กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
วิเคราะห์ จังหวัดแชมป์เผา 2563 ทำไมต้อง แม่ฮ่องสอน
.
หากถามว่าจังหวัดไหนของภาคเหนือที่มีปัญหาไฟป่าไฟไหม้และมลพิษฝุ่นมากสุด คำตอบนั้นยากจะตอบได้ง่ายๆ เพราะขึ้นกับปัจจัยและมุมมอง แม้กระทั่งสถิติของจุดเผาไหม้หรือ Hot Spot ดาวเทียมแต่ละระบบก็ไม่เหมือนกัน ยังมีสถิติอื่นที่ต้องพิจารณาร่วมคือ ขนาดพื้นที่จังหวัดและร่องรอยการเผาไหม้จริง
.
รายงานการวิเคราะห์ชิ้นนี้ ให้ผลว่า จังหวัดภาคเหนือที่มีการไหม้หนักหน่วงสุดได้แก่แม่ฮ่องสอน รองลงมาคือ ลำพูน และลำปางตามลำดับ การเรียงลำดับเช่นนี้อาจจะไม่ตรงกับรายงานการจัดลำดับของราชการที่สังคมคุ้นเคย
.
#ภาคเหนือตอนบนคือแชมป์ประเทศไทย
ในฤดูแล้งประเทศไทยมีการเผาไหม้ในที่โล่งทั้งที่ป่าที่โล่งและที่เกษตรกรรมจำนวนมากทุกปีในทุกภูมิภาค โดยภาคที่มีปัญหาการเผามากที่สุดก็คือภาคเหนือ สถิติจากสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA ระบุว่า ข้อมูลดาวเทียม Terra/Aqua ระบบ MODIS พบจุด ความร้อนสะสมทั้งประเทศไทย ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2563 จำนวนทั้งสิ้น 26,308 จุด โดยส่วนใหญ่เกิดจุดความร้อนสะสมสูงสุดในพื้นที่ ภาคเหนือตอนบน จำนวน 7,779 จุด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 6,678 จุด ภาคเหนือตอนล่าง จำนวน 6,331 จุด ตามลำดับ
.
เฉพาะภาคเหนือตอนบน มีจุดความร้อนมากกว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้งภาค!
.
#เชียงใหม่แชมป์ฮอตสปอต
สถิติจุดความร้อนสะสม (Hot Spot) จากระบบดาวเทียม Terra/Aqua ระบบ MODIS ในช่วง 5 เดือนแรก ของภาคเหนือตอนบน (รวมตาก) 9 จังหวัดเรียงลำดับจากมากไปน้อย ปรากฏดังนี้
.
ระบบ MODIS ลำดับหนึ่ง – เชียงใหม่ 2,155 จุด
ระบบ MODIS ลำดับสอง – แม่ฮ่องสอน 1,497 จุด
ระบบ MODIS ลำดับสาม – ตาก 1,377 จุด
ระบบ MODIS ลำดับสี่ – เชียงราย 942 จุด
ระบบ MODIS ลำดับห้า – น่าน 848 จุด
ระบบ MODIS ลำดับหก – ลำปาง 692 จุด
ระบบ MODIS ลำดับเจ็ด – แพร่ 429 จุด
ระบบ MODIS ลำดับแปด – พะเยา 346 จุด
ระบบ MODIS ลำดับเก้า – ลำพูน 314 จุด
หากใช้สถิตินี้เชียงใหม่จะเป็นแชมป์เผาประจำปีของภาคเหนือ รองลงมาคือ แม่ฮ่องสอน และ ตาก
.
นอกจากการวัดด้วยดาวเทียมระบบ MODIS แล้ว GISTDA ยังมีการตรวจวัดด้วยดาวเทียมระบบ VIIRS ที่ละเอียดกว่า ซึ่งก็พบว่าลำดับการเกิดจุดความร้อนรายจังหวัดก็ไม่แตกต่างกัน กล่าวคือ
.
