ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
ยืนยัน 5 ปีที่ผ่านมา รัฐบริหารหนี้มีประสิทธิภาพ จัดเก็บรายได้ดีต่อเนื่อง เดินการกรอบวินัยการเงินการคลังอย่างเคร่งครัด
ติดตามเพิ่มเติมได้ที่
👉🏻 กรณีสื่อออนไลน์ทวิตข้อความของ นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ อดีตรองนายกฯ ฝ่ายเศรษฐกิจ ที่กล่าวถึงการใช้จ่ายของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ว่า “ตัวเลขการใช้เงินภาษีของรัฐบาล คสช. ช่วงปีงบประมาณ 2561 (ต.ค.60 - ก.ย.61) รัฐขอกู้เงิน 450,000 ล้านบาท เพราะรายได้ไม่พอรายจ่าย สุดท้าย รัฐปิดหีบไม่ลง ต้องกู้อีก 100,358.10 ล้านบาท ส่วนของปีนี้ได้ขอกู้ไว้ 450,000 ล้านบาทเช่นกัน อีก 2 เดือนจะปิดหีบงบประมาณ
✅✅ ประเด็นดังกล่าวทำให้เกิดข้อวิจารณ์จากโซเชียลมีเดียในประเด็นข้อมูลการใช้เงินภาษี การบริหารของรัฐบาลที่มักใช้การกู้เงินและจัดเก็บภาษีประชาชนเป็นหลัก และมีการใช้งบประมาณจำนวนมาก
📣 นายบุญชู ประสพกิจถาวร โฆษกสำนักงบประมาณ ชี้แจงว่า ความจำเป็นในการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในช่วงปี 2557 - 2558 เศรษฐกิจไทยประสบกับภาวะชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง เป็นผลมาจากเศรษฐกิจ โลกที่ชะลอตัว ส่งผลให้ภาคการส่งออกของไทยอยู่ในภาวะหดตัว ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนมีอัตราการ ขยายตัวลดลงเนื่องจากความไม่มั่นใจในสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ ประกอบกับการผลิตภาคเกษตรประสบ ปัญหาภัยแล้งและราคาผลผลิตการเกษตรในตลาดโลกตกต่ำ ทำให้กลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของ ประเทศ ทั้งภาคการส่งออก การลงทุนภาคเอกชน และการบริโภคภายในประเทศประสบปัญหา ไม่สามารถ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เดินหน้าต่อไปได้จากสถานการณ์ดังกล่าวเพื่อมิให้ประชาชนต้องได้รับผลกระทบจาก การที่รัฐบาลอาจจะมีมาตรการทางภาษีเพื่อให้รัฐบาลมีรายได้มาใช้จ่ายในการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุน อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง อาทิ รถไฟทางคู่และรถไฟฟ้า เพื่อ สร้างความเชื่อมั่นให้ภาคเอกชนได้มีการต่อยอดการลงทุนจากภาครัฐ ซึ่งจะส่งผลให้เศรษฐกิจมีการฟื้นตัวและ ขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง
✅✅ รัฐบาลจึงมีความจำเป็นต้องจัดทำงบประมาณขาดดุล โดยปี 2559 ขาดดุลจำนวน 390,000 ล้านบาท ปี 2560 จำนวน 552,921.7 ล้านบาท และปี 2561 จำนวน 550,358.1 ล้านบาท ซึ่งการ ดำเนินนโยบายการคลังแบบขาดดุลดังกล่าว ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยมีการขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง
👉🏻 กรอบการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลและกรอบการบริหารหนี้สาธารณะ กรอบการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลการกู้เงินของรัฐบาลในแต่ละปีงบประมาณเพื่อชดเชยการขาดดุล งบประมาณหรือเมื่อมีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ จะต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 มาตรา 11 วรรค 2 และพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 21 ที่กำหนดให้การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณต้องไม่เกิน (1) ร้อยละ 20 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปีและงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม กับอีก (2) ร้อยละ 80 ของงบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้สำหรับชำระคืนเงินต้น ในช่วงปีงบประมาณ 2558 - 2562 มีการตั้งงบประมาณและการกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ
👉🏻 กรอบการบริหารหนี้สาธารณะ สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) จะต้องอยู่ภายใต้กรอบในการบริหาร หนี้สาธารณะตามมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ที่กำหนดไว้ไม่เกิน ร้อยละ 60 ของ GDP
👉🏻 ระดับหนี้สาธารณะต่อ GDP อยู่ในระดับต่ำ และอยู่ภายใต้กรอบการบริหารหนี้สาธารณะ การจัดทำงบประมาณขาดดุลของรัฐบาล ยังอยู่ภายใต้กรอบตามพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 และพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
✅✅ นอกจากนี้ การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณและสถานะหนี้สาธารณะยังอยู่ในกรอบ การบริหารหนี้สาธารณะ ภายใต้พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP อยู่ในระดับที่ลดลง จากร้อยละ 43.33 ณ สิ้นปีงบประมาณ 2557 เป็นร้อยละ 42.02 ในปัจจุบัน และระดับหนี้สาธารณะดังกล่าวยังคงต่ำกว่าร้อยละ 60 ของ GDP ตามกรอบการกู้เงินที่กำหนดไว้ หนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้น มีจำนวนน้อยกว่าวงเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณของรัฐบาล แม้ว่ารัฐบาลจะจัดทำงบประมาณแบบขาดดุล โดยมีวงเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณตั้งแต่ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 – 2562 เป็นจำนวนรวม 2,193,279 ล้านบาท แต่เมื่อเปรียบเทียบกับ การเพิ่มขึ้นของหนี้สาธารณะแล้วจะพบว่า หนี้สาธารณะมีจำนวนเพิ่มขึ้น 1,288,687 ล้านบาท ต่ำกว่าวงเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ซึ่งเป็นผลจาก
💥💥 สำนักงบประมาณ ยืนยันว่า ตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมารัฐบาล ได้บริหารการชำระหนี้อย่างมีประสิทธิภาพ การจัดเก็บรายได้
ดีขึ้น และการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นไปตามกรอบวินัยการเงินการคลังอย่างเคร่งครัด
ลิงก์ผู้สนับสนุน
กระทู้/ข่าว อื่นๆ ที่น่าสนใจ
|
|