กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
ฝุ่นขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ PM 2.5 หากจะพูดภาษาบ้านๆ ก็คือ ฝุ่นละเอียด กลายเป็นชื่อที่คุ้นหูคนไทยมากขึ้น มีลักษณะเป็นเขม่าควัน หรือไอเสียจากการเผาเชื้อเพลิงต่างๆ ซึ่งเป็นอันตรายเพราะสามารถเข้าสู่ร่างกายของคนเราทางการหายใจได้มากกว่าฝุ่นขนาดใหญ่
สาเหตุการเกิด PM 2.5
หลายสถาบันวิจัยทั้งไทยและต่างประเทศต่างวิเคราะห์ วิจัยสาเหตุของการเกิด PM2.5 ที่ส่วนใหญ่เกิดจากการเผาไหม้ ทั้งจากเครื่องยนต์ของยานพาหนะต่างๆ และการเผาวัสดุต่างๆ ข้อมูลจากกรมมลพิษ และกระทรวงพลังงาน* พบว่า สาเหตุของ PM2.5 ในประเทศไทยมาจาก ‘การเผาในที่โล่ง’ เป็นแหล่งกำเนิดของ PM2.5 มากที่สุด ตามด้วยอุตสาหกรรมการผลิต และการขนส่ง โดยภาคการผลิตไฟฟ้านั้นเป็นแหล่งกำเนิด PM2.5 ในอันดับที่ 4
ต้นตอใหญ่ PM2.5 ในยุโรปมาจากเครื่องยนต์ดีเซล
สำหรับในต่างประเทศ พบว่ามาจากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ โดยเฉพาะเครื่องยนต์ดีเซลเป็นหลัก ข้อมูลจากบทความ เรื่อง “Rising air pollution levels a ‘public health emergency, says WHO” ของ Financial Times ฉบับวันที่ 27 กันยายน 2559 กล่าวถึงงานวิจัยของ WHO(World Health Organization) ระบุว่า มลภาวะทางอากาศนอกอาคาร (outdoor pollution) เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตก่อนวัยอันควรมากถึง 3 ล้านคน โดยประเทศในทวีปยุโรป เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี มีค่า PM2.5 เกินเกณฑ์กำหนดของ WHO ซึ่งสาเหตุเกิดจากหลายๆ ประเทศในยุโรปสนับสนุนการใช้รถยนต์ดีเซล ซึ่งตรงข้ามกับประเทศแถบอเมริกาที่แทบไม่มีการใช้รถยนต์ดีเซล เป็นผลให้ค่า PM2.5 อยู่ในเกณฑ์กำหนดของ WHO
ขณะที่บทความ “New study links air pollution and early death in the U.K.” ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Environment Science and Technology ของ Massachusetts Institute of Technology - MIT เดือนเมษายน 2555 ระบุว่า อังกฤษ มีควันเสียจากรถยนต์และรถบรรทุกทำให้มีผู้เสียชีวิตก่อนวันอันควรสูงที่สุด คือ 3,300 คนต่อปี รองลงมาเป็นควันเสียจากการเดินเรือและการสัญจรทางอากาศ คือ 1,800 คนต่อปี โดยเฉพาะในลอนดอน ซึ่งเป็นศูนย์รวมของสนามบินและการเดินทางทางอากาศ ในรายงานยังระบุด้วยว่า มลภาวะที่ปล่อยจากโรงไฟฟ้าซึ่งส่วนใหญ่ตอนเหนือของประเทศมีผลกระทบต่อประชาชนชาวอังกฤษน้อยที่สุด ขณะที่ควันเสียจากรถยนต์และรถบรรทุกส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนอังกฤษที่สุด เพราะอยู่ใกล้ชิดในการดำรงชีวิตประจำวัน
ปัญหาหมอกควันในจีนมาจากครัวเรือนมากที่สุด
ส่วนในทวีปเอเชีย อย่างประเทศจีนที่ขึ้นชื่อว่ามีมลภาวะทางอากาศสูง บทความเรื่อง “Household fuels exceed power plants, cars as smog source in Beijing” นำเสนองานวิจัยของมหาวิทยาลัย Princeton และมหาวิทยาลัย California Berkeley เมื่อเดือนมิถุนายน 2559 ระบุว่า ควันพิษในกรุงปักกิ่ง ที่รู้จักกันในชื่อว่า smog รวมถึงฝุ่นละอองขนาดเล็กในบรรยากาศ เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงเพื่อใช้ประกอบอาหารหรือให้ความร้อนในครัวเรือน มากกว่าจากรถยนต์และโรงไฟฟ้ารวมกัน โดยเฉพาะในฤดูหนาว เพราะการใช้เชื้อเพลิงในการเผาไหม้เพื่อหุงต้มอาหารและให้ความร้อนในครัวเรือน ไม่มีอุปกรณ์ป้องกันไม่ให้เกิดมลภาวะแบบโรงไฟฟ้า รถยนต์ และโรงงาน
PM2.5 ของไทยส่วนใหญ่เกิดจากการเผาวัชพืช
ในขณะที่ เมื่อมองย้อนกลับมาดูที่ประเทศไทย ผลการศึกษาดังกล่าวสอดคล้องกับกราฟแสดงผลของกรมควบคุมมลพิษเอง ที่แสดงให้เห็นว่า ในช่วงเวลาต้นปี ซึ่งมักจะเกิดไฟป่าทางภาคเหนือ ปริมาณฝุ่น PM2.5 จะเพิ่มขึ้นมากกว่าค่ามาตรฐานในบรรยากาศของประเทศไทยที่กำหนดไม่เกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรต่อวัน ในขณะที่ ช่วงเวลาปกติ หรือช่วงเวลาที่ไม่เกิดไฟป่า ค่า PM2.5 ก็จะกลับมาอยู่ในระดับต่ำ และยิ่งไปกว่านั้น การตรวจวัดคุณภาพอากาศที่แม่เมาะในช่วงเวลาปกติ คุณภาพดีกว่าในเขตเมืองของกรุงเทพฯ ด้วย
ที่มา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
www.egat.co.th/index.php
ลิงก์ผู้สนับสนุน
กระทู้/ข่าว อื่นๆ ที่น่าสนใจ
|
|
|
|