หน้าแรก | ลงโฆษณาฟรี l หางาน l คอมพิวเตอร์ l เว็บบอร์ด | ตลาดออนไลน์ | อัตราค่าลงโฆษณา
www.cmprice.com เว็บไซต์ของฅนเชียงใหม่ เครื่องฟอกอากาศ pm2.5 Oxygen สุดคุ้ม ราคาถูก 1,490 ลำพูน-เชียงใหม่ ส่งฟรี!

หน้าแรก » เว็บบอร์ด
ห้องแก๋งโฮ๊ะ
เว็บบอร์ด » ห้องแก๋งโฮ๊ะ
รายละเอียดของห้อง : พูดคุยกันเรื่องทั่วๆ ไป, สัพเพเหระ, อยากถาม อยากตอบ
กระทู้ที่ตอบกลับล่าสุด | สร้างกระทู้ใหม่ | ดูกระทู้ทั้งหมด | ค้นหากระทู้ :
มาแล้ว! ภาพงานประเพณีเลี้ยงดง ผีปู่แสะย่าแสะ วันที่ 29 มิ.ย.58

แชร์หน้านี้ ไปยัง facebook ตอบกลับกระทู้นี้ VV กดถูกใจกระทู้นี้ VV
มาแล้ว! ภาพงานประเพณีเลี้ยงดง ผีปู่แสะย่าแสะ วันที่ 29 มิ.ย.58
โพสต์โดย ตนข่าว , วันที่ 29 มิ.ย. 58 เวลา 10:52:36 IP: Hide ip    


กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ
จาก cmprice.com
VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน

ลิงก์ผู้สนับสนุน


 

© เนื้อหาข่าว/กระทู้

 

ภาพงานประเพณีเลี้ยงดง ผีปู่แสะย่าแสะ ปี 2558 วันที่ 29 มิ.ย.58

ภาพโดย Tulip Mahawongk , Koy Wara  ,
ชัยพงษ์ สำเนียง
  ,
ฟงหวิน ศักดิ์อัศวิน


ประเพณีเลี้ยงผีปู่แสะย่าแสะ

ที่มา : http://forum.narandd.com/index.php?topic=1913.0

       ตำนานเชียงใหม่ปางเดิม ของสถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ บันทึกความเป็นมาของพิธีเลี้ยงดงเอาไว้ว่า ในอดีตย่านนี้เป็นบ้านเมืองของชาวลัวะ ชื่อว่า “บุรพนคร” ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำปิงและดอยอ้อยช้าง (อุจฉุคีรี) อยู่มาวันหนึ่งชาวเมืองได้รับความเดือดร้อนจากยักษ์พ่อแม่ลูก 3 ตน ที่มาจับชาวเมืองไปกินทุกวัน จนชาวเมืองต้องพากันอพยพหลบหนีไปอยู่ที่อื่น

      กล่าวถึงองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงรับรู้ด้วยพระสัมมาสัมโพธิญาณ เห็นความเดือดร้อนของชาวเมืองบุรพนคร พระองค์พร้อมด้วยเหล่าสาวกจึงเสด็จมาประทับที่ดอยใต้ ได้มีชาวลัวะ 4 คน เข้าเฝ้าด้วยความเลื่อมใสถวายอาหารที่นำติดตัวมา พระองค์ทรงอนุโมทนาและแสดงธรรมโปรดจนชาวลัวะทั้งสี่เห็นธรรมและขอบวชเป็นพระ ภิกษุสงฆ์

พระพุทธองค์ได้มีพุทธทำนายว่า ในภายภาคหน้า เมืองของชาวลัวะแห่งนี้จะได้ชื่อว่า “เมืองชีใหม่” (ต่อมาเพี้ยนเป็นเชียงใหม่) โดยเรียกตามเหตุการณ์ที่ชาวลัวะบวชใหม่ (ในอดีตเรียกพระว่าชี) จากนั้นพระพุทธเจ้าได้สนทนากับพระลัวะทั้ง 4 รูป จนรับรู้ความเดือดร้อนของชาวเมืองโดยตลอด รับสั่งให้พระอานนท์ไปตามยักษ์ทั้ง 3 ตนมาพบ ทรงแสดงอภินิหารให้เห็นและแสดงธรรมให้ฟังจนเกิดความเลื่อมใส ยักษ์ทั้งสามจึงได้สมาทานศีลห้าด้วยความปีติ

