• ให้ลูกดูมือถือเยอะ นึกว่าฉลาด ที่แท้ "ออทิสติกเทียม" |
โพสต์โดย ตนข่าว , วันที่ 14 ต.ค. 65 เวลา 11:29:22 IP: Hide ip |
กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เตือน เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี หลีกเลี่ยงการใช้สื่อมีจอทุกชนิด อย่างเช่นมือถือ แท็บเล็ต หรือโทรทัศน์ อาจส่งผลให้พัฒนาการล่าช้าในหลาย ๆ ด้าน เน้นพ่อแม่ใช้เวลาร่วมกันในครอบครัวให้มาก ช่วยส่งเสริมพัฒนาการที่ดีของเด็กได้
โลกออนไลน์ได้มีการแชร์เรื่องราวจากคุณแม่รายหนึ่ง ในกลุ่ม HerKid รวมพลคนเห่อลูก ที่ออกมาโพสต์ข้อความเตือนเกี่ยวกับพฤติกรรมที่เกิดขึ้นกับลูกสาวของตนเองที่มีอายุ 3 ขวบ 8 เดือน โดยมี 2โพสต์ ได้ระบุข้อความว่า
โพสต์ล่าสุด
อยากเตือนคุณพ่อคุณแม่ที่ให้ลูกดูยูทูปมากจนเกินไป สามารถพูดภาษาอังกฤษเป็นคำๆได้(ไม่ได้พูดเป็นประโยคสื่อสารนะคะ แค่คำศัพย์มากจากการ์ตูน) ไม่พูดภาษาไทย อย่าคิดว่าเป็นเรื่องดี ลูกฉลาดหรือเก่งนะคะ อยากบอกเลยจากประสบการณ์ตัวเอง ลูกของคุณอาจเข้าข่ายออทิสติกเทียม เพราะใช้ชีวิตในสังคมไม่ได้นะคะ อยากจะเตือนจริงๆ หยุดได้อยากให้หยุดเลย เดี๋ยวจะมาเสียใจทีหลังเหมือนบ้านนี้ค่ะ.
เอาจริงๆนะคะ ตอนแรกที่มีคนเตือนคนว่าแม่
ตอนนั้นรับไม่ได้เหมือนกันค่ะ คิดว่าลูกฉันเก่ง ลูกฉลาด ชอบใจใหญ่ค่ะ แต่พอไปๆมาๆ เริ่มหนักขึ้นทุกวัน เครียดมาก ลูกก็พูดไม่รู้เรื่อง คิดว่าถ้าลูกเข้า รร. จะรู้เรื่องขึ้น แต่ไม่เลย ไม่ค่อยมี. รร.ไหนจะรับเด็กแบบนี้ ตัดสินใจยอมรับและพาลูกเข้าปรึกษาหมอเลย
น้องเริ่มมีอาการตอน 1 ขวบกว่าๆนะคะ จากที่เคยเรียกแม่ ยาย หม่ำๆ เป็นคำได้ กลับไม่พูดอีกเลย ตอนนี้น้อง 3 ขวบ 8 เดือนยังพูดไม่ค่อยได้นะคะ รักษาอยู่. กินยาและบำบัด
โพสต์เมื่อวันที่ 17 ธันวา63 ที่ผ่านมา
แชร์ประสบการณ์ ลูกสาววัย. 3 ขวบกว่า พูดภาษาเอเลี่ยน ภาษาอังกฤษ พูดไม่รู้เรื่อง ซนตลอดเวลา สาเหตุเกิดจากน้องติดจอมากเกินไปวันนึง 2-6 ชม. เป็นความผิดของแม่เอง พ่อแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยจออย่าคิดว่ามีผลดีเพราะลูกพูดภาษาอังกฤษได้นะคะ อย่าแนะนำว่าคุณอาจจะคิดผิด และลูกอาจเป็นออทิสติกเทียมได้ค่ะ
วิธีสังเกตง่ายๆ
1.เรียกชื่อน้องแล้วน้องไม่หันไม่สนใจ
2.คุยด้วยแล้วไม่สบตา
3.แสดงบทบาทสมมุติไม่ได้
4.สนใจในสิ่งๆใดสิ่งหนึ่งเป็นพิเศษ
(เช่นลูกสาวชอบลูกไข่และสิ่งต่างๆที่เป็นทรงกลมมากๆ)
5.อารมณ์ร้ายและก้าวร้าว
6.พูดไม่เป็นภาษา (บอกอึฉี่ไม่ได้ บอกว่าต้องการอะไรไม่ได้. ร้องอย่างเดียว)
7.นอนยากตื่นง่าย พ่อแม่ไม่มีเวลาพักผ่อน(อาจจะเป็นโรคประสาทแบบแม่บ้านนี้)
ประมาณนี้นะคะ มีอีกหลายอย่าง
ถ้าลูกของพ่อแม่มีอาการแบบนี้ควรพาน้องไปหาหมอเพื่อรับการรักษานะคะ อย่าชะล่าใจคิดว่าไปโรงเรียรจะหายเอง จับอกว่าไม่หาบนะคะ อาจจะเป็นหนักกว่เดิมด้วย
ปัจจุบันตอนนี้น้องเอวาอายุ. 3 ขวบ 7 เดือน หักดิบหน้าจอเป็นเวลา 3 เดือนกว่า น้องเริ่มพูดภาษาไทยได้เป็นคำๆ เริ่มฟังมากขึ้น (ปล.ยังหาหมออยู่นะคะ)และหวังว่าลูกจะใช้ชีวิตเป็นปกติเหมือนเด็กคนอื่นไวๆค่ะ
