• มารู้จัก "วัณโรค" ที่คร่าโรเบิร์ต สายควัน (ซ่อนเก่ง แพร่ง่าย ไอ จาม ถ่มน้ำลาย และขากเสมหะ) |
โพสต์โดย ตนข่าว , วันที่ 21 ก.ย. 63 เวลา 10:19:34 IP: Hide ip |
กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
“โรเบิร์ต สายควัน” หรือนายไพฑูรย์ พุ่มรัตน์ ดาวตลกดัง ที่ป่วยเป็นมะเร็งปอด และเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลเสรีรักษ์ กทม. โดยแพทย์ตรวจไม่พบเซลล์มะเร็งปอดแล้ว แต่พบเชื้อวัณโรคปอดแทน และเพียงชั่วข้ามคืน โรเบิร์ต ก็จากไปเมื่อช่วงค่ำวันที่ 19 ก.ย.
เรามาทำความรู้จักกับวัณโรคปอด กันครับ
วัณโรค เป็นเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง มีชื่อเป็นทางการว่า Mycobacterium tuberculosis เชื้อนี้สามารถทนอยู่ในอากาศ และสิ่งแวดล้อมได้นาน มักเข้าสู่คนโดยการหายใจเอาเชื้อนี้เข้าไป แต่ก็อาจเข้าทางอื่น เช่น บาดแผลได้ด้วย
โดย ปกติเมื่อร่างกายได้รับเชื้อวัณโรค ร่างกายจะสามารถ ควบคุมเชื้อนี้ได้ระดับหนึ่งทำให้ไม่เป็นโรค เชื้อจะซ่อนอยู่ในร่างกาย หากร่างกายอ่อนแอ เชื้อก็จะกำเริบก่อให้เกิดโรคได้ เช่น เด็กเล็กๆ คนที่เป็น โรคเบาหวาน คนที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน เช่น สเตียรอยด์ และกลุ่มที่มีปัญหา ในปัจจุบัน คือคนไข้เอดส์ ซึ่งทำให้ปัจจุบันพบโรคนี้มากขึ้น
วัณโรคสามารถแพร่กระจาย จากการไอ จาม ถ่มน้ำลาย และขากเสมหะ ดังนั้นผู้ป่วยจึงควรป้องกันด้วยการนำไปฝังหรือเผา ไม่ควรนอนร่วมกับผู้อื่น ควรปิดปากและจมูก ทุกครั้งเวลาไอหรือจาม แยกและทำลายขยะที่เปื้อนน้ำมูก น้ำลาย แยกเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม ภาชนะใส่อาหาร เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อวัณโรคแพร่กระจายสู่ผู้อื่น
นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า “ วัณโรค ” คือโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง ซึ่งสามารถแพร่กระจาย จากการไอ จาม ถ่มน้ำลาย และขากเสมหะของผู้ป่วยวัณโรคปอดสู่ผู้อื่น จึงทำให้ติดเชื้อวัณโรคจากการหายใจและรับเชื้อที่ล่องลอยในอากาศเข้าสู่ปอด วัณโรคพบได้ทุกส่วนของอวัยวะทั่วร่างกายเช่น วัณโรคกระดูก วัณโรคลำไส้ วัณโรคเยื่อหุ้มสมอง แต่ที่พบมากที่สุด คือ วัณโรคปอด ผู้ป่วยวัณโรคปอดจะมีอาการไข้ต่ำๆ ในเวลาบ่ายหรือเย็น ไอแห้งๆ และเจ็บหน้าอก เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ผิวหนังซีด เหลือง และเหงื่อออกตอนกลางคืน ปัจจุบันสามารถวินิจฉัยโรคได้จากการเอกซเรย์ปอดและการตรวจเสมหะผู้ป่วยด้วยการส่องผ่านกล้องจุลทรรศน์ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยควรป้องกันและควบคุมการแพร่เชื้อวัณโรค โดยไม่ควรนอนร่วมกับผู้อื่น ควรปิดปากและจมูกทุกครั้งเวลาไอหรือจาม แยกและทำลายขยะที่เปื้อนน้ำมูก น้ำลาย ด้วยการนำไปฝังหรือเผา แยกเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม และภาชนะใส่อาหาร ควรฆ่าเชื้อด้วยความร้อน เช่น ลวก ต้ม และตากแดดจัด
นายแพทย์เอนก กนกศิลป์ ผู้อำนวยการสถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอด โดยทั่วไปจะเลือกใช้สูตรการรักษาระยะสั้นมาตรฐาน 6 เดือน หากผู้ป่วยที่รับการรักษาจนครบกำหนดและเชื้อไม่ดื้อยา จะมีโอกาสหายขาดได้มากกว่าร้อยละ 95 แต่หากผู้ป่วยวัณโรคได้รับการรักษาที่ไม่ถูกต้อง คือหยุดยาก่อนกำหนดครบระยะรักษาหรือได้รับการรักษาไม่สม่ำเสมอ จะส่งผลให้เชื้อวัณโรคที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ทนต่อยาที่เคยรักษา ทำให้ไม่สามารถรักษาด้วยยาเดิมที่เคยใช้ได้ เชื้อวัณโรคจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น กลายเป็นเชื้อวัณโรคดื้อยาได้ ดังนั้น ผู้ป่วยควรรับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ ตามแผนการรักษาและไม่ควรหยุดยาเองแม้อาการจะทุเลาลง หากพบว่ามีอาการข้างเคียง เช่น ผื่นทั้งตัว มีไข้ มีแผลในปาก หรือตาแดง มองเห็นภาพไม่ชัด ตาพร่า ตามัว คลื่นไส้ อาเจียนรุนแรง ตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะสีเหมือนน้ำปลา ควรรีบมาพบแพทย์ทันที
ลิงก์ผู้สนับสนุน
กระทู้/ข่าว อื่นๆ ที่น่าสนใจ
|
|
|
|
แจ้งลบกระทู้นี้
อ่าน 913 |
|
แสดงความคิดเห็น |
โดย ตนข่าว
IP: Hide ip
, วันที่ 21 ก.ย. 63
เวลา 10:19:34
|