      ต่อมายักษ์นึกขึ้นได้ว่า ตนเองเป็นยักษ์จำเป็นต้องกินเนื้อเป็นอาหาร จึงต่อรองขอกินสัตว์หูยาวแทนมนุษย์ ยักษ์ทูลขอกินควายวันละตัว พระพุทธองค์ไม่ทรงอนุญาต ยักษ์จึงทูลขอกินควายเดือนละตัว พระพุทธองค์ก็ไม่ทรงอนุญาต ที่สุดยักษ์จึงทูลขอกินควายปีละตัว พระพุทธองค์ไม่ตอบ ยักษ์จึงขอกับเจ้าเมือง เจ้าเมืองตกลงให้กินปีละตัว โดยยักษ์ปู่แสะขอกินควายเผือกเขาคำ ส่วนยักษ์ย่าแสะขอกินควายดำกลีบเผิ้ง ลักษณะเป็นควายรุ่น เขาเสมอหู กีบเท้าสีน้ำผึ้ง ที่ยังไม่เคยลงไถคราดดิน นำมาชำแหละเอาเครื่องในออก ทั้งเนื้อ หนัง และหัวที่มีพร้อมเขาแผ่นอนไว้กลางลาน โดยตั้งข้อแม้ว่า ยักษ์ต้องรักษาพระพุทธศาสนาให้ครบ 5,000 ปี ตลอดจนปกปักรักษาชาวเมืองให้อยู่เย็นเป็นสุข

      พระพุทธเจ้าได้มอบหมายให้ยักษ์สองผัวเมียดูแลรักษาดอยคำและดอยอ้อยช้าง ส่วนลูกยักษ์ได้บวชเป็นพระภิกษุ ต่อมาลาสิกขาออกมาถือเพศเป็นฤๅษี มีนามว่า “สุเทพฤๅษี” ส่วนดอยอ้อยช้าง หรือดอยเหนือ ต่อมาเรียกว่าดอยสุเทพ ตามชื่อฤๅษีสุเทพซึ่งบำเพ็ญพรตอยู่ที่ถ้ำฤๅษีหลังดอยสุเทพ (ปัจจุบันปรากฏร่องรอยของบ่อน้ำ ชาวบ้านเรียกกันว่า บ่อฤๅษี) จากตำนานดังกล่าวข้างต้น ได้สืบทอดความเชื่อมาจวบจนปัจจุบัน ภายหลังปู่แสะย่าแสะเสียชีวิตแล้ว ชาวบ้านชาวเมืองยังคงเกรงกลัวอิทธิฤทธิ์ และต้องการให้วิญญาณปู่แสะย่าแสะช่วยรักษาพระศาสนาและปกป้องคุ้มครองชาว เมือง จึงจัดให้มีพิธีเซ่นสรวงเป็นประจำทุกปีในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 9 เหนือ (เป็งเดือนเก้า)

      ตำนานพื้นเมืองเชื่อกันว่า ปู่แสะย่าแสะเป็นบรรพชนของชาวลัวะ ซึ่งส่วนหนึ่งได้สืบเชื้อสายมาเป็นชาวเชียงใหม่ในปัจจุบัน มีหน้าที่ดูแลรักษาเมืองเชียงใหม่ ดังนั้น เจ้าเมือง เสนาอำมาตย์ และราษฎร จะต้องร่วมกันทำพิธีเลี้ยงปู่แสะย่าแสะ โดยเชื่อกันว่า หากไม่ทำพิธีเลี้ยงปู่แสะย่าแสะ บ้านเมืองจะเกิดภัยพิบัติ ดังในสมัยพระเจ้าเมกุฏิ เจ้าเมืองเชียงใหม่ บ้านเมืองเดือดร้อนทุกข์เข็ญอย่างสาหัส ชาวบ้านโจษจันว่า เป็นเพราะพระเจ้าเมกุฏิสั่งห้ามชาวบ้านชาวเมืองทำพิธีเซ่นสรวงปู่แสะย่าแสะ เป็นเหตุให้เมืองเชียงใหม่ต้องเสียเอกราช ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า (เจ้าเมืองเชียงใหม่องค์นี้ถูกจับไปเป็นองค์ประกันที่พม่า ภายหลังสิ้นพระชนม์ได้กลายเป็นแนต [nat] ที่ชาวพม่าให้ความเคารพศรัทธามากตนหนึ่ง)

