กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
ที่มา kapook.com
วันพยาบาลสากล ตรงกับวันที่ 12 พฤษภาคมของทุกปี กำหนดขึ้นเพื่ออะไร มาหาคำตอบกัน
หลายคนอาจทราบว่า เรามีวันพยาบาลแห่งชาติ ซึ่งตรงกับวันที่ 21 ตุลาคมของทุกปี แต่อาจไม่ทราบว่าวันที่ 12 พฤษภาคม เป็นวันพยาบาลสากลด้วย ถ้าอยากรู้ว่า "วันพยาบาลสากล" มีความสำคัญอย่างไร และเหตุใดจึงต้องมีวันนี้ขึ้น วันนี้กระปุกดอทคอมมีคำตอบมาเฉลยค่ะ
ความเป็นมาของวันพยาบาลสากล
สภาพยาบาลระหว่างประเทศ (International Council of Nurses, ICN) ซึ่งเป็นองค์กรวิชาชีพพยาบาล ได้กำหนดให้วันที่ 12 พฤษภาคมของทุกปี เป็นวันพยาบาลสากล (International Nurses Day) โดยเริ่มครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971)
ทั้งนี้เนื่องจากวันที่ 12 พฤษภาคม เป็นวันเกิดของมิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ผู้ก่อกำเนิดวิชาชีพการพยาบาล และเป็นผู้ที่มีอุดมการณ์ตั้งใจจะบำเพ็ญสาธารณประโยชน์เพื่อมวลมนุษย์อย่างแท้จริง จนได้รับการยกย่องและเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก
จุดประสงค์ของการกำหนดวันพยาบาลสากล
วันพยาบาลสากล ถูกกำหนดขึ้นเพื่อสดุดีคุณงามความดีของมิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ที่ทำประโยชน์อย่างมากมายให้แก่มวลมนุษย์ รวมทั้งเพื่อเป็นการยกย่อง ให้เกียรติ และให้คนยึดถือเอาเป็นแบบอย่าง อีกทั้งยังมีจุดมุ่งหมายให้พยาบาลทั่วโลกร่วมมือจัดกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์แก่สาธารณชน และกำหนดแนวทางเพื่อให้พยาบาลทั่วโลกรณรงค์แก้ไขปัญหาสุขภาพในแต่ละปี
ประวัติ มิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล
มิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล เป็นชาวอังกฤษ เกิดเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม ค.ศ. 1820 ที่เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี ครอบครัวของมิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล จัดว่ามีฐานะ จึงทำให้เธอได้รับการศึกษาอย่างดี มิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล มีความตั้งใจที่จะเป็นพยาบาล ดังนั้นเมื่อเธออายุได้ 20 ปี ได้ขอบิดามารดาเรียนพยาบาล แต่ไม่ได้รับการอนุญาต เนื่องจากในสมัยนั้นงานพยาบาลไม่ได้รับการสนับสนุนเท่าที่ควร แต่เธอก็ยังมุ่งมั่นที่จะทำงานเสียสละเพื่อดูแลผู้เจ็บป่วย จนหาโอกาสได้ไปเยี่ยม และดูงานตามโรงพยาบาลต่าง ๆ ในทวีปยุโรป จนสุดท้ายมิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ก็ได้เข้าศึกษาอบรมวิชาพยาบาลที่ประเทศเยอรมนีได้ดังใจฝัน
ต่อมาในปี ค.ศ. 1857 เกิดสงครามไครเมียขึ้น มิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ได้อาสาสมัครไปช่วยดูแลทหารที่ได้รับบาดเจ็บจากสงคราม เธอเสียสละทรัพย์สิน และขอเรี่ยไรจัดหาเครื่องเวชภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือทหาร อีกทั้งยังได้ออกตระเวนตรวจเยี่ยม เพื่อรักษาและให้กำลังใจทหารแม้ในเวลาค่ำคืน จนได้รับสมญานามว่า "สุภาพสตรีแห่งดวงประทีป" (The lady of the lamp)
ภายหลังสงครามสิ้นสุด มิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ได้ริเริ่มพัฒนากิจการพยาบาลให้ก้าวหน้า จนในที่สุดได้มีผู้ร่วมกันก่อตั้งกองทุนการศึกษาสำหรับพยาบาล "ไนติงเกล" เพื่อเป็นเกียรติแก่ท่าน จากนั้นมิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ก็ได้รับการยอมรับให้เป็นผู้จัดระเบียบด้านสุขภาพในกองทัพประเทศอังกฤษ และวางแผนงานด้านสุขาภิบาลในประเทศอินเดีย จนก่อตั้งโรงเรียนพยาบาลที่เป็นต้นแบบของโรงเรียนพยาบาลทั่วโลก นอกจากนี้มิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ยังได้รับการยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก ในฐานะผู้บุกเบิกวิชาชีพการพยาบาลอีกด้วย
วันพยาบาลสากลในประเทศไทย
