กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
ดีอีเอส แจ้งความมือโพสต์หมิ่น 5 ราย เตรียมลงดาบเฟซบุ๊ก-ทวิตเตอร์ ไม่ปิดเว็บตามคำสั่งศาล
“พุทธิพงษ์” หอบหลักฐานแจ้งความ 5 มือโพสต์หมิ่นช่วงเหตุการณ์ชุมนุม 19-20 ก.ย. 63 และรุกเอาจริงบังคับใช้กฎหมายกับเฟซบุ๊ก และทวิตเตอร์ หลังตรวจสอบพบยังไม่ดำเนินการปิดลิงค์ผิดกฎหมายตามคำสั่งศาลภายใน 15 วัน
นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวว่า วันนี้ (24 ก.ย. 63) นับเป็นครั้งแรกที่ได้มีการแจ้งความดำเนินคดีกล่าวโทษร้องทุกข์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ในกรณีการชุมนุมทางการเมืองที่ผู้ชุมนุมอ้างว่าเป็นสิทธิ์ตามรัฐธรรมนูญและสามารถทำได้ตามกฎหมาย เนื่องจากการชุมนุมเมื่อวันที่ 19-20 ก.ย. ที่ผ่านมา มีการใช้ Social Media โพสต์ข้อความต่างๆ ที่เข้าข่ายผิดกฎหมายหรือพาดพิงสถาบันหลักของประเทศ จำนวน 5 ยูอาร์แอล ผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ ดังนี้ เฟซบุ๊ก 4 ยูอาร์แอล และทวิตเตอร์ 1 ยูอาร์แอล
ทั้งนี้ เน้นยำว่าการแจ้งความเพื่อดำเนินคดีครั้งนี้ มุ่งดำเนินการกับผู้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 ซึ่งเป็นผู้นำเข้าข้อมูลที่ผิดกฎหมายซึ่งไม่ใช่เป็นผู้แชร์ต่อ จึงมอบหมายให้ฝ่ายกฎหมายไปแจ้งความต่อ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) เพื่อดำเนินคดี เพื่อเอาผิดกับผู้นำเข้าข้อความที่ไม่เหมาะสม 5 ราย ดังกล่าว ทั้งนี้ที่มีจำนวนผู้กระทำผิดไม่มากเป็นเพราะกระทรวงฯ ต้องการให้มีการดำเนินคดีกับบุคคลแรกที่เป็นผู้นำเข้าข้อมูลเท่านั้น
รมว.ดีอีเอส กล่าวว่า กระทรวงฯ ยังพร้อมดำเนินคดีกับแพลทฟอร์มต่างประเทศ เพจหรือเว็บไซต์ที่ผิดกฎหมายที่ไม่ดำเนินการปิดภายใน 15 วัน ตามที่มีการส่งหนังสือไปแจ้งเตือนไอเอสพีเพื่อดำเนินการปิดกั้นการเข้าถึง/ปิดเว็บไซต์ผิดกฎหมายก่อนหน้านี้
ที่ผ่านมา ในช่วง ส.ค. – 24 ก.ย. มียอดร้องทุกข์กล่าวโทษ ผู้นำเข้าข้อมูลคอมฯ ที่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. คอมฯ รวมจำนวน 13 บัญชี/รายการ และมีการร้องทุกข์กล่าวโทษ ตามมาตรา 27 ที่ไม่ปฏิบัติตาม คำสั่งศาลฯ จำวน 2 ราย (เฟซบุ๊ก และทวิตเตอร์) ซึ่งไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการปิดกั้นการเข้าถึงข้อมูลผิดกฎหมาย/ปิดเว็บไซต์ภายใน 15 วันหลังจากได้รับคำสั่งศาล
สำหรับที่ผ่านมา จากการติดตามความร่วมมือดำเนินการตามคำสั่งศาลจากแพลตฟอร์มต่างๆ ประกอบด้วย เฟซบุ๊ก 661 ยูอาร์แอล ปิดแล้ว 225 ยูอาร์แอล, ยูทูบ 289 ยูอาร์แอล (ปิดลิงค์ให้ครบแล้ว), ทวิตเตอร์ 69 ยูอาร์แอล ปิดแล้ว 5 ยูอาร์แอล และเว็บอื่นๆ จำนวน 5 ยูอาร์แอล ปิดแล้ว 4 ยูอาร์แอล โดยยังคงเหลืออีก 1 ยูอาร์แอล บนแพลตฟอร์มอินสตาแกรม (ไอจี) ซึ่งมีเฟซบุ๊กเป็นเจ้าของ
ขอบคุณข้อมูล :กระทรวงดิจิตัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ลิงก์ผู้สนับสนุน
กระทู้/ข่าว อื่นๆ ที่น่าสนใจ
|
|
|
|