• น่ารู้. มากกว่า 90% วัสดุในโทรศัพท์มือถือนำกลับมาแปรรูปได้ |
โพสต์โดย ตนข่าว , วันที่ 12 ก.พ. 60 เวลา 10:39:25 IP: Hide ip |
กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
ที่มา กรมควบคุมมลพิษ
แนวทางการจัดการซากโทรศัพท์มือถือและแบตเตอรี่
1. การป้องกันและลดการเกิดซากซากโทรศัพท์มือถือและแบตเตอรี่
- ผู้ผลิต พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ใช้สารอันตรายน้อยที่สุดและออกแบบให้สามารถรีไซเคิลได้ง่าย
- เลือกซื้อ เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน เพื่อยืดอายุการใช้งาน ลดการกลายเป็นซากฯ เลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสารอันตรายเป็นส่วนประกอบ
- ใช้อย่างคุ้มค่า เลือกซื้อรุ่นที่เหมาะสมกับการใช้งาน ใช้อย่างระมัดระวัง ดูแลรักษาตามคู่มือการใช้งาน ซ่อมแซม หรือให้ผู้อื่นใช้ต่อก่อนจะทิ้งเป็นซากฯ
2. การแยกทิ้ง
- ไม่ทิ้งซากฯ ปะปนกับขยะทั่วไป ไม่ถอดแยก ไม่นำซากฯ ไปเผาหรือฝังดิน หรือทิ้งลงในแหล่งน้ำ
- ทิ้งซากฯ ตามสถานที่หรือตามเวลาที่กำหนด นำซากไปทิ้งยังสถานที่หรือจุดรับทิ้งที่หน่วยงานท้องถิ่น ผู้ผลิต หรือผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือจัดไว้ให้ หรือทิ้งให้กับหน่วยงานท้องถิ่นในเขตของท่าน ตามวัน เวลาที่กำหนดสำหรับการทิ้งของเสียอันตรายชุมชน
3. การรีไซเคิล
การหมุนเวียนซากแบตเตอรี่กลับมาแปรรูปใช้ใหม่ เนื่องจากแบตเตอรี่ของโทรศัพท์มือถือนี้มีโลหะมีค่าเป็นส่วนประกอบจึงมีความคุ้มค่าที่จะสามารถนำมารีไซเคิลได้ กระบวนการในการรีไซเคิลจะนำแบตเตอรี่ไปบด
และใส่ลงไปในสารละลายเฉพาะ น้ำเสียที่เกิดขึ้นนำไปปรับสภาพให้เป็นกลาง แยกโลหะหนักที่มีออกโดยการใช้ไฟฟ้าหรือวิธีอื่นและนำโลหะหนักที่ได้ไปใช้ใหม่ส่วนที่เหลือนำไปฝังกลบ หรือนำแบตเตอรี่ไปผ่านกระบวนการถลุงในเตาหลอมเพื่อแยกโลหะมีค่ากลับมาใช้ใหม่
4. การบำบัดและกำจัดซากแบตเตอรี่
ในขั้นต้นรวบรวมซากแบตเตอรี่แล้วให้ดำเนินการคัดแยกส่วนที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ออกจากส่วนที่ต้องนำไปกำจัด และนำส่วนที่ต้องกำจัดไปดำเนินการปรับเสถียรเพื่อให้สารพิษมีความเสถียรเพิ่มมากขึ้น ไม่เกิดปฏิกิริยาหรือรั่วไหลปนเปื้อนและไม่ละลายเมื่อถูกชะล้างก่อนจะนำไปฝังกลบในสถานที่ฝังกลบแบบปลอดภัย (Secured Landfill) ซึ่งออกแบบให้สามารถป้องกันมิให้มีการรั่วไหลของสารพิษออกสู่สิ่งแวดล้อม โดยใช้วัสดุสังเคราะห์กันซึมหลายชั้นพร้อมระบบเก็บรวบรวมน้ำชะ (Leachate) และระบบตรวจสอบการรั่วซึมภายใต้กฎระเบียบและมาตรฐานที่กำหนด
ในปัจจุบันมีผู้ประกอบการรับซากโทรศัพท์มือถือและแบตเตอรี่มาผ่านกระบวนการรีไซเคิลที่มีการควบคุมมลพิษอย่างถูกต้องเพื่อนำโลหะมีค่ากลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง โดยส่งออกไปดำเนินการในต่างประเทศที่มีเทคโนโลยีชั้นสูง
ลิงก์ผู้สนับสนุน
กระทู้/ข่าว อื่นๆ ที่น่าสนใจ
|
|
|
|
แจ้งลบกระทู้นี้
อ่าน 3775 |
|
แสดงความคิดเห็น |
โดย ตนข่าว
IP: Hide ip
, วันที่ 12 ก.พ. 60
เวลา 10:39:25
|