ต่อมาในสมัยของเจ้าแก้วน วรัฐ เจ้าเมืองเชียงใหม่องค์สุดท้าย ได้มีการฟื้นฟูพิธีกรรมเลี้ยงดงหรือพิธีบวงสรวงปู่แสะย่าแสะขึ้นอีกครั้ง และปฏิบัติสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

      พิธีเลี้ยงปู่แสะย่าแสะทำสืบต่อกันมาจนถึง พ.ศ. 2480 ทางราชการได้สั่งห้ามจัดพิธี (กรณีนี้คล้ายกับที่ได้มีการห้ามจัดพิธีรำผีมอญที่พระประแดงในยุคหนึ่ง เพราะทางการเกรงว่าการทำนายทายทักในทางร้ายของร่างทรงหรือผู้อำนวยพิธีจะทำ ให้ชาวบ้านชาวเมืองตื่นกลัว) จนถึงสมัยสงครามมหาเอเชียบูรพา จึงได้รับการรื้อฟื้นขึ้นอีกครั้งแต่ให้ทำพิธีทางทิศตะวันออกบริเวณเชิงดอย คำ โดยมีชาวบ้านเชิงดอยสุเทพและบ้านแม่เหียะเป็นผู้ทำพิธี ซึ่งข้อกำหนดอย่างหนึ่งของการเป็นร่างทรง (ม้าขี่) ก็คือ บุคคลหนึ่งห้ามเป็นร่างทรงติดต่อกันเกิน ๓ ปี โดยรอบบริเวณลานพิธีเลี้ยงดงเป็นป่าสมบูรณ์ ล้วนแต่ไม้ขนาดใหญ่ เช้านั้นฝนโปรยปรายลงมาแต่เช้า ยอดหญ้าฉ่ำน้ำ ผืนดินนุ่มไร้ฝุ่น ท้องฟ้าครึ้มด้วยเมฆขาวหม่น บรรยากาศขรึมขลังชวนศรัทธา สิ่งที่ดูจะขัดแย้งกับบรรยากาศก็คือ เสียงล้อรถเสียดสีกับถนนและแตรรถกลบเสียงวงฆ้องกลอง (ปี่พาทย์) รถนานาชนิดจอดเรียงรายยาวเหยียด รวมทั้งรถตู้นักท่องเที่ยวหลากสัญชาติ เมื่อถึงปากทางมองเห็นผาม (ปะรำพิธี) แต่ไกลกลางลานโล่ง สองรายทางเต็มไปด้วยร้านค้าแผงลอยอาหารเครื่องดื่ม (รวมทั้งเหล้าสี เหล้าขาว และเหล้าตอง แต่ปีหลังจากนี้คงจะไม่มี ภายหลังหน่วยงานส่งเสริมสุขภาพได้เข้าไปสนับสนุนกิจกรรมชาวบ้าน และอาจจะรวมไปถึงการนำควายมาต้มก่อนเซ่นสรวง) ด้านขวาเกือบสุดทางเดินก่อนถึงผาม เป็นอาสน์สงฆ์ ด้านซ้ายเป็นเต๊นท์กองอำนวยการ มีเสียงประชาสัมพันธ์ชื่อเสียงและผลงานของนักการเมืองท้องถิ่น และโฆษณาขายผืนผ้าพระบฏจำลอง ขณะที่ผมเดินทางไปถึงนั้น ผ้าพระบฏ (ภาพเขียนพระพุทธเจ้า) ถูกนำออกจากหีบพระบฏ ขึงโยงไว้กับยอดไม้สูงเหนือหัวแล้ว ต่อจากนั้นพิธีกรรมก็เริ่มขึ้น ร่างทรงปู่แสะย่าแสะขึ้นไปบนผาม เปลี่ยนชุดตามแบบโบราณ เน้นผ้านุ่งผ้าห่มสีแดง ทำพิธีเซ่นสรวงเชิญวิญญาณปู่แสะย่าแสะเข้าร่าง รับหมากใส่ปากเคี้ยว สูบบุหรี่มอญมวนใหญ่ กระโจนลงจากผาม มุ่งตรงไปยังซากควายกลางลานพิธี เกลือกร่างไปบนซากแล้วขึ้นขี่หลัง ฉีกเนื้อควายใส่ปาก มือวักเลือดในภาชนะขึ้นดื่ม หิ้วเนื้อควายติดตัวไปบางส่วน เดินตรวจตราศาลบูชาขนาดเล็กที่ตั้งอยู่โดยรอบลานพิธี ทั้ง 12 ศาล ตามจำนวนปู่แสะย่าแสะ ลูก หลาน และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สำคัญของเมือง ภายในศาลวางกระทงใบตองตึงบรรจุเครื่องเซ่นนานาชนิด

