ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
เหตุการณ์กันยายน เมื่อ 54 ปีมาแล้ว
ขณะเสด็จฯ ณ เมลเบิร์น ออสเตรเลีย
เมื่อวันจันทร์ ที่ ๓ กันยายน ๒๕๐๕
ขณะที่เสด็จฯในพิธีทูลเกล้าฯ ถวายปริญญานิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ณ มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย
ได้เกิดเหตุการณ์ที่ทำให้ทุกคนควรรำลึกเป็นตัวอย่างของผู้นำที่มีความเข้มแข็งและทรงเปี่ยมด้วยพระราชธรรม “ความไม่โกรธ”
กล่าวคือ เมื่อเสด็จพระราชดำเนินไปเยือนต่างประเทศเป็นทางการ
ในพิธีทูลเกล้าฯ ถวายปริญญานิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
ณ มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย
ทรงถูกนักศึกษากลุ่มหนึ่งที่มีความคิดรุนแรง ไม่เข้าใจพระองค์
และเมืองไทย บางคนถือป้ายที่มีข้อความกล่าวร้ายต่อพระองค์ท่าน บางกลุ่มส่งเสียงโห่ ลบหลู่พระเกียรติ และเกียรติภูมิของชาติไทยอย่างรุนแรง
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงบรรยายถึงเหตุการณ์ในวันนั้นในพระราชนิพนธ์ ความทรงจำในการตามเสด็จต่างประเทศ ตอนหนึ่งว่า ถึงเวลาที่พระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จไปพระราชทานพระราชดำรัสที่กลางเวที ยังไม่ทันจะอะไร ก็มีเสียงโห่ดังขึ้นมาจากกลุ่มปัญญาชนข้างนอก
ข้าพเจ้ารู้สึกว่ามือเย็นเฉียบ หัวใจหวิวๆ อย่างไรพิกล รู้สึกสงสารพระเจ้าอยู่หัว จนทำอะไรไม่ถูก ไม่กล้าแม้แต่จะมองขึ้นดูพระพักตร์ท่าน ด้วยความสงสาร และเห็นพระทัย ในที่สุดฝืนใจมองขึ้นไปเพื่อถวายกำลังพระทัย แต่แล้วข้าพเจ้านั่นเองแหละที่เป็นผู้ได้กำลังใจกลับคืนมา เพราะมองดูท่านขณะที่ประทับยืนกลางเวที เห็นพระพักตร์ทรงเฉย
ทันใดนั้นเอง คนที่อยู่ในหอประชุมทั้งหมดปรบมือเสียงสนั่นหวั่นไหวคล้ายจะถวายกำลังพระทัยท่าน พอเสียงปรบมือเงียบลง
คราวนี้ข้าพเจ้ามองขึ้นไปบนเวทีอีก เห็นพระเจ้าอยู่หัวทรงเปิดพระมาลาที่ทรงคู่กับฉลองพระองค์ครุย แล้วหันพระองค์ไปโค้งคำนับกลุ่มที่ส่งเสียงเอะอะอยู่ข้างนอกอย่างงดงาม และน่าดูที่สุด
พระพักตร์ยิ้มนิดๆ พระเนตรมีแววเยาะหน่อยๆ
แต่พระสุรเสียงราบเรียบยิ่งนัก
“ขอขอบใจท่านทั้งหลายเป็นอันมาก ในการต้อนรับอันอบอุ่น และสุภาพเรียบร้อยที่ท่านแสดงต่อแขกเมืองของท่าน” รับสั่งเพียงเท่านั้นเอง
แล้วหันพระองค์มารับสั่งต่อกับผู้ที่นั่งฟังอยู่ในหอประชุม
“ไทย…เป็นประเทศเล็ก ๆ เมื่อเทียบกับออสเตรเลีย แต่มีประวัติศาสตร์เก่าแก่ยาวนาน มีอารยธรรมสูงส่งมานาน นานมาก…”
รับสั่งว่า ต้องขอโทษที่จะบอกว่า
(ถึงจังหวะนี้ ทรงหันไปทางผู้ชุมนุม แล้วน้อมพระเศียรลงเล็กน้อย)
“..นานจนข้าพเจ้าไม่แน่ใจว่า ขณะนั้น ประเทศออสเตรเลียอยู่ที่ไหน…”
ผลปรากฏว่า นักศึกษาเงียบกริบทั้งบริเวณงาน
และเปลี่ยนเป็นปรบมือสนั่นหวั่นไหว
แสดงให้เห็นว่าพระองค์ทรงพระปรีชาสามารถมากในการแก้ไข ปัญหาเฉพาะหน้า และทรงเปี่ยมด้วยพระราชธรรม “ความไม่โกรธ” อย่างแท้จริง
พระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชอัธยาศัยประกอบด้วยพระเมตตา
ไม่ปรารถนาก่อเวรภัยให้ผู้ใดผู้หนึ่ง ไม่ทรงพระพิโรธด้วยเหตุที่ไม่ควร
แม้มีเหตุให้ทรงพระพิโรธ แต่ทรงข่มได้
สงบระงับโดยการใส่ใจพิจารณาจนพบต้นเหตุ
แม้แต่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ไม่เคยเห็นพระเจ้าอยู่หัวแสดงอาการโกรธผู้ใด
ที่มา http://3king.lib.kmutt.ac.th/King9CD/chapter4/page17.html
(เนื้อหานี้ จะลบตัวเองภายใน 24 ชม. หากใครต้องการอ่านเนื้อหาจะลิงค์ไปยังที่มาต้นฉบับ)
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
|