ระบบ VIIRS ลำดับหนึ่ง – เชียงใหม่ 21,658 จุด
ระบบ VIIRS ลำดับสอง – แม่ฮ่องสอน 16,607 จุด
ระบบ VIIRS ลำดับสาม – ตาก 14,842 จุด
ระบบ VIIRS ลำดับสี่ – ลำปาง 8,556 จุด (เลื่อนจาก MODIS ลำดับหก)
ระบบ VIIRS ลำดับห้า – น่าน 7,523 จุด
ระบบ VIIRS ลำดับหก – เชียงราย 7,391 จุด (ระบบ MODISอยู่ลำดับสี่)
ระบบ VIIRS ลำดับเจ็ด แพร่ 5169 จุด
ระบบ VIIRS ลำดับแปด พะเยา 3929 จุด
ระบบ VIIRS ลำดับเก้า ลำพูน 3180 จุด
.
#ปัญหาของฮอตสปอตไม่สอดคล้องกับไหม้จริง
แต่อย่างไรก็ตามปัญหาของการใช้จุดความร้อน หรือ Hot Spot มาเป็นตัวชี้วัดปัญหาไฟป่าการเผาและมลพิษฝุ่นควัน pm2.5 เพียงปัจจัยเดียว ยังไม่สามารถบ่งชี้สภาพปัญหาที่แท้จริงได้ เนื่องจาก ดาวเทียมมีข้อจำกัดที่สามารถถ่ายภาพจุดความร้อนได้แค่วันละ 2 รอบ รอบดึกราวๆ ตีหนึ่งตีสอง และรอบเที่ยง ประมาณบ่ายโมง-บ่ายสอง ดังนั้น หากมีการเผาในช่วงเวลาที่เหลือและดับไปก่อน ดาวเทียมก็ไม่สามารถนับเป็นจุดความร้อน
.
ในทางปฏิบัติตลอดหลายปีมานี้ ผู้เกี่ยวข้องรวมถึงประชาชนและเกษตรกรทราบถึงข้อจำกัดของดาวเทียม หลายแห่งจึงเลือกที่จะเผาแปลงเกษตรหรือเผาป่าโซนที่ต้องการในช่วงประมาณบ่ายสามโมงเป็นต้นไป หากมีการจัดการที่ดีดับสนิทก่อนค่ำ พื้นที่เผาจุดดังกล่าวจะไม่มีในรายงาน ไม่เพียงเท่านั้นการเผาในป่าบางแห่งเป็นการคุลามกินพื้นที่ไปเรื่อย หากเป็นป่าทึบมีไม้ใหญ่อาจไม่มีเปลวไฟขนาดใหญ่เพียงพอให้ดาวเทียมตรวจจับ
.
ที่ผ่านมาหน่วยงานของรัฐใช้มาตรการประกาศวันห้ามเผา และใช้สถิติจุดความร้อน (hot spot) เป็นเป้าหมายความสำเร็จ ในทางสถิติตัวเลขบางจังหวัดสามารถควบคุมจุดความร้อนได้ดี แต่ข้อเท็จจริงในระดับพื้นที่ยังมีการเผาและขนาดของมลพิษเกินมาตรฐานอยู่เช่นเดิม
.
#BurntScarsแม่ฮ่องสอนตากเชียงใหม่ลำปางเกินล้านไร่
ดังนั้นสถิติจุดความร้อนจากดาวเทียมจึงควรเป็นเพียงข้อมูลประกอบส่วนหนึ่ง ยังต้องอาศัยข้อมูลชุดอื่นประกอบเพื่อให้ได้ภาพจริงของปัญหา ซึ่งนั่นก็คือ ภาพถ่ายพื้นที่เผาไหม้ (burnt scars) GISTDA ได้ทำสถิติพื้นที่เผาไหม้จากภาพถ่ายดาวเทียม Landsat-8 ออกมาพบว่าภาคเหนือตอนบน มีขนาดร่องรอยการเผาเป็นจำนวนไร่ เรียงลำดับจากมากไปน้อยได้ดังนี้
.