      หลังปู่แสะย่าแสะรับเครื่องเซ่นแล้วครู่ใหญ่ก็เกิดเหตุอัศจรรย์ ภาพพระบฏแกว่งไกว ซึ่งชาวบ้านเชื่อกันว่าเป็นปาฏิหาริย์ซึ่งจะเกิดขึ้นทุกปี โดยไม่มีลมพัดต้องแม้แต่น้อย ภาพพระบฏที่แกว่งไปมาทำให้ร่างทรงปู่แสะย่าแสะต้องรีบกลับเข้าผาม เปลี่ยนเครื่องแต่งกายเป็นชุดสีขาว เข้าไปไหว้สาพระบฏ อันเป็นสัญลักษณ์ตัวแทนของพระพุทธเจ้า จากนั้นปู่แสะย่าแสะก็จะเดินเยี่ยมเยียนชาวบ้าน มีการเข้าทรง “เจ้านาย” เพื่อพยากรณ์ความเป็นอยู่และความอุดมสมบูรณ์ของบ้านเมือง การบอกกล่าวฝากฝังนักการเมืองและผู้นำชุมชนให้บำรุงรักษาป่าไม้ ไม่ให้ใครบุกรุกทำลาย สาปแช่งคนบุกรุกให้มีอันเป็นไป (โชคดีที่ป่าผืนนั้นอยู่ในเขตทหาร คำสาปแช่งของปู่แสะย่าแสะจึงยังคงความศักดิ์สิทธิ์) ให้ชาวบ้านสามัคคีช่วยกันแก้ไขปัญหา

      นอกจากตำนานจะกล่าวอ้างถึงชาวลัวะ ชนพื้นเมืองของเชียงใหม่แล้ว ยังเป็นการผสานความเชื่อเรื่องผีที่มีมาแต่เดิม ผนวกเข้ากับความเชื่อทางพุทธศาสนาที่เข้ามาภายหลัง ให้ดำเนินคู่กันไปอย่างกลมกลืน เท่ากับว่าตำนานและพิธีกรรมในอดีตมีส่วนสำคัญในการร้อยเรียงผู้คนต่าง ชาติพันธุ์ ต่างความเชื่อ และลัทธิทางศาสนา ด้วยกติกาที่ชุมชนร่วมกันสร้างขึ้นเป็นข้อตกลงในการอยู่ร่วมกัน ทว่าเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป การเข้ามาของทุน สื่อสารเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งการเมือง นอกเหนือจากปัจจัยการดำรงชีวิต ผลประโยชน์และสถานภาพทางสังคมก็ได้เข้ามาเบียดบังพื้นที่ของผีและพรากศรัทธา ไปจากชุมชน

