• 17ก.ย. วันกตัญญู ''ครูบาเถิ้ม'' แห่งวัดแสนฝาง ผู้ริเริ่มสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ |
โพสต์โดย โน้ต cmprice , วันที่ 17 ก.ย. 59 เวลา 13:33:03 IP: Hide ip |
กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
บทความโดย Pensupa Sukkata
ประวัติครูบาเถิ้ม
ครูบาเถิ้ม (โสภา โสภโณ) หรือครูบาโสภาณุมหาเถระ วัดแสนฝาง (ต่อมาเป็นเจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยสุเทพ ตอนสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ) จากการศึกษาเก็บข้อมูลสัมภาษณ์บุคคลย่านวัดแสนฝาง ถนนท่าแพ ตำบลช้างม่อย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ของพันตำรวจเอก อนุ เนินหาด Anu Nernhard เมื่อปี 2554 ปรากฏในหนังสือ “วัดแสนฝาง” ระบุว่าครูบาเถิ้ม เป็นบุตรของพ่อสุภา และแม่คำมา (มีเชื้อสายกะเหรี่ยง) เกิดที่บ้านฮ่อม ตำบลช้างคลาน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2408 บรรพชาเป็นสามเณรปี พ.ศ. 2418 อุปสมบทเป็นพระภิกษุปี พ.ศ. 2427 ที่วัดแสนฝาง และมรณภาพในปี พ.ศ. 2478 ขณะที่มีอายุ 70 ปี ครูบาเถิ้มเป็นลูกศิษย์ของครูบาปัญญา อดีตเจ้าอาวาสวัดแสนฝางรูปแรกที่สามารถสืบค้นประวัติได้
ครูบาเถิ้มดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดแสนฝางต่อจากครูบาปัญญาเมื่อปี พ.ศ. 2343 เป็นภิกษุผู้มีความสามารถในทางสล่า คือเป็นช่างก่อสร้างศาสนสถาน ทั้งยังมีความแตกฉานในวิชาโหราศาสตร์ สามารถพยากรณ์เหตุการณ์ต่างๆ ได้ถูกต้องแม่นยำ ตัวอย่างผลงานชิ้นสำคัญด้านนี้ที่สร้างชื่อเสียงให้ครูบาเถิ้มเป็นที่รู้จักกันทั่วไป คือครูบาเถิ้มสามารถปราบอิทธิฤทธิ์ความแรงของกุมภัณฑ์ตนหนึ่งที่เฝ้าเสาอินทขีล วัดเจดีย์หลวง กลางเวียงเชียงใหม่ได้สำเร็จโดยที่ไม่เคยมีใครปราบได้ ซึ่งชาวบ้านเล่ากันว่ากุมภัณฑ์ตนนี้เคยให้ฤทธิ์เสกให้ผึ้งมาต่อยพ่อค้าชาวจีนรายหนึ่งที่มาถ่ายปัสสาวะในบริเวณวัด และอีกครั้งมีรถบรรทุกสุกรผ่านหน้าวัด จู่ๆ สุกรทุกตัวก็หวีดร้องและล้มตายหมดทุกตัวในรถบรรทุกนั้น ชาวบ้านเชื่อว่าเพราะอิทธิฤทธิ์ของกุมภัณฑ์ตนนี้นี่เองครูบาเถิ้มได้รับนิมนต์ให้เป็นผู้ทำพิธีกรรมตัดเศียรของรูปปั้นกุมภัณฑ์ออกจากร่างเดิม แล้วต่อเข้าใหม่เพื่อให้กุมภัณฑ์ลดฤทธิ์เดชลง จนชื่อเสียงของครูบาเถิ้มเป็นที่เคารพยกย่องของข้าราชการและประชาชน ต่อมาได้รับนิมนต์จากเจ้าแก้วนวรัฐให้ไปเป็นเจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยสุเทพ ซึ่งยุคนั้นยังไม่มีถนนขึ้นดอย การเดินทางขึ้นเขาลำบากตลอดเส้นทางเต็มไปด้วยสัตว์ร้ายและภยันตรายต่างๆ ไม่มีพระภิกษุรูปใดยอมขึ้นไปจำพรรษา ยกเว้นแต่ครูบาเถิ้มเพียงรูปเดียว
