• หนุนชาวเขา 9 เผ่า ศึกษาต่อมช. |
โพสต์โดย กรรมกรข่าว , วันที่ 29 ต.ค. 50 เวลา 10:24:35 IP: Hide ip |
กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
กรมการปกครองจับมือ มช.หนุนชาวเขา 9 เผ่าใน 15 จังหวัดเข้าเรียนมหาวิทยาลัย เพิ่มคุณภาพการศึกษาและชีวิตชนเผ่า นำร่อง 3 คณะคือ ศึกษา-รัฐศาสตร์-นิติ
นายวิชัย ศรีขวัญ อธิบดีกรมการปกครอง ได้เปิดเผยระหว่างมาราชการที่เชียงใหม่ เร็วๆนี้ว่า ทางกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ได้ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดทำโครงการจัดส่งนักศึกษาชาวไทยภูเขาเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีการศึกษา 2551 ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับการศึกษาของชาวเขาให้สูงทัดเทียมกับคนไทยทั่วไป อีกทั้งยังพัฒนาคุณภาพชีวิตและการศึกษาของประชาชนในพื้นที่ห่างไกลให้มีโอกาสทัดเทียมประชาชนในพื้นที่เขตเมืองด้วย
อธิบดีกรมการปกครองกล่าวว่า โครงการฯ ดังกล่าวนี้ ได้มีการกำหนดเป้าหมายในการที่จะคัดเลือกนักศึกษาจากชาวไทยภูเขาที่มีสัญชาติไทย ใน 9 เผ่า คือ กะเหรี่ยง ม้ง มูเซอ เย้า อีก้อ ลีซอ ลัวะ ขมุ และมลาบรี และมีภูมิลำเนาใน 15 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี กำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ ตาก แม่ฮ่องสอน น่าน แพร่ เพชรบูรณ์ พะเยา พิษณุโลก ลำพูน ลำปาง สุโขทัย และอุทัยธานี โดยได้จัดทุนการศึกษาให้ทุนละ 30,000 บาทต่อปี ตลอดหลักสูตรในปีการศึกษา 2551 ทั้งนี้มีนักศึกษาชาวไทยภูเขาที่สนใจสามารถขอรายละเอียด รับใบสมัครและ สมัครกันที่อำเภอหรือกิ่งอำเภอในพื้นที่ ทั้ง 15 จังหวัดแล้ว ถึง 12 ตุลาคม 2550 ที่ผ่านมาซึ่งก็ได้รับความสนใจอย่างมาก
สำหรับคณะที่ให้เข้ารับการศึกษาตามโครงการดังกล่าวนี้มีจำนวน 3 คณะ ได้แก่ คณะศึกษาศาสตร์ จำนวน 4 คน คณะรัฐศาสตร์ จำนวน 10 คน และคณะนิติศาสตร์ จำนวน 5 คน และจะดำเนินการสอบพร้อมกับนักเรียน ที่สอบโควตาภาคเหนือของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในระหว่างวันที่ 15 - 16 ธันวาคม 2550 นี้ โดยหากว่า ประสบความสำเร็จที่ชัดเจนก็จะได้ขยายจำนวนโควตาและพื้นที่มหาวิทยาลัยอื่นๆ ต่อไปด้วย
อธิบดีกรมการปกครอง กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการจัดส่งนักศึกษาชาวไทยภูเขาเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จะเป็นโอกาสดีสำหรับชาวไทยภูเขาที่จะได้มีการศึกษาที่สูงขึ้น มีโอกาสในการพัฒนาตนเอง และสามารถนำความรู้ที่ได้รับกลับไปสร้างสรรค์ประโยชน์และความเจริญแก่ท้องถิ่น อีกทั้งยังมีโอกาสมีส่วนร่วมทางสังคมและการประกอบอาชีพมากขึ้น ซึ่งจะยังผลให้คุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของชาวเขายกระดับขึ้นและเป็นการพัฒนาด้านบุคลากรในการพัฒนาชาติอย่างยั่งยืนและเท่าเทียมกันตามรัฐธรรมนูญ โดยจะช่วยลดปัญหาอื่นๆ ตามมาอีกมาก.
ข่าวจาก ไทยนิวส์
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
|
|
|
แจ้งลบกระทู้นี้
อ่าน 7389 |
|
แสดงความคิดเห็น |
โดย กรรมกรข่าว
IP: Hide ip
, วันที่ 29 ต.ค. 50
เวลา 10:24:35
|