      อำนาจสื่อรุกล้ำพื้นที่อำนาจของผี เพื่อให้ได้ภาพที่สวยงาม ในยุค Digital โทรศัพท์มือถือถ่ายภาพได้ราคาถูกหาซื้อง่าย ไม่นับรวมช่างภาพมืออาชีพ กล้องวิดีโอจากนักท่องเที่ยวหลายชาติ นักข่าวหลายสำนัก นับด้วยตาคร่าวๆ (นับรวมผู้เขียนด้วย) ไม่ต่ำกว่า 100 ตัว รั้วไม้หยาบๆ กั้นได้แต่เพียงชาวบ้าน ไม่สามารถกั้นช่างภาพและนักการเมืองให้เข้าไปเกาะติดผีได้ คำนิยามพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์และพื้นที่อำนาจของปู่แสะย่าแสะจึงถูกท้าทาย อย่างรุนแรง น่าสนใจว่าพ่ออุ้ยแม่อุ้ยที่นั่งราบพนมมือแต้อยู่กับพื้นนอกรั้วรู้สึกอย่าง ไร ขณะที่ช่างภาพและนักการเมืองท้องถิ่นบอกกับร่างทรงปู่แสะย่าแสะอันเป็นจิต วิญญาณของพวกเขา (องค์ บรรจุน ศิลปวัฒนธรรม. 2549 : ออนไลน์)

 

      งานประเพณีเลี้ยงดง หมายถึง การเซ่นสรวงดวงวิญญาณผีในป่า    “ประเพณี” หมายถึง สิ่งที่ปฏิบัติกันมาหลายร้อยปีหลายช่วงอายุคน   “ดง” หมายถึง ป่าไม้หรือป่าดงดิบ   ตั้งแต่อดีตกาลป่าไม้คู่กับคน  ป่าเป็นต้นกำเนิดของสรรพสิ่งมีชีวิต คนอาศัยป่าในการดำรงชีวิตอยู่ สภาพแวดล้อมในป่าได้สร้างทรัพยากรทางธรรมชาติ เช่น พืชพันธ์สัตว์ต่างๆ และรักษาความสมดุลทางธรรมชาติตลอดจนเป็นต้นน้ำที่ดียิ่งหล่อเลี้ยงมนุษยชาติ ในปัจจุบัน  ป่าไม้ให้สมดุลให้กับธรรมชาติ “คนกับป่าไม้” อยู่คู่กันตลอดมา

      สถานที่เลี้ยงดงที่ตั้งอยู่ในปัจจุบันนี้ คือ บริเวณลาน เชิงวัดพระธาตุดอยคำ และบริเวณหมู่ที่ 3 บ้านแม่เหียะใน ต.แม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ป่าไม้บริเวณดังกล่าวเป็นป่าต้นน้ำของลำห้วยแม่เหียะ ซึ่งหล่อเลี้ยงชีวิตคนใน ต.แม่เหียะ ต.สันผักหวาน และ ต.ป่าแดด ป่าต้นน้ำนี้ได้สร้างความสมดุลให้กับชาวเชียงใหม่มาหลายร้อยปีแล้ว      

      ประเพณีเลี้ยงดง เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตกาลเพื่อให้ประชาชนมีความรักและหวงแหน รักษาป่าไม้ให้คงอยู่และไม่ให้ใครเข้าไปบุกรุกทำลายธรรมชาติป่าต้นน้ำดัง กล่าวให้เสียหาย โดยวิธีดังกล่าวได้ผ่านร่างทรงโดยอันเชิญดวงวิญญาณผู้ปกปักรักษาป่าแห่งนี้ นามว่า “ปู่แสะ ยักษ์จิคำ” และ “ย่าแสะ ยักษ์ตาเขียว” โดยได้จัดพิธีปีละหนึ่งครั้งและมีความเชื่อว่าเป็นผู้รักษาป่าให้คงอยู่ ผู้บุกรุกจะพบกับเหตุเภทภัยต่างๆ  ในอดีตป่าต้นน้ำแม่เหียะเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ซึ่งมีน้ำตกที่ใช้ชื่อว่า น้ำตกตาดหมาไห้ และน้ำลำห้วยแม่เหียะไหลผ่านตลอดปี ประชาชนใดจะเข้าไปในป่าจะต้องได้รับอนุญาตจากผีป่า- ผีดง คือ “ผีปู่แสะ ย่าแสะ” ก่อน ซึ่งบริเวณที่เลี้ยงดงในปัจจุบันจะมีศาลเพียงตาเพื่อทำพิธีบอกกล่าวก่อนที่ ผู้เข้าไปเก็บของป่าหรือล่าสัตว์ป่า หากผู้ใดมิได้บอกกล่าวและละเมิดมักจะมีอันเป็นไปตายโดยมิรู้สาเหตุ ซึ่งเป็นที่กล่าวในอดีตว่าถูกยักษ์ปู่แสะ ย่าแสะกิน       

