• คลิป-ภาพ ฟ้อนถวายพระนางจามเทวี เนื่องในวันคล้ายวันประสูติพระนางจามเทวี ปฐมกษัตริย์แห่งนครหริภุญชัย |
โพสต์โดย ตนข่าว , วันที่ 13 ก.ย. 63 เวลา 11:01:54 IP: Hide ip |
กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
วานนี้ 12 กันยา 63 มีการทำบุญตักบาตร และการฟ้อนถวายพระนางจามเทวีของ ประชาชนชาวลำพูน เนื่องในวันคล้ายวันประสูติพระนางจามเทวี ปฐมกษัตริย์แห่งนครหริภุญชัย ณ ลานเจ้าแม่จามเทวี จ.ลำพูน
แอดมินจึงนำภาพบรรยากาศ ในการฟ้อนถวายมาฝากครับ มาฝากทุกท่าน ครับ
วันคล้ายวันประสูติพระนางจามเทวี ถือเอาวันทางจันทรคติ วันแรม 10 ค่ำ เดือน 10 ซึ่งเป็นวันคล้ายวันประสูติของพระองค์ โดยในปีนี้ตรงกับวันพฤหัสบดี ที่ 12 กันยายน 2563 และขณะนี้ลำพูนได้ จัดงานเทศกาลโคมแสนดวง ณ วัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร ซึ่งประชาชนสามารถร่วมบูชาโคมเพื่อถวายสักการะ แด่องค์พระธาตุ หริภุญชัยได้
ฟ้อนถวายเจ้าแม่จามเทวี ในวันที่ 12 กันยายน 63 วันคล้ายวันประสูติ ของกลุ่ม Young Smart Farmer จ.ลำพูน
เครดิต กฤษฎา มูลกลาง
ประวัติมีหลายตำนานขอยกเอาตามตำนานนี้ได้เล่าว่า พระนางจามเทวีเป็นลูกของเศรษฐีชาวมอญ (เม็ง) ชื่อ นายอินตา มารดาไม่มีชื่อปรากฏ เกิดที่บ้านหนองดู่ อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน เมื่อวันพฤหัสบดี เวลาใกล้พลบค่ำ เดือนห้า ปีมะโรง ซึ่งตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ พ.ศ. ๑๑๗๖
อภินิหารตอนพระนางอายุได้ ๓ ขวบนั้น กล่าวกันว่า ได้มี่นกใหญ่ตัวหนึ่งบินเข้ามาหาอาหารในบ้าน แล้วได้โฉบลงมาจับตัวทารกน้อยนี้บินไปในอากาศ ขึ้นไปทางทิศเหนือ จนกระทั่งนกใหญ่ตัวนี้หมดแรงเพราะเหตุใดไม่ปรากฏ จึงปล่อยร่างทารกน้อยนี้ร่วงลงมายังสระใหญ่ ซึ่งทารกก็นอนค้างอยู่บนใบบัว เป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก พระฤาษีวาสุเทพ (สุเทวฤาษี) ซึ่งจำศีลภาวนาอยู่ ณ ดอยสุเทพ ได้ธุดงค์มาพบเข้าก็ทราบว่าทารกคนนี้คงไม่ใช่คนธรรมดาสามัญ ต้องเป็นผู้มีบุญบารมีมาเกิดเป็นแน่ ท่านจึงใช้พัด (วี) ยื่นไปในสระน้ำนั้นพร้อมกับตั้งจิตอธิษฐานว่า หากทารกนี้มีบุญจริงก็ให้พัดของเรารับร่างน้อยนั้นเข้าฝั่งมาได้เถิด และสิ้นคำอธิษฐาน ร่างของทารกน้อยก็ลอยขึ้นฝั่งได้พร้อมกับพัดที่ใช้รองรับ ดังนั้นท่านฤาษีวาสุเทพจึงได้นำทารกน้อยนี้ไปเลี้ยงดูโดยตั้งชื่อให้ว่า “หญิงวี” ท่านฤาษีวาสุเทพได้เลี้ยงดูหญิงวีจนกระทั่งอายุได้ ๑๓ ขวบ จึงได้ต่อแพยนต์จัดส่งพระนางไปตามนิมิต โดยให้นั่งไปบนแพยนต์ มีวานรติดตามไปดูแล ๓๕ ตัว แพยนต์ซึ่งพระฤาษีเสกด้วยเวทย์มนต์คาถาก็นำพาหญิงวีไปตามลำน้ำใหญ่ จนกระทั่งถึงวัดเชิงท่าตลาดลพบุรี อ.เมือง จ.