ลอยโขมด เพื่อพ่อ ( ร่วมลอยโขมดถวายเป็นพระราชกุศล ถวายพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ )
วันศุกร์ ที่ 11 พฤศจิกายน 2559
ณ วัดรมณียาราม (กู่ระมัก) ตำบลต้นธง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ครั้งที่ 2 ประจำปี 2559 ต้นกำเนิดประเพณีลอยกระทงโบราณ ล้านนา (หนึ่งเดียวในล้านนา หนึ่งเดียวในโลก )
*****************************************************
ประเพณีลอยโขมด หรือลอยกระทง มีมาแต่โบราณแล้ว นับแต่สมัยอาณาจักรหริภุญชัย อาณาจักรล้านนาไทย เมื่อถึงวันเดือนยี่เพ็ง ก็จะทำพิธีลอยโขมด เป็นการลอยโดยความหมาย
๑ . เป็นการลอยเคราะห์ลอยบาป ๒ . เป็นการลอยเพื่อส่งของ ๓ . เป็นการลอยเพื่อบูชาพระนารายณ์ ๔ . เป็นการบูชาพระพุทธบาทในหาดทรายแม่น้ำนัมนที
๕ . เป็นการลอยเพื่ออธิฐาน
การลอยกระทงนั้น แต่โบราณล้านนาเรียกกันว่า ลอยโขมด เป็นชื่อผีป่า เรียกกันว่า ผีโขมด ชอบออกหากินกลางคืน จะมีพะเนียงไฟเห็นเป็นระยะอย่างผีกระสือ ดังนั้น กระทงที่จุดเทียนแล้วปล่อยลงในน้ำจะกระทบกับน้ำเกิดเงาสะท้อนขึ้นวับ ๆ แวม ๆ หากเรายืนดูไกล ๆ จะเป็นเสมือนแสงพะเนียงไฟผีโขมด ทางล้านนาแต่โบราณจึงเรียกลอยกระทงว่า “ ลอยโขมด ”
วันลอยกระทง กระทงเล็ก ๆ ที่ชาวบ้านจัดทำขึ้นนั้น นิยมลอยตามแม่น้ำลำคลอง หนองบึง ใกล้ ๆบ้านของตน ทำกันเป็นส่วนตัวและครอบครัว นิยมลอยกันในวันเดือนยี่ขึ้น ๑๔ – ๑๕ ค่ำ ส่วนกระทงใหญ่จัดกันเป็นส่วนรวมแห่แหนเป็นขบวนนั้น นิยมลอยกันในวันแรม ๑ ค่ำ เพราะวันเพ็ญไม่สะดวกเนื่องจากอุบาสกอุบาสิกกาต้องไปทำบุญ ฟังเทศน์กันทุกวัดวาอาราม ประเพณีลอยกระทงเป็นประเพณีสำคัญอย่างหนึ่งที่เป็นส่วนหนึ่งในประเพณีเดือนยี่ของล้านนาไทย