• รายละเอียดกกิจกรรมการแสดงแสง สีเสียง ในวัดพระธาตุหริภุญชัย ในงาน แอ่วลำพูน 2-6 เมษา 58 |
โพสต์โดย ตนข่าว , วันที่ 02 เม.ย. 58 เวลา 14:04:23 IP: Hide ip |
กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
ข้อมูลจาก Baramate Wannasai
รายละเอียดกกิจกรรมการแสดงแสง สีเสียง ในวัดพระธาตุหริภุญชัย ในงาน แอ่วลำพูน ๒ ถึง ๖ เมษายน ๒๕๕๘ มีดังนี้
การแสดง แสง สี เสียง ชุด “องค์พระธาตุเจ้าหริภุญชัยภายใต้ร่มพระบารมี”
วันที่ ๓-๕ เมษายน ๒๕๕๘ ณที่ลานพระบรมธาตุหริภุญชัย จังหวัดลำพูน
เวลา ๒๐.๐๐ น. ใช้เวลาการแสดง ๕๐ นาที วันละหนึ่งรอบ
ลักษณะการนำเสนอ
เป็นการนำเสนอเรื่องราวขององค์พระธาตุเจ้าหริภุญชัย กับการกำเนิดเมืองลำพูน ยุคของพญาอาทิตยราช กำเนิดพระธาตุหริภุญชัยยุคของพญายีบา และเข้าเป็นส่วนหนึ่งของล้านนา และสุดท้ายถึงยุคอยู่ใต้อำนาจของพม่า และเข้าสู่ภายใต้ราชอาณาจักร สยามร่มโพธิ์ร่มไทรของราชวงค์จักรี
การนำเสนอจะเป็นรูปแบบ สื่อผสม โชว์ และละคร ผสมเทคนิค เอฟเฟค วิจิตรพิสดาร ทุกอย่างจะสื่อให้ผู้ชม ออกมาเป็นรูปแบบของศิลปะการฟ้อนรำ และทางดนตรี ที่ทันสมัย ผสมกับกลิ่นไอ ของพื้นบ้านได้อย่างลงตัว โดยใช้นักแสดงจากท้องถิ่นในการแสดงทั้งหมด เพื่อนำเสนอกระบวนการผสมผสานเข้าสู่คนรุ่นใหม่ เพื่อพัฒนาในการนำวัฒนธรรม นำสู่การท่องเที่ยว
องก์ที่ 1 ก่อนจะมีเมืองหริภุญชัย
กล่าวถึงเรื่องในตำนานจามเทวีวงศ์และชินกาลมาลีปกรณ์ว่า แต่เดิมดินแดนแถบนี้เป็นที่อยู่ของชาวลัวะ เชื่อว่าตนเองเกิดจากรอยเท้าสัตว์ นับถือผีปู่แสะย่าแสะเป็นที่ตั้ง
องก์ที่ 2 พระนางจามเทวีเสด็จมาครองหริภุญชัย
วาสุเทพฤๅษีเชิญสุกกทันตฤๅษีจากเมืองละโว้มาร่วมสร้างเมืองหริภุญชัยตามสัณฐานของเกล็ดหอยที่อนุสิสสฤๅษีแห่งเมืองสัชชนาลัยแนะนำ แล้วสุกกทันตฤๅษีได้เสนอให้เชิญพระนางจามเทวีธิดาพระเจ้ากรุงละโว้ขึ้นมาครองเมือง ครั้งนั้น พระนางจามเทวีได้นำพระสงฆ์ คหบดี นักปราชญ์และช่างสาขาต่างๆ เป็นจำนวนมากมายังเมืองหริภุญชัยตามเส้นทางลำน้ำแม่ปิง และได้มีการอภิเษกพระนางจามเทวีขึ้นเป็นกษัตริย์องค์แรกของนครหริภุญชัย
องก์ที่ 3 พญาอาทิตยราชกับการกำเนิดของพระธาตุเจ้าหริภุญชัย
