22 กันยายนของทุกปีเป็นวันอนุรักษ์แรดโลก เพื่อให้ตระหนักถึงการลดลงของจำนวนประชากรแรด ช่วยกันรณรงค์ส่งเสริมและปลูกฝังค่านิยม ลดการใช้เครื่องประดับจากชีวิตของแรด
แรด เป็นสัตว์เลือดอุ่นที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจากช้าง โดยมีน้ำหนักมากถึง 1,000 กิโลกรัม ขณะที่พันธุ์แรดขาวจะมีน้ำหนัก 3,500 กิโลกรัมหรือกว่า 3 ตันเลยทีเดียว แรดมักเลือกอาศัยอยู่อย่างสอดคล้องกับสายพันธุ์พืชและสัตว์สำคัญชนิดอื่นๆ การอนุรักษ์แรดจึงเปรียบเสมือนการดูแลและปกป้องสายพันธุ์ชนิดข้างเคียงไป ด้วย
สำหรับประเทศไทยเคยเป็นเเหล่งที่อยู่อาศัยของแรดป่าสองชนิด ได้แก่ แรดชวา และกระซู่ (หลักการจำแนกคือ แรดมีนอเดียว แต่กระซู่จะมี 2 นอ) ซึ่งทั้ง 2 ชนิดได้สูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติ (Extinct in the wild) ในประเทศไทยแล้ว แม้ไซเตสจะบรรจุชื่อแรดไว้ในบัญชีหมายเลข 1 มาตั้งแต่ปี 2520 และประเทศไทยก็จัดแรดให้อยู่ในบัญชีสัตว์ป่าสงวน แต่แรดก็ยังคงถูกคุกคามจนกระทั่งสูญพันธุ์ไปในที่สุด
วันอนุรักษ์แรดโลก เริ่มขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2553 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการตระหนักถึงการลดจำนวนลงของแรดสายพันธุ์ต่างๆ ที่มีสาเหตุหลักมาจากการลักลอบล่าของมนุษย์ ซึ่งต้องการนำนอแรดไปขายในรูปแบบของเครื่องประดับต่างๆ หรือนำไปเป็นส่วนผสมของยาตามความเชื่อ จำนวนประชากรแรดจึงลดลงไปในทุกปี การรณรงค์ในวันนี้เป็นการช่วยกันส่งเสริมและการปลูกฝังค่านิยม ลดการใช้เครื่องประดับที่มาจากชีวิตของผู้อื่น เช่น นอแรด และงาช้างด้วย
ขอขอบคุณข้อมูล : wwf.or.th