• นายกฯ ประกาศ สถานการณ์ฉุกเฉิน ทั่วราชอาณาจักรไทย ตั้งแต่ 26มีนา-30เมษา63 |
โพสต์โดย ตนข่าว , วันที่ 25 มี.ค. 63 เวลา 14:20:25 IP: Hide ip |
กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้

พล.อประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ชี้แจงเกี่ยวกับการออกประกาศใช้พ.ร.ก.การบริหาราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 เพื่อยกระดับการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
โดยประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ทั่วราชอาณาจักรไทย ตั้งแต่ 26มีนา-30เมษา63 เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
ส่วนข้อกำหนด ต่างๆ จะประกาศออกมา ต่อไป โดยจะเลือกใช้ประกาศ เท่าที่จำเป็น ตามคำแนะนำของ นักวิชาการการแพทย์ เพื่อ สุขภาพของประชาชน และย้ำ ประชาชนยังสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ แต่อาจจะไม่สะดวกดังเดิม แต่เพื่อความอยู่รอด
รัฐบาลขอให้วางใจในระบบสาธารณะสุขของประเทศ และ ให้ความร่วมมือกับรัฐบาล และขออย่างเชื่อข่าวลือ ไม่ทราบแหล่งที่มา
เครดิต PR.Thailand
------------------------------
หลังนายกแถลงการณ์ รองวิษณุมาขยายความซ้ำเกี่ยวกับมาตรการตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ตามข้อกำหนดฉบับที่ 1 เมื่อเวลา 16:00 น. ณ ทำเนียบรัฐบาล ดังนี้
A ปิดประเทศไหม??
B ยังไม่ปิดแต่ห้ามคนต่างชาติเข้ามาในประเทศ ยกเว้นคนไทย
Aปิดเมืองไหม??
B ยังไม่ปิดเมือง แต่ไม่สนับสนุนให้เดินทาง ถ้าเดินทางจะมีการตรวจสอบ ต้องเว้นที่นั่งอย่างน้อย 1 เมตร มีโทรศัพท์มือถือสำหรับโหลดแอพ ตรวจอุณหภูมิตลอดทาง สวมหน้ากากอนามัย มีเจลล้างมือ หากตรวจพบภาวะเสี่ยงจะส่งไปกักกันทันที
A ปิดบ้านไหม??
B ยังไม่ปิด แต่กึ่งๆ ปิดสำหรับคน 3 ประเภท คือ อายุ 70 ปีขึ้นไป ผู้มีโรคประจำตัว และเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี
A ประกาศเคอร์ฟิวไหม??
B ยังไม่ประกาศเคอร์ฟิว ยังออกจากบ้านได้ปกติ ยกเว้นบุคคล 3 ประเภทข้างต้น
รัฐสนับสนุนให้เปิดและขอร้องอย่าปิด เช่น โรงงานผลิต โรงพยาบาล ร้านขายยา ธนาคาร ATM ร้านอาหารแต่ซื้อกลับบ้าน ห้างเปิดเฉพาะซุปเปอร์มาร์เก็ต อาหาร ยา สิ่งของจำเป็น การบริการขนส่งสินค้า การซื้อหาอาหารได้ปกติ ห้ามกักตุน สถานที่ราชการเปิดปกติ
เพื่อยกระดับการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
จากที่ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้แถลงเมื่อวานนี้ (24 มี.ค.63) ว่า รัฐบาลเตรียมประกาศใช้พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ระยะที่ 1 เพื่อแก้ไขการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในวันที่ 26 มีนาคม 25663 ซึ่งจะได้พิจารณาว่าทำอย่างไรที่จะลดการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสในพื้นที่ต่าง ๆ อาจเป็นการขอความร่วมมือ ความเข้มข้นขึ้นอยู่กับความร่วมมือของประชาชน การดำเนินการต่าง ๆ ไม่ต้องการให้ใครเดือดร้อน แต่เป็นสถานการณ์ที่มีความจำเป็นต่อสุขภาพของประชาชนโดยรวม
มีการยกระดับการทำงานของศูนย์โควิด-19 เป็นศูนย์บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ในการแก้ปัญหาการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 หรือเรียกว่า ศอฉ.โควิด-19 มีคณะทำงานสอดประสานกัน มีปลัดกระทรวงแต่ละภารกิจเป็นหัวหน้าส่วนงานรับผิดชอบ ติดตามประกาศมาตรการที่ได้ออกไปแล้วเดิม เพื่อนำข้อมูลปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมกับสถานการณ์ รวมทั้งเสนอมาตรการเพิ่มเติมเข้ามาที่ ศอฉ. เพื่อให้นายกรัฐมนตรีได้พิจารณา เพราะอำนาจทั้งหมดจะมาอยู่ที่นายกรัฐมนตรี เพื่อให้เกิดการบูรณาการอย่างแท้จริงในการทำงานดังกล่าว จะมีการประชุมกันทุกเช้า เวลาประมาณ 09.30 น.
