• เด็กร้องไห้กลั้น(ไม่มีเสียง) สักพักตัวเกร็ง จนหมดสติ หน้าเขียว เกิดจากอะไร เป็นอันตรายไหม? |
โพสต์โดย ตนข่าว , วันที่ 25 ก.พ. 61 เวลา 13:41:45 IP: Hide ip |
กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
คลิปจาก MoMo Jinatsikarn
ตอนนี้ มีคลิปๆ หนึ่ง เป็นการโพสต์เตือน ให้ พ่อแม่มือให้ ให้ระวัง หลัง เหตุในคลิป คือ เด็กอายุ ประมาณ 1กว่าๆ ร้องไห้กลั้น(ไม่มีเสียง) สักพักตัวเกร็ง จนหมดสติ หน้าเขียว เหมือน ไม่หายใจ ทาง พ่อแม่ ก็ พยายามปั๊มหัวใจ และอาการก็ดีขึ้น ... เรามาหาคำตอบกันดีกว่า ว่าเกิดจากอะไร
แอดมิน ไปค้นหา ข้อมูลจากหลายที่ และได้พบว่า (ที่มาwww.amarinbabyandkids.com/parenting/baby/cry-baby/)
"อาการที่ลูกน้อยร้องไห้แล้วกลั้นหายใจ จนตาลอย ปากซีด หน้าเขียว โบราณเรียกว่าร้องจนงอหาย มีศัพท์เรียกว่า “breath-holding spells” ถ้าปล่อยให้กลั้นหายใจนานๆ ออกซิเจนจะเข้าไปหล่อเลี้ยงภายในสมองไม่เพียงพอ สังเกตง่ายๆ คือ ถ้าน้องร้องแล้วเงียบเสียงหรือไม่มีเสียงร้องออกมา อาการนี้จะเกิดขึ้นกับเด็กแรกเกิดถึงเด็กโต เมื่อเด็กเริ่มรู้จักแสดงอารมณ์ได้แล้ว โดยเฉพาะเวลาไม่ได้ดังใจ หรือถูกขัดใจ การร้องลักษณะนี้สามารถพบได้บ่อยในเด็กอายุตั้งแต่ 6 เดือนไปจนถึงอายุ 2 – 3 ขวบ หรือเมื่อเด็กเริ่มรู้จักแสดงอารมณ์ได้แล้ว โดยเฉพาะเวลาไม่ได้ดังใจ แต่หลังจากนั้นก็จะค่อยๆ หายไปเองโดยที่คุณไม่จำเป็นต้องแก้ไขอะไร เพราะการร้องกลั้นนั้นไม่มีอันตรายต่อสุขภาพร่างกายหรือสมองของลูก"
เคล็ดลับรับมือ...ลูกร้องกลั้น (รักลูก)
โดย: ทรายกุศล
หัวใจของคนเป็นพ่อแม่แทบจะสลายเลยล่ะ ค่ะ ที่เจ้าตัวน้อยวัยไม่ถึง 2 ขวบร้อง...ร้องเสียงดัง จนหน้าเขียวและนิ่งไป แม้ใคร ๆ จะบอกว่าก็แค่ร้องกลั้นน่ะ ไม่อันตรายหรอกก็ตาม
ร้องกลั้น จะพบบ่อยในลูกน้อยวัย 8 เดือน - 2 ขวบ ที่ร้องไห้แล้วหยุดหายใจไปชั่วขณะ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการปากเขียว ตัวเขียว และหมดสติไปสักพัก (ไม่เกิน 1 นาที)
โดยเกิดได้จากหลายสาเหตุค่ะ เช่น
บาดเจ็บ เกิดอุบัติเหตุที่ทำให้ลูกรู้สึกเจ็บ เช่น ประตูหนีบ ของหล่นทับ
ถูกขัดใจ อยากทำอะไร แล้วถูกคุณพ่อคุณแม่ห้ามปรามตรง ๆ
การเลี้ยงดู เพราะเจ้าตัวเล็กค้นพบว่าทำแบบนี้ทีไร คุณพ่อคุณแม่ก็ตามใจทุกที เด็กจึงคงพฤติกรรมนี้ต่อไป
แม้อาการ "ร้องกลั้น" สามารถพบได้ปกติในเด็กวัยนี้ และไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกายของลูกน้อย (ยกเว้นเด็กโรคหัวใจ) แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเป็นเรื่องที่คุณแม่จะปล่อยปละละเลยได้นะคะ
เมื่อลูกร้องกลั้น
สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำคือ...