พุทธศตวรรษที่ 17 พญาอาทิตยราชได้เป็นกษัตริย์แห่งนครหริภุญชัยมีการขุดพบพระธาตุเป็นครั้งแรก พญาอาทิตยราช พร้อมด้วยพระมเหสี ข้าทาสบริพาร ชวนกันออกมาสัการะสถานที่เชื่อว่ามีพระบรมธาตุเจ้าอยู่พญาอาทิตยราชตกตะลึง พระธาตุกลับหายเข้าไปในดินอีก พญาอาทิตยราชทรงอธิษฐานอีกครั้งหนึ่งพระธาตุ จึงลอยขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง จึงสักการะ บูชาด้วยเครื่องสักการะ
องก์ที่ 4 พญาสัพพสิทธิ์กับความศรัทธาในพระพุทธศาสนา
ในยุคของพญาสัพพสิทธิ์หรือสววาธิสิทธิขึ้นครองราชย์ พระองค์ได้ทรงผนวชในพระพุทธศาสนาพร้อมกับพระโอรสของพระองค์ โดยยึดความเชื่อของการออกบวชของพระพุทธเจ้าเป็นที่ตั้ง ซึ่งนับเป็นต้นแบบของการออกบวชของพระมหากษัตริย์ในยุคต่อมา พระองค์ได้ทรงสร้างวัดเชตวัน และวัดมหาวัน ทรงบูรณะเจดีย์กู่กุด บูรณะพระธาตุ ในยุคของพญาสัพพสิทธิ์นี้ พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก ดังได้พบหลักฐานที่เป็นศิลาจารึกหลายชิ้นรวมทั้งพระพุทธรูปและพระพิมพ์ดินเผาศิลปะหริภุญชัยอีกเป็นจำนวนมาก
องก์ ที 5 พญามังรายตีเมืองหริภุญชัย
ในปี พ.ศ. 1835 พญามังรายได้ยกทัพมาตีเมืองหริภุญชัย หลังจากใช้ความพยายามมาเป็นเวลานาน หลายปี และกระทำการเป็นผลสำเร็จ ตั้งแต่บัดนั้นมา เมืองหริภุญชัยจึงถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นโยนก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 1835 เป็นต้นมา พญามังรายครองหริภุญชัยเป็นเวลานาน 2 ปี เจออิทธิฤทธิ์ของพระธาตุ อยู่ไม่ได้ จึงยกเมืองให้อ้ายฟ้าครองแทน โดยให้เหตุผลว่าเป็นเมืองพระธาตุ
องค์ที่ 6 องค์พระธาตุหริภุญชัยสมัยพม่าครองเมือง
ในระหว่าง พ.ศ.2101–2317 พม่าได้เข้ามาปกครองเชียงใหม่และหัวเมืองล้านนาทั้งปวง หริภุญชัยซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเชียงใหม่จึงถูกพม่าเข้าปกครองเช่นกัน ชาวเมืองส่วนใหญ่หนีภัยพม่าไปอยู่ในป่าและบางส่วนก็ถูกกวาดต้อนไปยังเชียงใหม่และพม่าจนเมืองหริภุญชัยกลายเป็นเมืองร้าง คงเหลือแต่องค์พระธาตุเจ้าหริภุญชัยตั้งเป็นหลักอยู่นับระยะเวลายาวนานถึง 216 ปี
องค์ที่ 7 พระธาตุหริภุญชัยลำพูนในยุคที่เป็นเมืองประเทศราชของราชอาณาจักรสยาม
เมื่อพระยากาวิละและพระเจ้ากรุงธนบุรีร่วมกัน”ฟื้นม่าน”คือขับไล่พม่าได้สำเร็จในปี พ.ศ. 2317 แล้ว พระยากาวิละก็ได้เป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ขณะนั้นเมืองเชียงใหม่และลำพูนเป็นเมืองร้าง พระยากาวิละจึงสร้างเวียงป่าซางขึ้นชั่วคราวเพื่อเป็นแหล่งสะสมผู้คนและใช้เวลาถึง 14 ปีกว่าจะอพยพผู้คนเข้าสู่เมืองเชียงใหม่ และบูรณะเมืองลำพูนเมื่อ พ.ศ.2348 โดยมีพระยาบุรีรัตน์คำฝั้นเป็นผู้ปกครองเมือง ครั้งนั้นได้ก็มีการรวบรวมผู้คนจากเมืองลำปางและเมืองยองเข้ามาสู่ลำพูนภายใต้ความเป็นเมืองประเทศราชของราชอาณาจักรสยาม ในยุคนี้เราเรียกว่า “เก็บผักใส่ส้าเก็บข้าใส่เมือง”