ขอให้ประชาชนร่วมมือตามมาตรการต่าง ๆ ที่รัฐบาลได้ออกไปแล้วด้วย โดยเฉพาะขอความร่วมมืออย่าเพิ่งเดินทางกลับภูมิลำเนาขณะนี้ หากต้องเดินทางกลับ ทุกคนต้องปฏิบัติตามมาตรการการตรวจสอบคัดกรองที่กำหนดไว้ เช่นเดียวกับผู้เดินทางกลับจากต่างประเทศและนักท่องเที่ยวต่างประเทศ กักตัวอยู่ที่บ้านและในพื้นที่ที่กำหนด
หลังจากที่ได้ประกาศพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินออกไปแล้ว ขอให้ทุกคนระมัดระวังในการใช้สื่อโซเชียล และการให้ข้อมูลข่าวสารที่บิดเบือน‼️
----------------------------------
"พ.ร.ก.ฉุกเฉิน" คืออะไร ??
"พ.ร.ก.ฉุกเฉิน" หรือ พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 เป็นกฎหมายที่มีขึ้นในสมัยนายทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี หลังเกิดสถานการณ์ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงมีกฎหมายฉบับนี้ขึ้นเพื่อควบคุมสถานการณ์ที่กระทบกับความมั่นคงและการก่อการร้าย ซึ่งใช้ในการควบคุมสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้มา 16 ปีแล้ว และสามารถประกาศใช้ในบางพื้นที่ได้
ตามกฏหมาย พ.ร.ก.ฉุกเฉิน กำหนดให้ “สถานการณ์ฉุกเฉิน” หมายความว่า สถานการณ์อันกระทบหรืออาจกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ หรืออาจทำให้ประเทศหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของประเทศตกอยู่ในภาวะคับขัน หรือมีการกระทำความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา การรบ หรือการสงคราม ซึ่งจำเป็นต้องมีมาตรการเร่งด่วน เพื่อรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เอกราชและบูรณภาพแห่งอาณาเขต ผลประโยชน์ของชาติ การปฏิบัติตามกฎหมาย ความปลอดภัยของประชาชน การดำรงชีวิตโดยปกติสุขของประชาชน การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ความสงบเรียบร้อยหรือประโยชน์ส่วนรวม หรือ
"การป้องปัดหรือแก้ไขเยียวยาความเสียหายจากภัยพิบัติสาธารณะอันมีมาอย่างฉุกเฉินและร้ายแรง"
ซึ่งสถานการณ์โรคโควิด-19 น่าจะเข้าข่ายในเรื่องนี้ โดยตามอำนาจในกฎหมายนี้ กำหนดให้
- นายกรัฐมนตรีเห็นสมควร ใช้กำลังเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองหรือตำรวจ เจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือน หรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารร่วมกันป้องกัน แก้ไข ปราบปราม ระงับ ยับยั้ง ฟื้นฟู หรือช่วยเหลือประชาชน
- ให้นายกรัฐมนตรี โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี มีอำนาจประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อบังคับใช้ทั่วราชอาณาจักรหรือในบางเขตบางท้องที่ได้ตามความจำเป็นแห่งสถานการณ์
- ให้มีคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินคณะหนึ่ง ประกอบด้วย รองนายกรัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นรองประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงยุติธรรม ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ อัยการสูงสุด ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อธิบดีกรมการปกครอง และอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นกรรมการ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เป็นกรรมการและเลขานุการ
- นายกรัฐมนตรีอาจมอบหมายให้ส่วนราชการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายนั้นยังคงใช้อำนาจหน้าที่เช่นเดิมต่อไปก็ได้ แต่ต้องปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์ที่นายกรัฐมนตรีกำหนด
- ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนตำรวจ หรือทหารซึ่งมีตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดี ผู้บัญชาการตำรวจ แม่ทัพ หรือเทียบเท่าเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ และกำหนดให้เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในพื้นที่และบังคับบัญชาข้าราชการและพนักงานเจ้าหน้าที่
- ให้การปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการและข้าราชการที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นไปตามการสั่งการของหัวหน้าผู้รับผิดชอบนั้น เว้นแต่การปฏิบัติหน้าที่ทางทหาร ให้เป็นไปตามกฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับเกี่ยวกับการใช้กำลังทหาร แต่จะต้องปฏิบัติให้สอดคล้องกับแนว ทางการดำเนินการที่ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบกำหนด
- ในกรณีที่มีความจำเป็น คณะรัฐมนตรีอาจให้มีการจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเป็นการเฉพาะ เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดนี้เป็นการชั่วคราวได้ จนกว่าจะยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
- ในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินให้ยุติลงได้โดยเร็ว หรือป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงมากขึ้น ให้นายกรัฐมนตรีมีอำนาจออกข้อกำหนด ดังต่อไปนี้
1. ห้ามมิให้บุคคลใดออกนอกเคหสถานภายในระยะเวลาที่กำหนด เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเป็นบุคคลซึ่งได้รับยกเว้น