สำหรับในประเทศไทยนั้น สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย ได้เข้าเป็นองค์กรสมาชิกของสภาพยาบาลระหว่างประเทศ เมื่อ พ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1961) และได้จัดกิจกรรมวันพยาบาลสากลเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) โดยรองศาสตราจารย์ ดร.วิเชียร ทวีลาภ นายกสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยในขณะนั้น ได้ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข และองค์การยูนิเซฟ จัดกิจกรรมวันพยาบาลสากล
และในปีต่อ ๆ มาก็มีการจัดกิจกรรมเนื่องในวันพยาบาลสากลมาโดยตลอด โดยมีจุดประสงค์สำคัญ เพื่อสดุดีมิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล บูรพาจารย์แห่งการพยาบาล รำลึกถึงพระคุณของท่าน และประกาศเกียรติคุณเพื่อให้ประชาชนได้ทราบ อีกทั้งยังเป็นการเผยแพร่บทบาทของพยาบาลต่อสุขภาพของประชาชนให้ทราบเป็นประจำทุกปี
คำขวัญประจำวันพยาบาลสากล
ทุก ๆ ปี จะมีการตั้งคำขวัญเนื่องในวันพยาบาลสากล ซึ่งคำขวัญของแต่ละปี ได้แก่
- พ.ศ. 2528 สุขภาพอนามัยสตรี (Nurses and Women Health)
- พ.ศ. 2529 เสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคแก่เด็กทุกคน (Universal Child Immunization)
- พ.ศ. 2530 บทบาทของพยาบาลกับการดูแลของผู้ประกอบวิชาชีพ (Occupational Health)
- พ.ศ. 2531 ช่วยแม่ลูกสุขสันต์ในวันเกิด (Help Her Have a Happy Birth-Day)
- พ.ศ. 2532 สุขภาพวัยเรียนต้องเพียรส่งเสริม (School Health)
- พ.ศ. 2533 พยาบาลและสิ่งแวดล้อม (Nurses and the Environment)
- พ.ศ. 2534 พยาบาลเชิงรุก-เพื่อสุขภาพจิตของปวงประชา (Mental Health and Nursing)
- พ.ศ. 2535 สุขกาย สุขใจ ในวัยทอง (Health Ageing)
- พ.ศ. 2536 คุณภาพการพยาบาล และความคุ้มค่า (Quality, Cost and Nursing)
- พ.ศ. 2537 ครอบครัวสุขสันต์-วันพยาบาลสากล (Health Families for Healthy Nation)
- พ.ศ. 2538 พยาบาลเสริมสร้างวิถี-สู่สุขภาพสตรี (Women’ Health: Nurses Pave the Way)
- พ.ศ. 2539 เพื่อสุขภาพที่ดีกว่า พยาบาลพัฒนางานวิจัย (Better Health Through Nursing Research)
- พ.ศ. 2540 อนาคตประเทศจะสดใส เยาวชนไทยต้องสุขภาพดี (Healthy Young People=A Brighter Tomorrow)
- พ.ศ. 2541 สุขภาพชุมชนไทยดี ทุกคนมีส่วนร่วม (Partnership for Community Health)
- พ.ศ. 2542 อดีตที่ผ่านมาบอกความก้าวหน้าในอนาคต (Celebrating Nursing Past–Claiming the Future)
- พ.ศ. 2543 เพื่อท่าน…พยาบาลพร้อมดูแล (Nurses–Always There for You)
- พ.ศ. 2544 พยาบาลพร้อมช่วยท่าน : ร่วมป้องกันความรุนแรง (Nurses, Always There for You : United Against Violence)
- พ.ศ. 2545 พยาบาลพร้อมช่วยท่าน : ร่วมกันดูแลครอบครัว (Nurses, Always there for you : Caring For Families)
- พ.ศ. 2546 พยาบาลพร้อมช่วยท่าน : ร่วมต้านมลทินเอดส์ (Nurses : Fighting AIDS Stigma : Caring For All)
- พ.ศ. 2547 พยาบาลเคียงข้างผู้ยากไร้ รวมน้ำใจต้านความจน (Nurses : Working With The Poor, Against Poverty)
- พ.ศ. 2548 พยาบาลปกป้องปวงประชา : ห่างไกลยาไร้มาตรฐาน (Nurses for Patient Safety : Targeting Counterfeit and Substandard Medicines)
- พ.ศ. 2549 พยาบาลปลอดภัย ประชาไทยมีสุข (Safe staffing saves lives)
- พ.ศ. 2550 สิ่งแวดล้อมปลอดภัย การพยาบาลไทยมีสุข ประชาราษฎร์เป็นสุข (Positive Practice Environments : Quality Workplaces–Quality Patient Care)
- พ.ศ. 2551 พยาบาลก้าวนำ สร้างสรรค์บริการสุขภาพปฐมภูมิเพิ่มพูนคุณภาพบริการชุมชน (Delivering Quality, Serving Communities : Nurses Leading Primary Health Care)
- พ.ศ. 2552 พยาบาลก้าวนำ สร้างสรรค์นวัตกรรมการดูแล เพิ่มพูนคุณภาพบริการชุมชน (Delivering Quality, Serving Communities : Nurses Leading Care Innovations)
- พ.ศ. 2553 พยาบาลนำชุมชน สร้างสรรค์คุณภาพการดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง (Delivering Quality, Serving Communities : Nurses Leading Chronic Care)
- พ.ศ. 2554 พยาบาลส
(เนื้อหานี้ จะลบตัวเองภายใน 24 ชม. หากใครต้องการอ่านเนื้อหาจะลิงค์ไปยังที่มาต้นฉบับ)
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
|
|
|