• 29ก.พ.63 พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่ม1ราย เป็น หนุ่มพนง.ขาย วัย 21ปี |
โพสต์โดย ตนข่าว , วันที่ 29 ก.พ. 63 เวลา 14:38:13 IP: Hide ip |
กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
วันนี้ 29 ก.พ.63 น.พ.สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ว่า ในวันนี้ พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มอีก 1 คน เป็นชายไทย อายุ 21 ปี มีอาชีพค้าขายเกี่ยวข้องกับคนต่างชาติ มีอาการไข้และไอ รักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลเอกชน
ส่วนสถานการณืต่างประเทศพบว่า การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ COVID-19 (โควิด-19)ในเกาหลีใต้ ที่พบผู้ติดเชื้อรายใหม่สูงต่อเนื่องว่า ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคติดต่อแห่งชาติเกาหลีใต้แถลง พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ในเกาหลีใต้ เพิ่มอีก 594 คน ทำให้ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 จนถึงช่วงประมาณ 13.00 น. ของวันเสาร์ที่ 29 ก.พ. ตามเวลาในไทย ปรับเพิ่มเป็น 2,931 คน และมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 4 ราย ทำให้มีผู้เสียชีวิตอยู่ที่ 17 รายแล้ว
ราชกิจจานุเบกษา วันที่ 29 ก.พ.2563 ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 3) พ. ศ. 2561
โดยที่เป็นการสมควรให้มีการประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) เป็นโรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อพ. ศ. 2556 เพื่อประโยชน์ในการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่ออันตรายอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 วรรคหนึ่งและมาตรา 6 (1 ) แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อพ. ศ. 2556
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยคำแนะนำของคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติจึงออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า“ ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 3 ) พ. ศ. 2563 ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไปข้อ 3ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (14 ) ของข้อ 1 แห่งประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตรายพ. ศ. 2554 (14) โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) มีอาการไข้ไอเจ็บคอหอบเหนือยหรือมีอาการของโรคปอดอักเสบในรายที่มีอาการรุนแรงจะมีอาการระบบทางเดินหายใจล้มเหลวและอาจถึงขั้นเสียชีวิต”
ประกาศ ณ วันที่ 26 กุมภาพันธ์พ. ศ. 2563
อนุทิน ชาญวีรกูล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
‘โรคติดต่ออันตราย’
‘โรคติดต่ออันตราย’ (หรืออย่างน้อยเป็น ‘โรคระบาด’) ตาม พ.ร.บ. ฉบับนี้แล้ว คำสั่งต่างๆ ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจะกลายเป็นกฎหมายที่ทุกคนต้องปฏิบัติตาม และหากไม่ให้ความร่วมมือหรือมีผู้ขัดขวางการทำงาน ก็จะมีความผิดทางอาญาด้วย เหมือนกับการประกาศภาวะฉุกเฉินของฝ่ายความมั่นคง ที่จะมีบางมาตรการกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชน กล่าวคือ
