• สำนักศิลปากรที่7(ชม.)พบโครงกระดูกคน อายุ1300ปี เกี่ยวเนื่องกับนครหริภุญัย |
โพสต์โดย ตนข่าว , วันที่ 30 ก.ย. 62 เวลา 21:28:33 IP: Hide ip |
กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
ภาพและบทความโดย กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่
สืบเนื่องจากเมื่อปี พ.ศ.2555 กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ ได้เคยทำการขุดค้นศึกษาพื้นที่บริเวณใกล้เคียงกึ่งกลางเมืองโบราณเวียงท่ากาน อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ พบโครงกระดูกมนุษย์โบราณ ทั้งสิ้นจำนวน 14 โครง และโครงกระดูกม้า อีกจำนวน 1 โครง จากการศึกษาในครั้งนั้น ทำให้ทราบว่าโครงกระดูกดังกล่าวเป็นการปลงศพโบราณอย่างมีรูปแบบ โดยจะหันหัวไปทางทิศตะวันตกและทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ในท่านอนหงายงอเข่า การศึกษาค่าอายุทางวิทยาศาสตร์พบว่า โครงกระดูกมนุษย์โบราณดังกล่าวมีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13 ซึ่งร่วมสมัยแรกเริ่มการเกิดขึ้นของรัฐหริภุญไชย
เพื่อเป็นการไขปริศนาเรื่องราวของผู้คนโบราณที่เวียงท่ากานให้กระจ่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น ในปี พ.ศ.2562 กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ จึงได้ดำเนินการขุดค้นศึกษาทางโบราณคดีเพิ่มเติม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
1.เพื่อศึกษาอายุสมัยของโครงกระดูกมนุษย์โบราณในพื้นที่เมืองโบราณเวียงท่ากานด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ และ 2.เพื่อศึกษาสารพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอ (DNA) ของโครงกระดูกมนุษย์โบราณ
ซึ่งการขุดค้นศึกษาครั้งนี้จะช่วยไขปริศนา เกี่ยวกับช่วงระยะเวลาและรูปแบบพิธีกรรมปลงศพของผู้คนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในเวียงท่าในอดีตให้มีความชันเจนยิ่งขึ้น นอกจากนี้การศึกษาสารพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอ (DNA) ของโครงกระดูกมนุษย์โบราณเหล่านี้ ยังสามารถให้คำตอบเบื้องต้นเกี่ยวกับพัฒนาการของผู้คน และสามารถนำไปวิเคราะห์หาความเชื่อมโยงเกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์และการเคลื่อนย้ายของกลุ่มชน ก่อนที่จะมีพัฒนาการก่อเกิดเป็นบ้านเมืองอย่างรัฐหริภุญไชยได้อีกด้วย
-- ลักษณะการปลงศพโบราณที่เวียงท่ากาน --
-- ตามที่กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ได้มีโครงการขุดค้นศึกษาทางโบราณคดีในพื้นที่เมืองเวียงท่ากาน อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ พบโครงกระดูกมนุษย์โบราณจำนวนไม่ต่ำกว่า 40 โครง สามารถกำหนดอายุได้ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13 - 15 ร่วมสมัยวัฒนธรรมทวารวดีในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย นั้น
-- จากการขุดค้นครั้งนี้ พบว่าโครงกระดูกทั้งหมดมีการปลงศพในลักษณะท่านอนหงายงอเข่า ซึ่งถือเป็นการจัดวางศพในลักษณะพิเศษที่สามารถพบได้ยากในช่วงระยะร่วมสมัยวัฒนธรรมทวารวดี ซึ่งปัจจุบันมีการค้นพบสุสานที่มีอายุร่วมสมัยทวารวดีและมีรูปแบบการปลงศพแบบนี้อีกที่ คือ แหล่งโบราณคดีดงแม่นางเมือง อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์
-- การค้นพบสุสานโบราณที่เวียงท่ากานครั้งนี้ จึงเป็นการค้นพบครั้งสำคัญมาก เนื่องจากมีการค้นพบโครงกระดูกร่วมสมัยวัฒนธรรมทวารวดี ที่มีจำนวนมากที่สุดในประเทศไทย ที่มีลักษณะท่าทางการปลงศพในรูบแบบพิเศษอีกด้วย
ลิงก์ผู้สนับสนุน
กระทู้/ข่าว อื่นๆ ที่น่าสนใจ
|
|
|
|
แจ้งลบกระทู้นี้
อ่าน 9996 |
|
แสดงความคิดเห็น |
โดย ตนข่าว
IP: Hide ip
, วันที่ 30 ก.ย. 62
เวลา 21:28:33
|