• เตือน! ไวรัสRSV ระบาด ในเด็ก ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน หนักกว่าโควิด |
โพสต์โดย ตนข่าว , วันที่ 27 ต.ค. 63 เวลา 10:19:04 IP: Hide ip |
กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
วันที่ 24 ต.ค.63 เพจ “Infectious ง่ายนิดเดียว” โพสต์ เตือน “ระบาดหนักกว่าโควิด ก็ RSV อาการหนัก ระบาดหนัก ช่วงนี้ คนไข้เด็กทั่วประเทศทั้งโรงพยาบาลรัฐ เอกชน คลินิก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ป่วยด้วยไข้หวัด หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบจาก เชื้อไวรัส RSV (อาร์เอสวี) เยอะมากๆ แน่นทุกโรงพยาบาล
โดยอาการ ไข้ ไอ เสมหะ หอบเหนื่อย การรักษาคือ ตามอาการ ไม่มียาต้านไวรัสเฉพาะ ทั้งกินและฉีด ไม่มีวัคซีน การรักษาคือ พ่นยา ดูดเสมหะ ให้ออกซิเจน ให้สารน้ำ ยาลดไข้ การพยากรณ์โรค มีตั้งแต่ไม่รุนแรง หวัด ไอ น้ำมูก จนไปถึง ปอดอักเสบ หายใจล้มเหลว
การป้องกัน ที่พอจะช่วยได้
1) หลีกเลี่ยงไปชุมชน หรือ ใกล้ผู้ใหญ่ เด็กที่ป่วย
2) วัคซีนโรคอื่นๆ ที่พบร่วมได้ เช่น ไข้หวัดใหญ่ วัคซีนไอพีดี
3) รักษาความอบอุ่น ช่วงนี้อาการเย็น หนาว
4) คนมีโรคประจำตัว เช่น หอบหืด โรคหัวใจ โอกาสติด RSV แล้วอาการรุนแรงกว่าเด็กทั่วไป ต้องระวัง อย่าขาดยาประจำ ป่วยรีบมาพบแพทย์
5) ล้างมือ สวมหน้ากาก รักษาระยะห่าง ป้องกัน RSV ไข้หวัดใหญ่ ปอดอักเสบได้ มาตรการเดียวกับป้องกันโควิด ให้กำลังใจผู้ปกครอง และเจ้าหน้าที่ ดูดเสมหะ พ่นยาวนไป”
ทั้งนี้ โรคไวรัสอาร์เอสวีเป็นไวรัสชนิดที่มีเปลือกหุ้มมีชื่อเต็มว่า Respiratory syncytial virus เป็นเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของไข้หวัดหลอดลมอักเสบ ซึ่งพบได้บ่อยเด็กๆ แทบทุกคนมักเคยติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวีตั้งแต่วัยเด็กเล็กคนทุกกลุ่มอายุสามารถติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวีได้ส่วนมากอาการไม่รุนแรงมักหายป่วยภายใน 1-2 สัปดาห์ แต่อาจจะพบว่ามีอาการรุนแรงได้ในเด็กเล็กโดยเฉพาะถ้าเป็นเด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี คลอดก่อนกำหนด มีโรคหัวใจ หรือโรคปอดร่วม นอกจากนี้ การติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวีในผู้สูงอายุ อาจทำให้เกิดอาการรุนแรงเช่นเดียวกับเด็กเล็กได้ และอาจรุนแรงมากกว่าได้จากโรคร่วมที่มีอยู่ และมักทำให้เกิดโรคหลอดลมฝอยอักเสบในเด็กเล็กและแพร่ระบาดได้รวดเร็ว ทำให้เด็กป่วยพร้อมๆ กันเป็นจำนวนมาก โรคมีความรุนแรงกว่าหวัดทั่วๆ ไป ทำให้เด็กมีอาการหอบเหนื่อย หรือมีภาวะปอดอักเสบร่วมด้วยจนอาจจะต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลบางรายมีอาการรุนแรงถึงขนาดต้องเข้าไอซียูได้
เชื้อไวรัสอาร์เอสวี (RSV) คืออะไร ?
