ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
สืบเนื่องจาก ดร.มาร์ก วูด เอ่ยถึงผลการศึกษาของเขาในเอกสารของมหาวิทยาลัย ว่า “แม้ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ซึ่งเกิดจากกระบวนการย่อยอาหารของแบคทีเรียจะมี กลิ่นเหม็นรุนแรงเหมือนไข่เน่า หรือแก๊สในกระเพาะอาหาร แต่มันเป็นสิ่งที่ถูกผลิตขึ้นตามธรรมชาติในร่างกายของเรา และอาจจะเป็นกุญแจไขปัญหาสุขภาพที่นำไปสู่การบำบัดรักษาโรคได้หลายชนิด” (ที่มา www.manager.co.th)
ภาพจาก http://pantip.com/topic/31544541
ประเด็นเกี่ยวกับ “กลิ่นตด” ที่แชร์กันทั่วว่ามีสรรพคุณสารพัด ทั้งรักษาโรค หรือมีผลดีกับสุขภาพ จนเชื่อว่า “น่าจะจริง” เพราะคนแชร์กันเยอะ ตั้งแต่ลดอัตราเสี่ยงการเป็นมะเร็ง ป้องกันหัวใจวาย รักษาโรคอัลไซเมอร์ ยันช่วยสภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ลองตั้งสตินิดนึงก่อนที่จะเชื่อหรือไม่เชื่อ จะแชร์ต่อดีหรือไม่
สารเคมีใน “ลมตด” มีหลายชนิด แต่มีเพียงร้อยละ 1-2 ที่มีกลิ่นเหม็น แก๊สเหล่านี้มีธาตุกำมะถันหรือซัดเฟอร์เป็นองค์ประกอบ สารเคมีหลักที่มีกลิ่นในตด คือแก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์ (hydrogen sulfide) หรือแก๊สไข่เน่า มีสูตรโครงสร้างคือ H2S รองลงมาคือมีเทนไธออล (CH3SH) และไดเมธิลมีเทน (CH3SCH3) ตามลำดับ แก๊สเหล่านี้เกิดจากเชื้อแบคมีเรียบางชนิดในลำไส้ ผลิตขึ้นระหว่างการย่อยอาหาร
แก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์มีความสำคัญในร่างกายมนุษย์และสิ่งมีชีวิต ร่างกายมนุษย์มีการผลิตแก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์ได้เองในปริมาณต่ำๆ เพื่อใช้ในกระบวนการส่งสัญญาณทางชีววิทยาระดับเซลล์ ตัวอย่างเช่น เมื่อเซลล์ถูกทำให้เสียหาย ไฮโดรเจนซัลไฟด์จะช่วยในการทำงานของไมโตครอนเดรีย และทำให้เซลล์ไม่ถูกทำลาย มีชีวิตได้นานขึ้น ในสมองของคนไข้โรคอัลไซเมอร์ มีปริมาณของไฮโดรเจนซัลไฟด์ลดลงอย่างมาก การเพิ่มปริมาณไฮโดรเจนซัลไฟด์ในหนูทดลองที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ ทำให้อาการของโรคดีขึ้น ในประเด็นเกี่ยวกับการทำงานของหัวใจ ไฮโดรเจนซัลไฟด์จะไปกระตุ้นการผลิตแก็สอีกชนิดคือไนตริคออกไซด์ (nitric oxide, NO) ซึ่งในที่สุดจะไปทำให้กล้ามเนื้อหัวใจคลายตัวและเพิ่มการไหลเวียนโลหิต ทำให้ลดอาการหัวใจขาดเลือด (myocardial infarction) ซึ่งนำไปสู่สภาวะหัวใจวาย ทั้งหมดนี้จะเห็นได้ว่านักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาและเข้าใจการทำงานของสารเคมีตัวเล็กๆ คือไฮโดรเจนซัลไฟด์ ที่เหม็นแต่มีประโยชน์ สารไฮโดรเจนซัลไฟด์เหล่านี้ผลิตขึ้นภายในเซลล์ ไม่ได้มาจากภายนอกร่างกาย เช่น จากการผายลม ดังนั้นความเข้าใจที่ว่ากลิ่นตดรักษาโรคควรจะต้องคิดใหม่ เข้าใจกันใหม่ (ที่มา www.sc.mahidol.ac.th/usr/)
แสดงโฆษณา
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
|