ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
โรคพิษสุราเรื้อรัง(Alcoholism)
อีกหนึ่งข่าวระดับโรคที่เชื่อว่า “เอมี ไวน์เฮาส์” ตายเพราะหักดิบเลิกเหล้า? The Sun / People - มีรายงานจากสื่อต่างประเทศว่าครอบครัวของ “เอมี ไวน์เฮาส์” ได้ให้ข่าวแสดงความเชื่อว่า นักร้องสาวชื่อดังวัย 27 ปี อาจจะเสียชีวิตจากความพยายามหักดิบเลิกเหล้า ที่ทำอย่างกะทันหันเกินไป จนร่างกายไม่สามารถรับได้ไหว
แอลกอฮอล์จะมีผลต่อทุกเซลล์ของร่างกายโดยเฉพาะระบบประสาท เมื่อได้รับแอลกอฮอล์เป็นประจำ สมองจะปรับตัวต้องการแอลกอฮอล์เพื่อการดำเนินชีวิตประจำวัน การทำงาน ความคิด อารมณ์ และการกระทำทั่งหมดขึ้นกับแอลกอฮอล์ ยังไม่มีการแยกที่เด่นชัดระหว่างติดสุราและพิษสุราเรื้อรัง แต่อาการเตือนว่าจะเป็นพิษสุราเรื้อรังได้แก่เมื่อหยุดสุราจะมีอาการไม่มีความสุข
ผู้ที่ติดสุรา มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งหรือมากกว่า
· ไม่สามารถทำงาน เรียนหนังสือ หรือรับผิดชอบ
· ยังคงดื่มสุราแม้ว่าจะมีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง
· ดื่มสุราขณะทำงานที่ต้องเสี่ยงเช่น ขับรถ การคุมเครื่องจักร
· ยังคงดื่มสุราหลังจากถูกจับเนื่องจากสุรา เช่นขับรถขณะมึนเมาหรือทำร้ายร่างกาย
ผู้ที่เป็นพิษสุราเรื้อรัง มีลักษณะดังนี้
· ต้องดื่มสุราตลอดเวลา
· ไม่สามารถควบคุมหรือหยุดหลังจากดื่มสุรา
· เมื่อหยุดสุราจะมีอาการลงแดง เช่นคลื่นไส้ เหงื่ออก สั่น
· ต้องเพิ่มปริมาณดื่มสุราเพื่อให้มีความสุข
อาการหลังจากหยุดสุรา Alcohol Withdrawal Syndrome
เป็นกลุ่มอาการของโรคที่เกิดจากหยุดเหล้าในทันที บางรายอาจจะมีอาการน้อยแค่ตัวสั่นหรือเหงื่อออกผู้ป่วยพิษสุราเรื้อรังอาจมีอาการได้สองอย่างคือ ลงแดง withdrawal stage และ delirium tremensเป็นอาการที่หนักกว่า
1. อาการลงแดง (withdrawal stage) เกิดอาการลงแดงหลังจากหยุดสุรา 12-72 ชั่วโมงซึ่งจะมีอาการดังต่อไปนี้ หงุดหงิด รู้สึกตัวสั่นวิตกกังวล โมโหง่าย อารมณ์แปรปรวน ซึมเศร้า อ่อนเพลีย คิดอะไรไม่ออก ใจสั่น ปวดศีรษะตุบ เหงื่ออกหน้าและมือ คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ ซีดเซียว มือสั่น ใจเต้นเร็ว
2. อาการเพ้อครั่งจากสุรา (delirium tremens) เกิดจากการอดสุรา จะเริ่มมีใน 2-3 ชั่วโมงหลังจากขาดสุรา และมากขึ้นจนสูงสุดหลังจากขาดสุรา 48-72 ชั่วโมง อาจเสียชีวิตได้ถ้าไม่ได้รับการรักษา ผู้ป่วยที่มีอาการนี้จะมีประวัติการบริโภคสุราเป็นเวลานาน และมีอาการลงแดงมาก่อนมีอาการนี้ อาการดังนี้
- กลุ่มอาการลงแดง withdrawalstage
- มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ
- มีการเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์อย่างรวดเร็ว
- กระสับกระส่าย หงุดหงิด สับสน
- มีภาพหลอน เห็นหนอน งู แมลง
- ไวต่อแสง เสียง
- ระดับความรู้สึกเลวลง เช่นซึมลง
- มือสั่น ตัวสั่น
- มีอาการชักกระตุก มักจะเกิดหลังจากอดเหล้า 24-48 ชั่วโมง
ผลเสียของโรคพิษสุราเรื้อรัง
ได้รับแอลกอฮอล์เกินขนาดอาจจะทำให้เสียชีวิตมักเกิดในวัยรุ่นที่ต้องการแสดงว่าตัวเองคอแข็ง
- อุบัติเหตุ การดื่มเพียง 1 หน่วยสุราก็ทำให้ความสามารถในการขับขี่ลดลง
- ความรุนแรงในครอบครัว ผู้หญิงและเด็กที่มีพ่อบ้านขี้เมามักจะได้รับความรุนแรงบ่อย เด็กมักเป็นโรคซึมเศร้า วิตกกังวลและมีความมั่นใจในตัวเองต่ำ