องค์ที่ 8 องค์พระธาตุเจ้าในยุคใต้ร่มพระบารมีราชวงค์จักรีและสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา
เมื่อลำพูนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรสยามแล้ว องค์พระธาตุเจ้าหริภุญชัยก็ได้รับการดูแลเอาใจใส่มากยิ่งขึ้น กรมพระยาดำรงราชานุภาพคัดเลือกให้เป็นหนึ่งในแปดจอมเจดีย์แห่งสยาม เป็น”สัตตมหาสถาน”ของประเทศไทย ที่บันทึกเป็นหลักฐานการเสด็จมาของกษัตริย์ในราชวงค์จักรี และการบูรณะครั้งสำคัญ ตลอดจนถึงการที่สมเด็จพระเทพเข้ามามีพระเมตตาต่อชาวลำพูน และทรงมาเป็นประธานยกยอดฉัตรทองคำพระธาตุ ในการบูรณะครั้งล่าสุด
และบทสรุป ของการพัฒนาขององค์พระธาตุ จึงงดงามอย่างปัจจุบัน
งานนี้ จะเป็นกระบวนการชมแสง สี แบบสากล มีสมาธิในการชม อินเข้าไปในเนื้อหาเรื่องราว การควบคุมแสง จะใช้การควบคุมโดย คอมพิวเตอร์ทั้งหมด ยกเว้นเอฟเฟคที่ต้องควบคุมด้วยคน โดยการพัฒนาค้นคว้าโดยทีมงานจิตอาสาพัฒนาวัดพระธาตุ ซึ่งเป็นคนลำพูน และนับได้ว่าเป็นครั้งแรกของประเทศไทย ถือว่าเป็นฝีมือของคนท้องถิ่นเต็มรูปแบบ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความยั่งยืน ต่อเนื่อง เพิ่มมูลค่างานในท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและนับได้ว่าเป็นการนำตำนาน ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมประเพณีเสนอเรื่องราวผ่านเทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยคนท้องถิ่นที่ไม่อายใคร อย่าลืม ได้สาระ เนื้อหา ตื่นตาตื่นใจ นำเสนอหลากหลายรูปแบบ มีเพียงสามรอบเท่านั้น เริ่มเวลา ๒๐.๐๐ น. ทุกวัน จำนวนที่นั่ง วันละ ๘๐๐ ที่นั่ง ถ้ามากกว่านั้นก็ต้องยืน เน้นย้ำ มีวันที่ ๓ ถึง ๕ เมษายนเท่านั้น จำนวน ๓ วันๆละหนึ่งรอบ เป็นหมู่คณะ ๓๐ คนขึ้นไปติดต่อสำรองที่นั่งที่สำนักงานจังหวดลำพูน ๐๘๔ ๓๘๗๘๘๐๔ วัดพระธาตุหริภุญชัย ๐๘๗ ๗๑๔๔๔๔๘
แสดงโฆษณา
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
|
|
|
แจ้งลบกระทู้นี้
อ่าน 2476 |
|
แสดงความคิดเห็น |
โดย ตนข่าว
IP: Hide ip
, วันที่ 02 เม.ย. 58
เวลา 14:04:23
|