• กรมควบคุมโรค เตือนระวัง โรคไข้ปวดข้อยุงลาย ระบาด!!! |
โพสต์โดย ตนข่าว , วันที่ 08 มิ.ย. 63 เวลา 12:45:15 IP: Hide ip |
กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
กรมควบคุมโรค พยากรณ์โรคฯ ฉบับที่ 265 "เตือนประชาชนช่วงนี้หลายพื้นที่มีฝนตกอย่างต่อเนื่อง อาจทำให้น้ำขังตามภาชนะต่างๆ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ระวังป่วยด้วยโรคไข้ปวดข้อยุงลาย"
กรมควบคุมโรค พยากรณ์โรคและภัยสุขภาพ รายสัปดาห์ ฉบับที่ 265 (วันที่ 7 - 13 มิ.ย. 53) จากการเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรค สถานการณ์โรคไข้ ปวดข้อยุงลายหรือโรคชิคุนกุนยา ในปี 2553 พบผู้ป่วยแล้ว 1,630 ราย
กรมควบคุมโรค การพยากรณ์โรคและภัยสุขภาพประจำสัปดาห์นี้ คาดว่าในช่วงนี้จะมีจำนวนผู้ป่วยโรคไข้ปวดข้อยุงลายเพิ่มขึ้น จากการที่มีฝนตกในหลายพื้นที่ของประเทศ ไทย ประกอบกันพื้นที่ภาคใต้ซึ่งเป็นพื้นที่มีการระบาดยังคงมีฝนตกอย่างต่อเนื่อง และมีการแพร่กระจายของ โรคไปยังจังหวัดอื่นจากผู้ที่เดินทางกลับมาจากพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค
โรคไข้ปวดข้อยุงลายหรือโรคชิคุนกุนยา เป็นโรคติดต่อนำโดยแมลง ซึ่งมียุงลายเป็นพาหะ ผู้ที่ติดเชื้อจะมี อาการไข้สูง ปวดข้อ ข้อบวมหรือ ข้ออักเสบร่วมกับมือาการปวดศีรษะ ปวดกระบอกตา ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ มีถิ่นหรืออ่อนเพลีย การป้องกันการแพร่กระจายของโรคที่ดีที่สุด คือการกำจัดแKส่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ถ้วยมาตรการ "3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค" คือ เก็บบ้าน เก็บขยะ และเก็บน้ำ เพื่อกำจัดส่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย
หากประชาชนมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร.1422
โรคชิคุนกุนยา (Chikungunya) หรือ โรคไข้ปวดข้อยุงลาย เป็นที่รู้จักนานกว่า 60 ปี นับป็นโรดเก่าที่อุบัติขึ้นมาใหม่ โรคนี้เกิดจาก เชื้อไวรัส Chikungunya เป็นไวรัสคนละกลุ่มกับไข้เลือดออกและไข้ไวรัสซิก้า ชิคุนกุนยา (Chikungunya) เป็นภาษามากอนดี แปลว่า ตัวโค้งงอ ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูง มีผื่น ปวดข้อมากจนตัวโค้งงอ จึงตั้งชื่อโรคนี้ตามลักษณะอาการของผู้ป่วย พาหะของโรค (Vector) ได้แก่ ยุงลายบ้าน และยุงลายสวน สำหรับยุงลายสวนนั้นพบได้บ่อยในบริเวณที่มีต้นไม้หนาแน่น โรคชิคุนกุนยา จะมีอาการค่อนข้างเฉียบพลัน โดยมีระยะฟักตัวของโรค 3 - 7 วัน (หลังจากโดนยุงกัด)
อาการ
- มีไข้สูงได้ถึง 39 - 40 องศาเซลเซียส โดยจะมีไข้อยู่ประมาณ 3 วัน
- เจ็บปวดตามข้อ โดยข้อที่ปวดจะเป็นข้อเล็กๆ เช่น ข้อนิ้วมือ บางรายอาจปวดข้อใหญ่ได้ เช่น ข้อเข่า ข้อเท้า เป็นต้น ทำให้ลงน้ำหนัก หรือเดินลำบาก
- มีผื่นขึ้นทั่วตัว คล้ายหัดในเด็ก
- ตาแดง
- อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตัว
ลิงก์ผู้สนับสนุน
กระทู้/ข่าว อื่นๆ ที่น่าสนใจ
|
|
|
|
แจ้งลบกระทู้นี้
อ่าน 940 |
|
แสดงความคิดเห็น |
โดย ตนข่าว
IP: Hide ip
, วันที่ 08 มิ.ย. 63
เวลา 12:45:15
|