ลพบุรี (ละโว้) แพยนต์ของหญิงวีก็ลอยเป็นวงกลมอยู่ที่ท่าน้ำนั้น ประชาชนพลเมืองต่างช่วยกันชักลากขึ้นฝั่ง แต่ก็กระทำไม่สำเร็จ จึงพากันไปทูลแจ้งแก่กษัตริย์เมืองละโว้ในขณะนั้นได้ทราบข่าวก็อัศจรรย์ยิ่งนัก จึงเสด็จมาพร้อมกับรับหญิงวีเป็นธิดาบุญธรรม ต่อจากนั้นก็ได้จัดให้มีงานเฉลิมฉลองและเจิมพระขวัญแต่งตั้งให้หญิงวีที่มากับสายน้ำนี้เป็นพระราชธิดา แห่งกรุงละโว้ธานี และได้ให้ปุโรหิตจารึกพระนามลงในแผ่นสุพรรณบัฏว่า “เจ้าหญิงจามเทวีศรีสุริยวงศ์ บรมราชขัติยนารี รัตนกัญญาละโว้บุรีราไชศวรรย์” เป็นรัชทายาทแห่งนครละโว้ในดิถีอาทิตยวาร ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ปีมะเมีย พ.ศ. ๑๑๙๐ ต่อมาเจ้าหญิงจามเทวีฯ ได้อภิเษกสมรสกับเจ้าชายรามแห่งกรุงละโว้ และได้ครองราชย์ร่วมกัน สร้างบ้านแปงเมือง
เมื่อปี พ.ศ. ๑๒๐๐ ฤาษีวาสุเทพ และ ฤาษีสุกกทนต ได้พิจารณาสถานที่ริมฝั่งแม่น้ำแห่งหนึ่งเห็นว่าเหมาะสมดีจึงทำตามคำแนะนำของเพื่อฤาษีองค์หนึ่งชื่อว่า อนุสิสะฤาษี ได้สร้างบ้านเมืองเป็นรูปสัณฐานดั่งหอยสังข์ โดยเชื่อว่าจะทำให้บ้านเมืองมีความเจริญรุ่งเรืองประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข ท่านวาสุเทพฤาษีได้รวบรวมชนเผ่าลัวะ สร้างบ้านแปงเมืองเสร็จแล้ว จึงนึกถึงธิดาบุญธรรม ซึ่งเมื่อหลายปีที่ผ่านมาท่านได้สร้างแพยนต์เพื่อหญิงวีได้ประทับล่องลอยไปกับวานร จำนวน ๓๕ ตัว ซึ่งต่อมาท่านก็ได้ทราบว่าหญิงวีได้มีบุญบารมีเป็นพระราชธิดาของพระเจ้ากรุงละโว้ (ลพบุรี) และเป็นขัตติยะนารีที่มีความสามารถเยี่ยงบุรุษ สามารถปกป้องบ้านเมือง เป็นจอมทัพรับหน้าพม่าแห่งกรุงโกสัมภี และยังได้รับการสถาปนาอภิเษกสมรสกับ เจ้าราม ครองราชย์ ณ เมืองละโว้ธานีนั้นแล ท่านวาสุเทพฤาษีจึงได้ทำสารไปอัญเชิญขอต่อเจ้าเมืองละโว้ เพื่อให้พระนางจามเทวีได้เสด็จกลับมาปกครองเมืองที่สร้างใหม่นี้ การทูลเชิญเสด็จนี้ได้แต่งตั้ง นายคะวะยะ เป็นทูตถือสารไปพร้อมกับสุกกะทันตะฤาษี ซึ่งตามตำนานได้กล่าวถึงคะวะยะนี้ว่า เป็นผู้ที่เฉลียวฉลาด กล้าหาญ อดทน แข็งแรง สามารถเดินทางในป่าที่เต็มไปด้วยอันตราย รู้จักใช้ชีวิตในป่าและมีความรู้ทางยาสมุนไพรต่างๆ ซึ่งบุคคลผู้นี้ต่อมาได้เป็นกำลังสำคัญในการสร้างบ้านแปงเมืองของพระนางจามเทวี มีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์มากมาย ปัจจุบันคนรุ่นหลังเคารพกราบไหว้ในนามของเจ้าพ่อเตโค เสื้อเมืองหริภุญชัย นับว่าท่านคะวะยะเป็นขุนพลแก้วของพระนางจามเทวีโดยแท้ ในการตัดสินใจเสด็จกลับมาครองเมืองหริภุญชัยของพระนางจามเทวีนั้น พระนางได้ทูลเชิญเจ้ารามพระสวามีมาด้วย แต่ได้รับการปฏิเสธ ดังนั้นพระนางจึงต้องเสด็จมาโดยลำพัง ขณะนั้นได้กำลังทรงพระครรภ์ได้ราว ๓ เดือน และพระนางได้ทูลขอจากพระราชบิดากรุงละโว้นำประชาชนพลเมือง สิ่งของต่างๆ เดินทางมายังเมืองหริภุญชัยด้วย พระนางจามเทวีทรงใช้เวลาเดินทางจากกรุงละโว้โดยทางเรือ มาตามแม่น้ำปิงใช้เวลาเดินทาง ๗ เดือน ตลอดระยะเวลาการเดินทางได้เสด็จผ่านเมืองและสถานที่ต่างๆ