ครอบครัวของครูบาเถิ้มมีโยมอุปัฏฐากเป็นคหบดีค้าไม้เชื้อสายพม่าในบังคับอังกฤษรายหนึ่ง (เรียก “เฮดแมน”) ชื่อ รองอำมาตย์เอก หลวงโยนการพิจิตร นามเดิมพระยาตะก่าปันโหย่ หรือหม่องปัญโญ ต้นสกุล “อุปโยคิน” ผู้เคยนิมนต์ครูบาเถิ้มไปประเทศพม่า พาไปชมวัดบนเขาแห่งหนึ่งที่มีถนนขึ้นสู่ยอดดอยมีรถขึ้นได้ และมีการติดไฟบนพระเจดีย์นั้นยามค่ำ เมื่อครูบาเถิ้มกลับมาได้มีแนวคิดจะนำแบบอย่างดังกล่าวมาสร้างที่ดอยสุเทพ จึงหารือกับเจ้าแก้วนวรัฐและหลวงศรีประกาศ ซึ่งเพิ่งได้รับเลือกเป็นผู้แทนราษฎรคนแรกของจังหวัดเชียงใหม่ ในตอนแรกเรื่องนี้ไม่มีใครสนใจ มองว่าเป็นสิ่งที่ทำสำเร็จได้ยาก ต้องใช้งบประมาณจำนวนมหาศาลและใช้เทคโนโลยีระดับสูง ครูบาเถิ้มจึงไปปรารภกับครูบาเจ้าศรีวิชัย นำไปสู่ความเห็นชอบของเจ้าแก้วนวรัฐและหลวงศรีประกาศ ซึ่งครูบาเถิ้มเป็นผู้ขึ้นไปสำรวจเส้นทางวางแผนตัดถนนหลายรอบ นำไม้ไปปักเป็นช่วงๆ ทำเครื่องหมายกำหนดแนวไว้ก่อน
ครูบาเถิ้ม ถือเป็นเสาหลักในการก่อสร้างทางขึ้นสู่ดอยสุเทพเคียงบ่าเคียงไหล่คู่กับครูบาเจ้าศรีวิชัย ดังที่กล่าวรายละเอียดมาแล้วในบทที่ 1 น่าเสียดายที่ครูบาเถิ้มถึงแก่มรณภาพเสียก่อนที่ถนนขึ้นสู่ดอยสุเทพจะสร้างเสร็จบริบูรณ์ ท่านมรณะด้วยโรคภูมิแพ้กลิ่นดอกมณฑา (ดอกมณฑามีลักษณะคล้ายดอกบัวแต่ขนาดใหญ่กว่า) มีกลิ่นฉุนรุนแรง มีผู้นำมาถวายท่าน ทันทีที่รับมาถือท่านมีอาการป่วยถึงกับเป็นลมและมรณภาพ
กล่าวกันว่าในงานศพของท่านซึ่งตามธรรมเนียมล้านนาต้องลากปราสาทศพไปตามถนน จากวัดแสนฝาง ผ่านแยกอุปคุต ไปยังสุสานช้างคลาน มีผู้คนมาร่วมขบวนชนิดมืดฟ้ามัวดิน เนื่องจากช่วงนั้นผู้คนบังเกิดศรัทธาต่อท่านมากรองเป็นที่สองจากครูบาเจ้าศรีวิชัย เพราะยังเป็นบรรยากาศในช่วงผ่านพ้นการสร้างทางขึ้นสู่ดอยสุเทพ
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
|
|
|
แจ้งลบกระทู้นี้
อ่าน 3577 |
|
แสดงความคิดเห็น |
โดย โน้ต cmprice
IP: Hide ip
, วันที่ 17 ก.ย. 59
เวลา 13:33:03
|