• งดงาม แม่ญิงหละปูน ในแบบไทย ณ คุ้มเจ้ายอดเรือน และคุ้มต้นแก้ว(คุ้มเจ้าราชสัมพันธ์วงษ์ลำพูน) |
โพสต์โดย ตนข่าว , วันที่ 24 ก.ย. 61 เวลา 10:02:49 IP: Hide ip |
กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
งดงาม แม่ญิงหละปูน ในแบบไทย ณ คุ้มต้นแก้วหรือคุ้มเจ้าราชสัมพันธ์วงษ์ลำพูน
ถ่ายภาพเมื่อวันที่ 23 กันยา 2561 โดย เกียรติพงษ์ ศรีธง
ประวัติ คุ้มเจ้ายอดเรือน
คุ้มเจ้ายอดเรือน ตั้งอยู่ใน อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน เป็นอาคารที่เก่าที่สุดหลังหนึ่งในเขตกำแพงเมืองลำพูน เป็นเรือนพักอาศัย ซึ่งเจ้าหลวงจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์สุดท้าย สร้างขึ้นเพื่อมอบให้แก่ชายาเจ้ายอดเรือน ชายาองค์สุดท้าย เมื่อปี พ.ศ.2470 ซึ่งมีความเก่าแก่และยังคงรักษาสภาพเดิมไว้ค่อนข้างสมบูรณ์ ประกอบด้วย อาคารเรือนไม้ ข่วง ลานดินกว้างหน้าบ้าน ต้นไม้มงคล ยุ้งข้าว บ่อน้ำและส่วนประกอบอื่น ๆ ปัจจุบันคุ้มเจ้าเรือน เปิดให้บุคคลทั่วไปได้เข้าชมมีวัตถุประสงค์ เพื่อใช้เป็นแหล่ง ศึกษาหาความรู้ด้านสถาปัตยกรรมและประวัติศาสตร์ของเมืองลำพูน เป็นการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมให้มีสภาพ สมบูรณ์ และสามารถใช้เป็นสถานที่จัดแสดงอาคารโครงสร้างบ้านเก่า สิ่งของ เครื่องใช้พื้นบ้าน และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ เจ้าผู้ครองนครลำพูน อีกทั้งเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวอีกด้วย
ประวัติ คุ้มต้นแก้วหรือคุ้มเจ้าราชสัมพันธ์วงษ์ลำพูน
คุ้มต้นแก้วหรือคุ้มเจ้าราชสัมพันธ์วงษ์ลำพูนสร้างขึ้นเมื่อปี 2455ในสมัยเจ้าหลวงจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์ที่ 10 ( พ.ศ.2454 – 2486) ซึ่งตรงกับรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ เป็นเรือนพักอาศัยของเจ้าราชสัมพันธวงษ์กับเจ้าหญิงส่องหล้าสัมพันธวงษ์ และบุตรธิดา ซึ่งเจ้าหญิงส่องหล้าเป็นธิดาของเจ้าอินทยงยศโชติ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 9 และเจ้าแม่รถแก้ว เจ้าหญิงส่องหล้าเป็นน้องของเจ้าหญิงมุกดา และเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์ที่ 10 เจ้าหญิงส่องหล้าสมรสกับเจ้าราชสัมพันธวงษ์ ( พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่ ) มีบุตรธิดารวมกัน 9 คนได้แก่ เจ้าหญิงรวงคำ เจ้าสุรกัณทร เจ้าวรดิษฐ์ เจ้าฤทธิ์วงษ์ เจ้าพงศ์สว่าง เจ้าสว่างสวัสดิ์ เจ้าหญิงสรวงแก้ว เจ้าหญิงฤทธิดา และเจ้ามานุรัตน์
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2488 ) กลุ่มพ่อค้าชาวจีนในลำพูน ได้ซื้อคุ้มเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูนและได้ใช้เป็นสถานที่พบปะพูดคุยกับกลุ่มพ่อค้าชาวจีนด้วยกันและใช้อาคารสถานที่เปิดสอนภาษาจีนเป็นหลักและเปิดสอนวิชาอื่น ๆ เช่นวิชาคำนวณ ตั้งแต่ประถมปีที่ 1 – 4 ชื่อโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง ( เจริญและเที่ยงธรรม ) เปิดสอนได้ประมาณ 4 ปี จนถึงปีพ.ศ. 2492จึงได้ปิดกิจการด้วยเหตุผลทางการเมือง 3 ปีต่อมาได้เปลี่ยนชื่อจากโรงเรียนหวุ่นเจิ้งเป็น โรงเรียนมงคลวิทยา และเปลี่ยนหลักสูตรการสอนตามแบบกระทรวงศึกษาธิการและเลิกสอนภาษาจีน ในช่วงแรกโรงเรียนมงคลวิทยาเปิดทำการสอนในสภาพที่ลำบาก จนกระทั่งครูเซี้ยง หรือนายถาวร เลาหกุล ได้เข้ามาดำเนินกิจการและบริหารต่อโดยเช่าอาคารสถานที่จากสมาคมชาวจีนในลำพูนเดือนละ 200 บาท และเจริญขึ้นตามลำดับจึงได้ขยายกิจการและซื้อที่ดินสร้างโรงเรียนแห่งใหม่บริเวณทุ่งนาบ้านสันมหาพน จำนวน 5 ไร่ เปิดทำการเรียนการสอนแห่งใหม่ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2529 เป็นต้นมา ต่อมาถูกทิ้งรกร้างได้มีนักธุรกิจได้มาเช่าอาคารเปิดร้านอาหารคุ้มต้นแก้ว, ช่อชมวงและปิดกิจการไปจนกระทั่งสถานีวิทยุอสมท จังหวัดลำพูน FM 96.5 MHz.ได้ขอเช่าพื้นที่คุ้มเจ้าราชสัมพันธวงษ์เป็นอาคารที่ทำการส่งกระจายเสียงจนกระทั่งหมดสัญญาลงเมื่อปี พ.ศ.2548
ที่มา chipmunks
ลิงก์ผู้สนับสนุน
กระทู้/ข่าว อื่นๆ ที่น่าสนใจ
|
|
|
|
แจ้งลบกระทู้นี้
อ่าน 3307 |
|
แสดงความคิดเห็น |
โดย ตนข่าว
IP: Hide ip
, วันที่ 24 ก.ย. 61
เวลา 10:02:49
|