กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
ประวัติต้นขี้เหล็ก(ลำพูน) และ ต้นยางนา(สารภี เชียงใหม่)
ปี พ.ศ.2443, พ.ศ.2448 และในปี พ.ศ.2454 ทางราชการได้นำต้นยางมาให้ชาวบ้านช่วยกันปลูกตลอดสองข้างทาง เพื่อความร่มรื่นและสวยงาม ส่วนในเขตเมืองลำพูนได้ปลูกต้นขี้เหล็ก โดยต้นไม้ที่ปลูกตลอดเส้นทางนี้มีร่วมสองพันต้น มีการปลูกเป็นแถวอย่างมีระเบียบ มีระยะห่างกันระหว่างต้นประมาณ 10 ถึง 20 วา นับเป็นเอกลักษณ์คู่ถนนสายนี้ตลอดมาร่วมร้อยกว่าปีแล้ว
เจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐ์ศักดิ์ (เชยกัลยาณมิตร) ข้าหลวงสิทธิ์ขาดมณฑลพายัพซึ่งผู้ที่ดำรงตำแหน่งนี้เป็นคนแรก ได้นำนโยบายที่เรียกว่า "น้ำต้อง กองต๋ำ"อันหมายถึงนโยบายในการพัฒนาคูคลองร่องน้ำการตัดถนนหนทางและการปรับปรุงถนนหลวงเพื่อให้ความร่มรื่นแก่ชาวบ้านที่สัญจร ไปมาจึงได้มีการกำหนดให้ทางหลวงแต่ละสายปลูกต้นไม้ไม่ซ้ำกันคือ ถนนในตัวเมืองเชียงใหม่ ให้ปลูกต้นไม้เมืองหนาว ถนนรอบคูเมือง ให้ปลูกต้นสักและต้นสนถนนสายเชียงใหม่ - ดอยสะเก็ด ให้ปลูกต้นประดู่ ถนนสายเชียงใหม่ - หางดงให้ปลูกต้นขี้เหล็ก ถนนสายเชียงใหม่ - สารภี ให้ปลูกต้นยางและเมื่อเข้าเขตลำพูนให้ปลูกต้นขี้เหล็ก
กฏหมายที่คุ้มครอง ต้นยางนา และต้นขี้เหล็ก (ที่มา baania.com)
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ได้ประกาศให้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 106 (ถนนเชียงใหม่-ลำพูน) เป็นพื้นที่ใช้มาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมอาศัยอำนาจตามมาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 เรื่องกำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในท้องที่ตำบลวัดเกต, หนองหอย, เมืองเชียงใหม่, หนองผึ้ง, ยางเนิ้ง และสารภี ของจังหวัดเชียงใหม่ และตำบลอุโมงค์ จังหวัดลำพูน พ.ศ.2558 เมื่อวันที่10 มีนาคม 2558 ซึ่งจะบังคับใช้เป็นเวลา 5 ปี
โดยในสาระสำคัญจะครอบคลุมขอบเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมบริเวณ จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดลำพูน วัดจากแนวเส้นศูนย์กลางของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 106 (ถนนสายเชียงใหม่-ลำพูน) ออกไปทั้งสองด้าน ด้านละ 40 เมตรโดยเริ่มตั้งแต่ลำเหมืองพญาคำ อำเภอเมืองเชียงใหม่ ถึงสุดเขตตำบลอุโมงค์อำเภอเมืองลำพูน ห้ามการกระทำหรือการประกอบกิจกรรมต่างๆ ที่จะก่อให้เกิดอันตรายต่อต้นยางนาและต้นขี้เหล็ก กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารตามความเหมาะสมในแต่ละบริเวณ แต่งตั้งคณะกรรมการกำกับและติดตามผลการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมของพื้นที่ รวมทั้งส่งเสริมและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
มีต้นยางนาที่เดิมมีมากกว่า2,000ต้น มีอายุเกิน100ปีแต่ขณะนี้เหลือเพียงแค่ 995 ต้นและอยู่ในภาวะวิกฤติมากจากการพัฒนาการบุกรุกจากปรับปรุง การติดป้ายโฆษณาตามต้นไม้เป็นต้น ส่วนต้นขี้เหล็กในพื้นที่จังหวัดลำพูนเหลือเพียง138ต้นเท่านั่น
ลิงก์ผู้สนับสนุน
กระทู้/ข่าว อื่นๆ ที่น่าสนใจ
|
|
|
|