1.การเฝ้าระวังโรคจะทันเวลามากขึ้น จากเดิมที่ไม่มีกรอบระยะเวลาในการรายงานผู้ป่วยชัดเจน แต่เมื่อมีการประกาศเป็นโรคติดต่ออันตรายแล้ว ผู้ที่พบผู้ป่วย (‘ผู้ที่เป็นหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็น’) จะต้องรายงานต่อ ‘กรมควบคุมโรค’ ภายใน 3 ชั่วโมง ยกเว้นมีเหตุสุดวิสัย โดยผู้ที่พบผู้ป่วยในกฎหมายจะมี 4 ประเภทหลัก ได้แก่ เจ้าบ้าน/แพทย์ผู้รักษา สถานพยาบาล ผู้ชันสูตร (ห้องปฏิบัติการ) และสถานประกอบการ
ยกตัวอย่างแพทย์ผู้รักษา เมื่อเจอผู้ป่วยที่มีประวัติเสี่ยง (เข้าเกณฑ์สอบสวนโรค หรือ Patient Under Investigation: PUI) เข้ามาตรวจรักษา ก็จะต้องรายงานต่อกรมฯ ให้ทันเวลา ส่วนเจ้าบ้านกับสถานประกอบการ เช่น โรงงาน โรงแรม (พบผู้ป่วยที่เป็นนักท่องเที่ยว) สามารถแจ้งผ่าน ‘สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ/จังหวัด’ ซึ่งเป็นหน่วยงานควบคุมโรคในพื้นที่ แล้วหน่วยงานนั้นๆ จะส่งต่อกรมฯ อีกทีภายใน 1 ชั่วโมง
2.การป้องกันและควบคุมโรคระดับบุคคลจะเข้มงวดขึ้น เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ (จพต.) จะสามารถสั่ง (1) การตรวจ/รักษา/ส่งตรวจ รวมถึงการแยกกัก/กักกัน/คุมไว้สังเกต (2) การฉีดวัคซีน (3) การส่งตรวจและการจัดการศพหรือซากสัตว์ (4) การกำจัดโรคและปรับปรุงสุขาภิบาล (5) การกำจัดสัตว์/แมลง (6) การห้ามการกระทำที่ไม่ถูกสุขลักษณะ (7) การห้ามบุคคลเข้า-ออกสถานที่ และ (8) การเข้าไปในสถานที่เพื่อควบคุมโรคได้
ยกตัวอย่าง การแยกกักผู้ป่วย (Case Isolation) จนกว่าผลตรวจเชื้อจะเป็นลบ โดยที่ผ่านมาทางการแพทย์ถือเป็นขั้นตอนของการดูแลรักษาและผู้ป่วยก็ให้ความยินยอม (เป็นสิทธิ์ผู้ป่วย) ทว่าเมื่อมีการประกาศเป็นโรคติดต่ออันตราย ผู้ป่วยจะปฏิเสธไม่ได้ หรือการกักกันผู้สัมผัส (Contact Quarantine) ที่จะต้องพักตัวอยู่ที่บ้านจนกว่าจะพ้นระยะฟักตัวของโรคที่นานที่สุด (ในกรณีโรคโควิด-19 คือ 14 วัน) ก็จะต้องดำเนินการอย่างจริงจัง
3.การป้องกันและควบคุมโรคระดับชุมชนจะมีกฎหมายรองรับ เพราะขณะเดียวกันกฎหมายจะให้อำนาจผู้ว่าราชการจังหวัดใน (1) การปิดตลาด ร้านอาหาร โรงงาน โรงภาพยนตร์ โรงเรียน/มหาวิทยาลัย หรือสถานที่อื่น (2) การให้ผู้ป่วยหยุดทำงาน และ (3) การห้ามผู้ป่วยเข้าไปในสถานที่ชุมชน เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อในที่สาธารณะ เหมือนกับการสั่งปิดตลาดค้าปลีกอาหารทะเลในเมืองอู่ฮั่น หรือในอนาคตถ้ามีการระบาดในโรงเรียนก็จะสามารถสั่งปิดชั่วคราวได้
โดยสรุปประเทศไทยมีการรับมือการระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งเป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขอย่างเป็นระบบ
แต่การประกาศให้โรคนี้เป็น ‘โรคติดต่ออันตราย’ ถือเป็นการใช้เครื่องมือทาง ‘กฎหมาย’ ในการควบคุมและป้องกันโรค ซึ่งผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นคือสามารถควบคุมการระบาดของโรคได้ แต่ก็ต้องแลกมาด้วยการจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน ซึ่งกรมควบคุมโรคและรัฐบาลจะต้องมีความโปร่งใสหากมีการบังคับใช้มาตรการที่เกี่ยวข้อง
ที่มา https://thestandard.co/corona-virus-dangerous-contagious-disease/
ลิงก์ผู้สนับสนุน
กระทู้/ข่าว อื่นๆ ที่น่าสนใจ
|
|
|
|
แจ้งลบกระทู้นี้
อ่าน 13451 |
|
แสดงความคิดเห็น |
โดย ตนข่าว
IP: Hide ip
, วันที่ 29 ก.พ. 63
เวลา 14:38:13
|