      ดังนั้นพิธีเลี้ยงดง จึงเป็นประเพณีที่ชาว ต.แม่เหียะและตำบลใกล้เคียงได้จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 9 เหนือ (ประมาณเดือนพฤษภาคม) ผ่านมาหลายร้อยปีแล้ว เพื่อให้เป็นศิริมงคลแก่ประชาชนที่อยู่ใน ต.แม่เหียะและตำบลใกล้เคียง  ตามประวัติศาสตร์และพงศวดารกล่าวไว้ว่า พิธีดังกล่าวในอดีตเจ้าผู้ครองนครล้านนาและผู้นำชุมชนระดับสูงต้องเข้าร่วม ในพิธีกรรมและเป็นประเพณีที่ปฏิบัติถึงชนรุ่นหลัง         การจัดพิธีกรรมนี้มีความเชื่อว่าเมื่อเลี้ยงดง บวงสรวงด้วยเครื่องเซ่น คือ ควายรุ่นเขาเพียงหูสีดำ 1 ตัว ดอกไม้ธูปเทียน ผลไม้ต่างๆ และสุราขาว เป็นเครื่องเซ่นไหว้ให้ดวงวิญญาณปู่แสะ – ย่าแสะ ให้มารับเครื่องบวงสรวงเซ่นไหว้โดยผ่านร่างทรงเข้ามารับเครื่องเซ่นไหว้คือ ควายดิบและของที่เตรียมไว้ การจัดพิธีดังกล่าวมีความเชื่อว่าจะก่อให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข ป่าไม้อุดมสมบูรณ์ ฝนตกต้องตามฤดูกาลและประชาชนไม่เจ็บไข้ได้ป่วย ทำการเกษตรได้ผลดีตลอดปี ในขณะเดียวกันป่าต้นน้ำก็ยังอยู่และผู้บุกรุกก็มีอันเป็นไปด้วยอิทธิฤทธิ์ ของดวงวิญญาณปู่แสะ – ย่าแสะ (rawi. 2553 : ออนไลน์)

 

 

ที่มา : http://forum.narandd.com/index.php?topic=1913.0ที่มา : http://forum.narandd.com/index.php?topic=1913.0

บรรณานุกรม

"ปู่แสะย่าแสะ กับประเพณีเลี้ยงดงเชียงใหม่," (2557). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://forum.narandd.com/index.php?topic=1913.0. สืบค้นเมื่อ 24 พฤศจิกายน.

"ปู่แสะย่าแสะของคนลัวะ." (2557). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1357979866. สืบค้นเมื่อ 24 พฤศจิกายน.

"ประเพณีล้านนา เลี้ยงผีปู่แสะย่าแสะ." (2557). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.openbase.in.th/node/6528. สืบค้นเมื่อ 24 พฤศจิกายน.

"ที่มาของชื่อปูแสะย่าแสะ กินมนุษย์เป็นอาหาร." (2557). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://talk.mthai.com/topic/376667. สืบค้นเมื่อ 24 พฤศจิกายน.

rawi. "ปู่แสะย่าแสะ กับประเพณีเลี้ยงดงเชียงใหม่," (2557). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://forum.narandd.com/index.php?topic=1913.0. สืบค้นเมื่อ 24 พฤศจิกายน.