เมื่อพระนางจามเทวีเสด็จมาถึงยังหริภุญชัยนครแล้ว ทรงทำพระราชพิธีราชาภิเษกขึ้นครองราชย์ได้ ๗ วัน ก็ทรงประสูติพระราชโอรสฝาแฝด ทรงพระนามว่า พระมหันตยศ และพระอนันตยศ ในรัชสมัยของพระนางจามเทวีได้ทรงมีช้างเผือกคู่บุญบารมี คือ ช้างปู้หม่นงาเขียว หมายถึง ช้างที่มีงาเป็นสีเขียว ตามตำนานกล่าวว่า ช้างเผือกเชือกนี้ได้มาพักหากินในดอยงัม ดอยโดน (เขต อ. สันกำแพง จ. เชียงใหม่) พระนางจามเทวีได้พาข้าราชบริพารพร้อมด้วย พญาลิงเผือก ชื่อ กากะวานร และบริวารมาทำการคล้องช้าง โดยวิธีการให้พญาลิงเผือกและบริวารเข้าไปทำความคุ้นเคย จนช้างเผือกลดความดุร้ายเชื่องลง หมดควาญช้างจึงได้นำอาหารีให้ช้างกิน และทำการตกปลอกให้พญาลิงเผือกนำช้างเข้ามาถวายตัวแด่พระนางจามเทวี ซึ่งข่าวนี้เป็นที่ปีติยินดีของชาวเมือง อันว่าช้างเผือกนี้เป็นพญาช้างเผือกที่มีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์เป็นอย่างมาก ปัจจุบันนี้ ชาวนครลำพูนและผู้คนโดยทั่วไปให้ความเคารพนับถือไหว้สาเจดีย์กู่ช้างเป็นอย่างยิ่ง ด้านการศาสนา
พระนางจามเทวีทรงมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง จึงได้ทรงสร้างวัดขึ้น ๔ วัด ประจำ ๔ มุมเมือง (จตุรทิศของเมืองหริภุญชัย) เพื่อเป็นพุทธปราการปกป้องคุ้มครองเมืองให้ปราศจากภัยพิบัติและเจริญด้วยความวัฒนาสถาพรยั่งยืนคือ
๑. วัดพระคงฤาษี (วัดอาพัทธาราม)
๒. วัดดอนแก้ว (วัดอรัญญิกรัมนการาม)
๓. วัดมหาวัน (วัดมหาวนาราม)
๔. วัดประตูลี้ (วัดมหาสัตตามราม)
พาราวิโยค
ในบั้นปลายแห่งพระชนม์ชีพของพระนางจามเทวี ภายหลังจากที่ได้ทรงคืนราชสมบัติให้แก่พระเจ้ามหันตยศ พระราชโอรส แล้วเมื่อวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีมะโรง พ.ศ. ๑๒๓๖ พระนางจามเทวีมีพระชนมายุได้ ๖๐ พรรษา ได้ทรงสละเพศเป็นชีผ้าขาว โดยแม่ชีจามเทวีทรงปฏิบัติศาสนา ณ สำนักอารามจามเทวี จนกระทั่งในวันขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๙ ปีมะเมีย พ.ศ. ๑๒๗๔ แม่ชีจามเทวีก็ได้สวรรคตโดยปราศจากโรคใดๆ และได้มีพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ เมื่อวันแรม ๓ ค่ำ เดือน ๖ ปีวอก พ.ศ. ๑๔๗๖ สิริพระชนมายุได้ ๙๘ พรรษา หลังจากถวายพระเพลิงอดีตพระมหากษัตริย์แห่งนครหริภุญชัยแล้ว ก็ได้นำพระอัฐิบรรจุไว้ ณ อารามจามเทวี โดยนครหริภุญชัย เขลางค์ และระมิงค์ ได้ร่วมกันไว้ทุกข์ต่ออีก ๑ปี
ลิงก์ผู้สนับสนุน
กระทู้/ข่าว อื่นๆ ที่น่าสนใจ
|
|
|
|
แจ้งลบกระทู้นี้
อ่าน 1249 |
|
แสดงความคิดเห็น |
โดย ตนข่าว
IP: Hide ip
, วันที่ 13 ก.ย. 63
เวลา 11:01:54
|