นายแพทย์อัษฏางค์ รวยอาจิณ รองอธิบดีและโฆษกกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ช่วงฤดูฝนในประเทศไทยมักพบผู้ป่วยโรคติดเชื้อทางเดินหายใจจากเชื้อไวรัสอาร์เอสวี (RSV) โดยเชื้อไวรัสนี้ติดต่อได้จากการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ป่วย เช่น น้ำมูก เสมหะของผู้ป่วย เป็นต้น
เชื้อไวรัสสามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านทางตา จมูก ปาก และจากการสูดหายใจเอาเชื้อที่อยู่ในอากาศในรูปละอองฝอยจากการไอ จามของผู้ป่วย โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่จะแสดงอาการหลังสัมผัสถูกเชื้อไวรัสในระยะเวลา 4-6 วัน และเมื่อป่วยจะสามารถแพร่กระจายเชื้อได้นาน 3-8 วัน
กลุ่มเสี่ยงเชื้อไวรัสอาร์เอสวี
โรคติดเชื้อทางเดินหายใจจากเชื้อไวรัสอาร์เอสวี (Respiratory Syncytial Virus: RSV) สามารถพบได้ในผู้ป่วยทุกกลุ่มอายุ แต่ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะติด เชื้อไวรัส RSV ขั้นรุนแรงหรือเป็นอันตรายต่อชีวิต ได้แก่
- ทารกที่คลอดก่อนกำหนด
- เด็กเล็กที่เป็นโรคหัวใจหรือโรคปอดตั้งแต่กำเนิด
- เด็กที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น เด็กที่ได้รับเคมีบำบัดหรือได้รับการปลูกถ่ายกระดูก
- ทารกที่อยู่ในสถานรับเลี้ยงเด็กที่แออัด
- ผู้ใหญ่ที่เป็นโรคหอบหืด
- ผู้สูงอายุ หรือเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
- ผู้ที่เป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง
- ผู้ที่เข้ารับการปลูกถ่ายอวัยวะ
- ผู้ที่เป็นโรคลิวคิเมียหรือผู้ติดเชื้อ HIV หรือเอดส์
เป็นต้น
อาการของโรคติดเชื้อทางเดินหายใจจากเชื้อไวรัสอาร์เอสวี
อาการโดยทั่วไปอาจจะเหมือนไข้หวัดธรรมดา แต่อาการจำเพาะของเชื้อนี้ที่มักพบในเด็กเล็กคือ หลอดลมฝอยอักเสบ โดยเริ่มแรกจะมีอาการเพียงเล็กน้อย เช่น ไข้ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ จนถึงอาการรุนแรง เช่น หายใจหอบเหนื่อย อกบุ๋ม ได้ยินเสียงปอดผิดปกติ เสียงหายใจดังวี้ด รับประทานอาหารได้น้อย และซึมลง ซึ่งการรักษาส่วนใหญ่เป็นการรักษาตามอาการ
วิธีป้องกันโรคติดเชื้อทางเดินหายใจจากเชื้อไวรัสอาร์เอสวี
ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อทางเดินหายใจจากเชื้อไวรัสอาร์เอสวี แต่สามารถลดความเสี่ยงของโรคได้ ดังนี้
- ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่ และน้ำสะอาด ควรสอนให้เด็ก ๆ ล้างมืออย่างถูกต้อง และรักษาสุขอนามัยส่วนตัว
- หลีกเลี่ยงการไปสถานที่ที่ผู้คนหนาแน่น ไม่ควรพาเด็กไปเล่นในที่ที่มีเด็กเล่นอยู่ด้วยกันจำนวนมาก
- ผู้ป่วยควรงดการออกนอกบ้านในช่วงที่ไม่สบาย เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อไปยังผู้อื่น
- ควรปิดปากปิดจมูกเวลาไอจาม ทำความสะอาดบ้าน และของเล่นเด็กเป็นประจำ
- ดื่มน้ำมาก ๆ
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- สำหรับพ่อแม่ผู้ปกครอง เมื่อบุตรหลานมีอาการป่วยเป็นไข้หวัด ควรแยกเด็กออกจากเด็กปกติเพื่อเป็นการป้องกันการแพร่เชื้อ
ลิงก์ผู้สนับสนุน
กระทู้/ข่าว อื่นๆ ที่น่าสนใจ
|
|
|
|
แจ้งลบกระทู้นี้
อ่าน 380 |
|
แสดงความคิดเห็น |
โดย ตนข่าว
IP: Hide ip
, วันที่ 27 ต.ค. 63
เวลา 10:19:04
|