสนอของกลุ่มประเทศ EU มีส่วนเกี่ยวข้องเชื่อมโยง หรือเป็นการดำเนินการของกลุ่มอำนาจเก่า เพื่อลดความน่าเชื่อถือในการจัดการเลือกตั้งของไทยหรือไม่ โดยต้องมีการตรวจสอบด้านการข่าวอีกครั้ง เพื่อให้เกิดความชัดเจน"เราเป็นคนไทย สิทธิเสรีภาพความเป็นเอกราชของเรามีอยู่แล้ว โดยเฉพาะคนไทยในยุคที่สร้างความสมานฉันท์เราจะต้องให้ทุกอย่างอยู่ในกรอบของความเป็นธรรมเป็นหลัก ฉะนั้นสิ่งที่ถูกต้องเราต้องดำรงอะไรที่ไม่ถูกต้องเราต้องกำจัดทิ้งไป" พล.อ.สนธิ กล่าวก่อนหน้านี้ นายอันตอนิอู ดือ ฟาเรีย อี มายญา ประธานอียู ได้ชี้แจงว่า การขอเข้ามาสังเกตการณ์การเลือกตั้งถือเป็นนโยบายของอียู โดยเฉพาะประเทศที่กำลังจะกลับเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย โดยจะไม่มีการแทรกแซงกิจการในประเทศ ทั้งกระบวนการเลือกตั้ง หรืออำนาจอธิปไตยทั้งนี้ คณะผู้สังเกตการณ์ของอียูจะมีหน้าที่เพียงเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ผลเท่านั้น ส่วนการทำเอ็มโอยูเป็นการกำหนดพื้นฐานการปฏิบัติงาน ซึ่งสามารถแก้ไขปรับเปลี่ยนเนื้อหาก่อนที่จะลงนามได้และจะไม่บีบบังคับหากไทยไม่ยอมลงนาม แต่ยืนยันว่าเป็นคนละประเภทที่ลงนามกับกัมพูชา
ที่มาจาก ข่าวจาก เอมไทยดอทคอม
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
|
|
|
แจ้งลบกระทู้นี้
อ่าน 1163 |
|
แสดงความคิดเห็น |
โดย กรรมกรข่าว
IP: Hide ip
, วันที่ 01 ก.ย. 50
เวลา 10:56:24
|