ลำดับหนึ่ง แม่ฮ่องสอน จำนวน 1,786,194 ไร่
คิดเป็นสัดส่วนต่อพื้นที่รวมทั้งจว. 22.36%
.
ลำดับสอง ตาก จำนวน 1454741 ไร่
คิดเป็นสัดส่วนต่อพื้นที่รวมทั้งจว. 13.45%
.
ลำดับสาม เชียงใหม่ จำนวน 1,384,078 ไร่
คิดเป็นสัดส่วนต่อพื้นที่รวมทั้งจว.10.05%
.
ลำดับสี่ ลำปาง 1,340,402 ไร่
คิดเป็นสัดส่วนต่อพื้นที่รวมทั้งจว. 17.17%
.
ลำดับห้า น่าน จำนวน 827,926 ไร่
คิดเป็นสัดส่วนต่อพื้นที่รวมทั้งจว. 10.89%
.
ลำดับหก ลำพูน 561,461 ไร่
คิดเป็นสัดส่วนต่อพื้นที่รวมทั้งจว. 20.06%
.
ลำดับเจ็ด เชียงราย 473151 ไร่
คิดเป็นสัดส่วนต่อพื้นที่รวมทั้งจว. 6.54%
.
ลำดับแปด แพร่ 423,133 ไร่
คิดเป็นสัดส่วนต่อพื้นที่รวมทั้งจว.10.44%
.
ลำดับเก้า พะเยา 364,385 ไร่
คิดเป็นสัดส่วนต่อพื้นที่รวมทั้งจว. 9.42%
.
#แม่ฮ่องสอนลำพูนลำปางแชมป์เผาภาคเหนือประจำปี63
การตรวจวัดพื้นที่ถูกเผาไหม้ เป็นร่องรอยที่ปรากฏบนพื้นควรจะใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ความสำเร็จของมาตรการแก้ปัญหา แทนการใช้ Hotspot หรือจุดความร้อนที่สามารถหลบเลี่ยงได้
และสถิติของปี 2563 ที่ผ่านมา บ่งบอกว่าบางจังหวัดที่มีจุดความร้อนน้อย ไม่ได้หมายถึงจะเกิดพื้นที่เผาไหม้น้อยตามไป ในทางกลับกัน บางจังหวัดที่มีจุดความร้อนน้อยกลับมีพื้นที่เผาไหม้สูงสุดเป็นล้านไร่ แสดงให้เห็นถึงความขัดแย้งกันเองของตัวชี้วัด
ไม่เพียงเท่านั้น พื้นที่รวมของจังหวัดแต่ละจังหวัดก็มีขนาดเล็กใหญ่ไม่เท่ากัน การคำนวณกลับเป็นสัดส่วนการเผาไหม้ต่อพื้นที่รวมอาจทำให้สังคมมองเห็นความสามารถในการบริหารจัดการไฟของแต่ละจังหวัดได้ชัดเจนขึ้น
.
การจัดลำดับจังหวัดที่มีสัดส่วนพื้นที่เผาไหม้ (5เดือน) ต่อพื้นที่รวมของจังหวัดประจำปี 2563 โดยการคำนวณของ WEVO สื่ออาสา ได้ผลเรียงลำดับ
.
การเผาต่อพื้นที่รวมลำดับหนึ่ง แม่ฮ่องสอน รองลงมาคือลำพูน และลำปาง ลำดับสี่ได้แก่จาก ลำดับห้าน่าน ลำดับหกเชียงใหม่ ลำดับเจ็ดแพร่ ลำดับแปดพะเยา และลำดับสุดท้ายที่มีสัดส่วนการเผาต่อพื้นที่น้อยสุดได้แก่เชียงราย เป็นจังหวัดที่สามารถกล่าวว่าบริหารจัดการไฟได้ดีในแทบทุกมิติการชี้วัด
.
โดย ทีมข่าว #WEVO #สื่ออาสา
ลิงก์ผู้สนับสนุน
กระทู้/ข่าว อื่นๆ ที่น่าสนใจ
|
|
|
|