- ผลต่อหัวใจและหลอดเลือด ผู้ที่ดื่มมากกว่า 3 หน่วยสุราจะมีความดันโลหิตสูงกว่าผู้ที่ไม่ดื่ม สำหรับผู้ดื่มครั้งละมากกว่า 9 หน่วยสุราสัปดาห์ละ 2 ครั้งจะมีโอกาสเกิดโรคหัวใจ 2-3 เท่าของผู้ไม่ดื่ม
- มะเร็ง ตัวแอลกอฮอล์ไม่ได้เป็นสารก่อมะเร็งแต่จะส่งเสริมให้เกิดมะเร็งจากสารอื่นได้ง่าย เช่นบุหรี่ หากใช้ร่วมกันจะเกิดโรคมะเร็งปาก กล่องเสียงและหลอดอาหารได้มาก
- ตับอักเสบ และตับแข็ง
- การดื่มสุราทำให้เกิดท้องร่วงและริดสีดวงทวาร และแผลในกระเพาะอาหาร
เมื่อไรที่คุณต้องการการช่วยเหลือ ให้ลองตอบคำถามเหล่านี้ซึ่งอาจจะบอกคุณได้
1.คุณเคยรู้สึกอยากเลิกการดื่มสุราของคุณไหม
2.คุณเคยรู้สึกรำคาญคนที่พยายามจะให้คุณเลิกดื่มสุราไหม
3.คุณเคยรู้สึกผิดหรือรู้สึกไม่ดีกับการดื่มสุราของคุณไหม
4.คุณเคยดื่มสุราตั้งแต่เช้าเพื่อที่จะลดอาการไม่สบายหรือเมาค้างไหม
ถ้ามีคำตอบว่า”ใช่”
ในข้อใดข้อหนึ่งก็อาจเป็นไปได้ที่คุณกำลังมีปัญหาแล้ว และยิ่งตอบว่าใช่มากกว่า 1 ข้อ มีความเป็นไปได้ของปัญหาเกี่ยวกับการดื่มสุรามากขึ้น ควรจะไปพบแพทย์ซึ่งจะเป็นผู้ตอบปัญหาของคุณได้ดี
ทุกข้อคุณจะตอบว่า”ไม่ใช่”
แต่คุณมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพ มีปัญหาการงาน ความสัมพันธ์กับบุคคล หรือปัญหาเกี่ยวกับกฎหมายก็ควรจะไปพบแพทย์เพื่อรับการช่วยเหลือเช่นกัน
การวินิจฉัย
ต้องอาศัยการซักประวัติซึ่งมีคำถามง่ายๆที่ควรจะถามผู้ป่วยดังนี้
- ปริมาณที่ดื่ม
- ความถี่ในการดื่ม
- ดื่มทันที่หลังตื่นนอนหรือไม่
- เคยพยายามที่จะอดสุราหรือไม่
- โกรธเมื่อมีคนวิจารณ์เรื่องดื่มสุรา
- มีความรู้สึกผิดหรือไม่
- มีอาการลงแดงเมื่ออดสุราหรือไม่
การรักษา
เมื่อพบผู้ป่วยที่มีอาการจากการหยุดสุราที่มีอาการไม่มาก เช่นมีอาการวุ่นวาย นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร จะต้องให้ผู้ป่วยสงบอย่างรวดเร็วโดยการให้ยาคลายเครียด กลุ่ม benzodiazepine และวิตามิน บีหลังจากนั้นสังเกตอาการอย่างน้อย 2 ชั่วโมงและไม่เปลี่ยนแปลงก็สามารถกลับบ้านได้โดยได้รับยาไปรับประทานต่อ 4-5 วันแล้วไปพบแพทย์ตามนัด
บางรายอาจมีอาการชักช่วงสั้น จะต้องตรวจหาว่าได้รับบาดเจ็บทางร่างกายที่ไหนบ้าง และตรวจหาโรคที่เกิดจากสุรา เช่น ตับ หัวใจ
การหักดิบ คือ การที่ผู้ดื่มสุราหรือผู้ติดสุราหยุดดื่มสุราอย่างทันที โดยไม่ได้รับยาที่เหมาะสมทดแทนภาวะติดสุราเรื้อรัง
แง่ดี คือ
1. แสดงให้เห็นถึงเจตนาอย่างสูงที่จะหยุดดื่มสุราเอง
2. ความทุกข์ทรมานของการหยุดดื่มสุรา เมื่อผ่านพ้นเวลาไปแล้วจะทำให้เกิดกำลังใจ และรู้สึกถึงความทรมานที่เกิดจากการหยุดดื่ม และเกิดกำลังใจว่าตนเองสามารถทำได้ อาจไม่หวลกลับไปดื่มสุราอีก
แต่โดยข้อเท็จจริงแล้ว การหักดิบในผู้ป่วยสุรามีข้อเสียหลายประการ
1. การหักดิบโดยไม่ได้รับยาที่เหมาะสมจะทำให้ผู้หักดิบทนไม่ได้และไม่สามารถหยุดดื่มได้ ขาดกำลังใจ โอกาสกลับไปดื่มสุราสูง
2. ผู้ดื่มสุราเป็นระยะเวลานานมักอยู่ในภาวะทุโภชนา เนื่องจากในขณะดื่มสุรา ผู้ป่วยสุรามักไม่ได้รับประทานอาหาร และร่างกายขาดสารอาหาร วิตามินที่จำเป็นต่อร่างกายอย่างรุนแรง ทำให้มีโอกาสเกิดภาวะถอนสุรา (withdrawal) และร่างกายจะไม่สามารถทนได้ กอปรกับภาวะถอนสุราจะเกิดอาการหูแว่ว ประสาทหลอน ชัก ซึ่งมีความเสี่ยงสูง ต่อการเสียชีวิต มากกว่า 30 – 40%
ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก
http://siamhealth.net/public_html/Health/good_health_living/alcohol/alcoholism.htm
แสดงโฆษณา
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
|