2. ห้ามมิให้มีการชุมนุมหรือมั่วสุมกัน ณ ที่ใด ๆ หรือกระทำการใดอันเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย
3. ห้ามการเสนอข่าว การจำหน่าย หรือทำให้แพร่หลายซึ่งหนังสือ สิ่งพิมพ์ หรือสื่ออื่นใดที่มีข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว หรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารทำให้เกิดความเข้าใจผิด
4. ห้ามการใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะ หรือกำหนดเงื่อนไขการใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะ
5. ห้ามการใช้อาคาร หรือเข้าไปหรืออยู่ในสถานที่ใด ๆ
6.ให้อพยพประชาชนออกจากพื้นที่ที่กำหนดเพื่อความปลอดภัยของประชาชนดังกล่าว หรือห้ามผู้ใดเข้าไปในพื้นที่ที่กำหนด
นอกจากนี้ยังสามารถประกาศสิ่งเหล่านี้ได้
1. ประกาศให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจจับกุมและควบคุมตัวบุคคลที่สงสัยว่า จะเป็นผู้ร่วมกระทำการให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือเป็นผู้ใช้ ผู้โฆษณา ผู้สนับสนุนการกระทำเช่นว่านั้น หรือปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับการกระทำให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน ทั้งนี้ เท่าที่มีเหตุจำเป็นเพื่อป้องกันมิให้บุคคลนั้นกระทำการหรือร่วมมือกระทำการใด ๆ อันจะทำให้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรง หรือเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการระงับเหตุการณ์ร้ายแรง
2. ประกาศให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งเรียกให้บุคคลใดมารายงานตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือมาให้ถ้อยคำ หรือส่งมอบเอกสารหรือหลักฐานใดที่เกี่ยวเนื่องกับสถานการณ์ฉุกเฉิน
3. ประกาศให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งยึดหรืออายัดอาวุธ สินค้า เครื่องอุปโภคบริโภค เคมีภัณฑ์ หรือวัตถุอื่นใด ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่า ได้ใช้หรือจะใช้สิ่งนั้นเพื่อการกระทำการหรือสนับสนุนการกระทำให้เกิดเหตุสถานการณ์ฉุกเฉิน
4. ประกาศให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งตรวจค้น รื้อ ถอน หรือทำลายซึ่งอาคาร สิ่งปลูกสร้าง หรือสิ่งกีดขวาง ตามความจำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อระงับเหตุการณ์ร้ายแรงให้ยุติโดยเร็ว และหากปล่อยเนิ่นช้าจะทำให้ไม่อาจระงับเหตุการณ์ได้ทันท่วงที
5. ประกาศให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งตรวจสอบจดหมาย หนังสือ สิ่งพิมพ์ โทรเลข โทรศัพท์ หรือการสื่อสารด้วยวิธีการอื่นใด ตลอดจนการสั่งระงับหรือยับยั้งการติดต่อหรือการสื่อสารใด เพื่อป้องกันหรือระงับเหตุการณ์ร้ายแรง โดยต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษโดยอนุโลม
6. ประกาศห้ามมิให้กระทำการใด ๆ หรือสั่งให้กระทำการใด ๆ เท่าที่จำเป็นแก่การรักษาความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประเทศ หรือความปลอดภัยของประชาชน
7. ประกาศให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งห้ามมิให้ผู้ใดออกไปนอกราชอาณาจักร เมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า การออกไปนอกราชอาณาจักรจะเป็นการกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของรัฐหรือความปลอดภัยของประเทศ
8. ประกาศให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งการให้คนต่างด้าวออกไปนอกราชอาณาจักร ในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า เป็นผู้สนับสนุนการกระทำให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน ทั้งนี้ โดยให้นำกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองมาใช้บังคับโดยอนุโลม
9. ประกาศให้การซื้อ ขาย ใช้ หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งอาวุธ สินค้า เวชภัณฑ์ เครื่องอุปโภคบริโภค เคมีภัณฑ์ หรือวัสดุอุปกรณ์อย่างหนึ่งอย่างใดซึ่งอาจใช้ในการก่อความไม่สงบหรือก่อการร้าย ต้องรายงานหรือได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือปฏิบัติตามเงื่อนไขที่นายกรัฐมนตรีกำหนด
10. ออกคำสั่งให้ใช้กำลังทหารเพื่อช่วยเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองหรือตำรวจระงับเหตุการณ์ร้ายแรง หรือควบคุมสถานการณ์ให้เกิดความสงบโดยด่วน ทั้งนี้ ในการปฏิบัติหน้าที่ของทหาร ให้มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับอำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชกำหนดนี้ โดยการใช้อำนาจหน้าที่ของฝ่ายทหารจะทำได้ในกรณีใดได้เพียงใด ให้เป็นไปตามเงื่อนไขและเงื่อนเวลาที่นายกรัฐมนตรีกำหนด แต่ต้องไม่เกินกว่ากรณีที่มีการใช้กฎอัยการศึก
เมื่อเหตุการณ์ร้ายแรง ยุติลงแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีประกาศยกเลิกประกาศตามมาตรานี้โดยเร็ว
ลิงก์ผู้สนับสนุน
กระทู้/ข่าว อื่นๆ ที่น่าสนใจ
|
|
|
|
แจ้งลบกระทู้นี้
อ่าน 7125 |
|
แสดงความคิดเห็น |
โดย ตนข่าว
IP: Hide ip
, วันที่ 25 มี.ค. 63
เวลา 14:20:25
|