เรียบเรียงโดย 

นายนัสกร  คำลือชัย
รหัสประจำตัวนักศึกษา 57123270113
สาขาการท่องเที่ยว 
คณะวิทยาการจัดการ 
มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง

แสดงโฆษณา

 


Copy Link : ท่านสามารถ copy ลิงค์ของข่าวนี้เพื่อเผยแพร่ต่อได้
แชร์หน้านี้ ไปยัง facebook ตอบกลับกระทู้นี้ VV กดถูกใจกระทู้นี้ VV


ลิงก์ผู้สนับสนุน

ลิงก์ผู้สนับสนุน

 

 

 

 

 



แจ้งลบกระทู้นี้

อ่าน 68829

แสดงความคิดเห็น โดย ตนข่าว IP: Hide ip , วันที่ 29 มิ.ย. 58 เวลา 10:52:36
 

 

จำหน่าย ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ ผ้าฝ้ายทอมือ ราคาส่ง ราคาถูก เริ่มต้นที่ 25 บาท/ผืน ผลิตจากผ้าฝ้ายแท้ 100%โซ่สเตอร์และวงล้ออลูมิเนียม ดี.ไอ.ดี ถูกผลิตขึ้นโดยเทคโนโลยีของประเทศญึ่ปุ่น และส่งไปยังผู้ประกอบการรถมอเตอร์ไซค์ทั่วโลกเครื่องฟอกอากาศ pm2.5 Oxygen สุดคุ้ม ราคาถูก 1,490 ลำพูน-เชียงใหม่ ส่งฟรี!
www.cmprice.com เว็บไซต์ที่คนเข้าชมมากที่สุดในเชียงใหม่ !!! เห็นชัด เห็นบ่อย ตรงกลุ่มเป้าหมาย เพียง 1500 บาทต่อเดือน
สนใจลงโฆษณาตรงนี้ ติดต่อ 080-500-1180

 

 
กรุณาอ่าน
ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บบอร์ดไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถ ระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใด ที่ขัดต่อกฎหมายและ ศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ 08-0500-1180 เพื่อให้ผู้ควบคุม ระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป
 
 
 


ปิดโฆษณานี้X

ผ้าพันคอราคาถูก

ปิดโฆษณานี้X

จำหน่าย ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ ผ้าฝ้ายทอมือ ราคาส่ง ราคาถูก เริ่มต้นที่ 25 บาท/ผืน ผลิตจากผ้าฝ้ายแท้ 100%โซ่สเตอร์และวงล้ออลูมิเนียม ดี.ไอ.ดี ถูกผลิตขึ้นโดยเทคโนโลยีของประเทศญึ่ปุ่น และส่งไปยังผู้ประกอบการรถมอเตอร์ไซค์ทั่วโลกเครื่องฟอกอากาศ pm2.5 Oxygen สุดคุ้ม ราคาถูก 1,490 ลำพูน-เชียงใหม่ ส่งฟรี!
www.cmprice.com เว็บไซต์ที่คนเข้าชมมากที่สุดในเชียงใหม่ !!! เห็นชัด เห็นบ่อย ตรงกลุ่มเป้าหมาย เพียง 1500 บาทต่อเดือน
สนใจลงโฆษณาตรงนี้ ติดต่อ 080-500-1180

 


หน้าแรก l หางานเชียงใหม่ | ตลาดออนไลน์ | เว็บบอร์ด | อัตราค่าลงโฆษณา | ลงโฆษณาฟรี ประกาศฟรี | ติดต่อเรา


เพื่อนบ้านเราทั้งหมด วิธีแลก Link

© cmprice.com since 14 Jan 2005
E-mail: info@cmprice.com
FaceBook : facebook.com/cmprice.fc
TEL. 08-0500-1180
Line id: cmprice









www.cmprice.com ที่นี่มีสิ่งดีๆ รอคุณอยู่
ผู้สนับสนุน แบบพิเศษ

บ้านหนองช้างคืน | เครื่องฟอกอากาศ เชียงใหม่-ลำพูน | ผ้าพันคอราคาถูก | ของชำร่วย | ลงโฆษณาฟรี ประกาศฟรี