ตั้งสติไว้ก่อน หากอยู่ในสถานการณ์ที่ลูกกำลังร้องกลั้น คุณพ่อคุณแม่ต้องทำใจให้สงบก่อนค่ะ มั่นใจได้ว่าอาการนี้ไม่ทำให้ถึงชีวิตแน่นอน แล้วก็ค่อย ๆ หาทางรับมือต่อไป คุณพ่อคุณแม่บางคนตกใจร้องจนเสียงหลง ก็ยิ่งเป็นการไปเร้าเหตุการณ์มากยิ่งขึ้น
สัมผัสช่วยได้ เมื่อมีสติแล้ววิธีที่ดีที่สุด คือการกอดสัมผัสเพื่อปลอบโยนเจ้าตัวเล็กค่ะ ซึ่งจะทำให้ลูกรู้สึกอบอุ่นใจและช่วยบรรเทาความเจ็บปวดได้
คุณพ่อคุณแม่ต้องมีมุข มุขที่ว่านี้ก็คือ การหาวิธีเบี่ยงเบนความสนใจของเจ้าตัวน้อยเวลาที่ร้องเจ็บ หรือเวลาที่อยากทำอะไรนั่นเองค่ะ ถ้าเด็กบางคนชอบเล่นก็ให้นำของเล่นที่ชอบมาให้ หรือคุณพ่อคุณแม่อาจชวนคุยชม นอกชมไม้ ไม่ควรห้ามหรือขัดใจลูกตรง ๆ อย่างเด็ดขาด
อย่าทะเลาะกันเอง พบว่าผู้ใหญ่หลายคนมักทะเลาะกันเอง ประมาณว่า "ดูสิเธอขัดใจ ลูกเลยเป็นแบบนี้" นอกจากจะไม่มีประโยชน์อะไรแล้ว ยังเป็นสิ่งที่ไม่น่าดูเลยค่ะ
ห้ามเขย่าลูก รู้ค่ะว่าคุณพ่อคุณแม่ตกใจที่เห็นเจ้าตัวน้อยเป็นลมล้มพับไป แต่การเขย่าเพื่อให้ลูกฟื้นไม่ใช่วิธีที่ดีอย่างแน่นอนค่ะ แถมยังอาจทำให้ลูกเจ็บด้วย
เด็กในวัยนี้ เป็นช่วงเวลาที่กำลังพัฒนาเรื่องของการควบคุมตนเอง ทั้งอารมณ์และพฤติกรรมการแสดงออก เพราะฉะนั้นสิ่งที่ดีที่สุดที่คุณพ่อคุณแม่สามารถทำได้ คือการเรียนรู้เพื่อทำความเข้าใจในเรื่องนี้ค่ะ
ต้องเข้าใจลูกวัยซน
เป็นความจริงที่ว่า เด็กไม่ได้เกิดมาแล้วรู้ได้เลยว่าถ้าถูกขัดใจแล้ว "ฉันจะต้องหยุดเองได้" ห้ามร้องกลั้นเด็ดขาด เพราะฉะนั้นแล้วคุณพ่อคุณแม่ต้องเป็นคนค่อย ๆ สอนลูกให้เรียนรู้สิ่งเหล่านี้ค่ะ
1. สอนทักษะสังคม เด็กวัยนี้ต้องการความช่วยเหลือ ในเรื่องของการส่งเสริมทักษะสังคมจากคนใกล้ ตัวอย่างคุณพ่อคุณแม่ที่สุดค่ะ การสั่งห้ามลูกไม่ไห้เล่นกับเด็กข้างบ้านเพราะนิสัยไม่ดี เล่นแล้วทะเลาะกัน อาจไม่ใช่เรื่องที่ดีนักสำหรับการส่งเสริมทักษะสังคมให้ลูก ลองเปลี่ยนเป็นการค่อย ๆ สอนให้ลูกเรียนรู้ถึงสิ่งเหล่านี้ เช่น เอาตุ๊กตามา 2 ตัว แล้วสอนว่าลูกจะมีวิธีแก้ความขัดแย้งอย่างไรให้ลูกจะดีกว่า
2. พ่อแม่อย่ารังแกหนู ในสายตาของคุณพ่อคุณแม่ลูกย่อมเปรียบเสมือนเจ้าหญิงเจ้าชายตัวน้อย ๆ แต่ต้องแน่ใจนะคะว่าลูกจะเป็นเจ้าหญิงเจ้าชายผู้น่ารักสำหรับคนอื่น ๆ ด้วย เพราะฉะนั้น อย่าลืมที่จะรับฟังเสียงจากคนรอบข้างถึงพฤติกรรมของเจ้าตัว เล็กบ้าง บางทีคุณพ่อคุณแม่อาจค้นพบหนทางในการแก้ปัญหาของลูกได้
3. หาความรู้อยู่เสมอ การเลี้ยงลูกเป็นทักษะอย่างหนึ่งที่ต้องหาความรู้ บวกกับการลงมือปฏิบัติค่ะ อย่าใช้ประสบการณ์ส่วนตัวเพียงอย่างเดียว แล้วบอกว่า "ฉันก็โตมาแบบนี้" การปรึกษาขอคำแนะนำจากผู้รู้เป็นสิ่งสำคัญ ที่จะช่วยให้เลี้ยงดูเจ้าตัวเล็กอย่างมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตามอาการร้องกลั้นของเด็กวัยนี้ มักจะหายได้เองภายใน 2 ขวบ ถ้าเกินกว่านี้อาจแปลว่าคุณพ่อคุณแม่รับมือลูกผิดวิธี คงต้องรีบปรึกษาคุณหมอเพื่อแก้ปัญหาแล้วล่ะค่ะ
...ขอเป็นกำลังใจให้คุณพ่อคุณแม่ทุกท่าน เลี้ยงเจ้าตัวเล็กได้อย่างมีคุณภาพนะคะ
cr http://women.kapook.com/view16173.html
ลิงก์ผู้สนับสนุน
กระทู้/ข่าว อื่นๆ ที่น่าสนใจ
|
|
|
|
แจ้งลบกระทู้นี้
อ่าน 83 |
|
แสดงความคิดเห็น |
โดย ตนข่าว
IP: Hide ip
, วันที่ 25 ก.พ. 61
เวลา 13:41:45
|