สุดท้ายแล้ว ขอให้กำลังใจพ่อแม่ที่ต้องดูแลเด็กพิเศษทุกท่านนะคะ เข้าใจเลยค่ะว่ามันเหนื่อยกว่าดูแลเด็กปกติมากจริงๆ ต้องทำอะไรน่าอายต่อหน้าผู้คนก็เพราะว่ารักลูก
วิธีการสังเกตพฤติกรรมของเด็กที่เป็นออทิสติกเทียม
ขาดการโต้ตอบที่ดี
อาการออทิสติกเทียม มักจะมีพฤติกรรมที่ส่งสัญญาณอยู่เป็นระยะๆ พ่อแม่ไม่ควรมองข้ามไป พฤติกรรมแรกที่สังเกตได้อย่างง่ายเลยก็คือ ขาดการโต้ตอบที่ดี เด็กจะไม่โต้ตอบต่อพ่อแม่หรือสิ่งเร้ารอบตัวแบบผิดสังเกต ตัวอย่างพฤติกรรมดังกล่าวก็มี ไม่สบตาเวลาพูดคุยอะไรด้วย (มองไปทางอื่น สายตาลอกแลก) สองไม่ตอบสนองต่อเสียง แสง สีที่อยู่ใกล้ตัว (ไม่มีท่าทีตกใจ สนใจ) สามไม่สนใจคนรอบข้าง แม้จะเรียกก็ไม่หัน (ถึงแม้ว่าจะรู้ตัวว่าชื่ออะไรแล้วก็ตาม) สี่ไม่สนใจที่จะแสดงความรักต่อพ่อแม่ (ไม่ยอมให้อุ้ม กอด หอมแก้ม เล่นด้วยกัน)
ติดโทรศัพท์
หนึ่งในพฤติกรรมที่ต้องบอกว่ามันคือปัญหาระดับชาติเลยก็คือ อาการติดโทรศัพท์ตรงนี้ส่งผลต่อการเป็นออทิสติคเทียมโดยตรงกล่าวคือ หากเด็กมีความต้องการโทรศัพท์ตลอดเวลา เวลาไม่ได้เล่นโทรศัพท์ก็จะอาละวาด โวยวาย โมโหร้าย ร้องไห้ฟูมฟาย หรืออาการหนักมากจะระบายออกมาด้วยการทำลายข้าวของเสียหาย ทุบตีทำร้ายคนในบ้าน ถ้าเป็นแบบนี้บอกเลยว่าหาหมอด่วนเลย
แสดงออกไม่เป็น
จากพฤติกรรมติดโทรศัพท์ ติดโทรทัศน์มากเกินไป ผลที่เกิดขึ้นก็คือ ทำให้เด็กไม่สามารถแสดงออกได้อย่างถูกต้อง เริ่มตั้งแต่บางคนยังไม่สามารถพูดได้แม้ว่าจะถึงวัยพูดแล้วก็ตาม ยังอ้อแอ้ไม่เป็นภาษาอยู่ บางคนก็ไม่สามารถแสดงอาการ ความต้องการของตัวเองขึ้นมาได้ นั่นทำให้ไม่สามารถสื่อสารกับคนรอบข้างได้ จึงได้แต่แสดงอารมณ์อย่างรุนแรงออกมาก
การอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น
ไม่เพียงแต่คนในบ้านเท่านั้น ออทิสติกเทียม ยังส่งผลถึงการอยู่อาศัยร่วมกับคนอื่นด้วย สัญญาณสำคัญของเด็กที่มีโอกาสเกิดภาวะออทิสติกเทียมได้ก็คือ เค้าจะไม่สามารถเล่นร่วมกับคนอื่นได้เลย เล่นแล้วมีปัญหาตลอด รวมถึงเค้ายังสื่อสารออกมาแตกต่างจากเด็กวัยเดียวกันด้วย พ่อแม่ตั้งสังเกตให้ดี สัญญาณเหล่านี้เป็นเรื่องสำคัญมาก หากรู้สึกผิดสังเกตให้รีบไปพบแพทย์ทันที หรือ ตอนที่ไปตรวจเช็คพัฒนาการปรึกษาหมอไว้เลยจะได้แก้ไขทัน
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เตือน เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี หลีกเลี่ยงการใช้สื่อมีจอทุกชนิด อย่างเช่นมือถือ แท็บเล็ต หรือโทรทัศน์ อาจส่งผลให้พัฒนาการล่าช้าในหลาย ๆ ด้าน เน้นพ่อแม่ใช้เวลาร่วมกันในครอบครัวให้มาก ช่วยส่งเสริมพัฒนาการที่ดีของเด็กได้
นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ทุกวันนี้หลาย ๆ ครอบครัวมักจะนำเทคโนโลยีเข้ามาเลี้ยงลูกกันมากขึ้น หรือปล่อยให้เด็กอยู่กับสื่อเทคโนโลยี เช่น มือถือ แท็บเล็ต หรือให้ดูทีวีทั้งวัน เพื่อให้เด็กสงบนิ่ง หรือหยุดร้องไห้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ เพราะในเด็กวัยต่ำกว่า 2 ปี ไม่ควรเล่นหรือดูสื่อเหล่านี้เด็ดขาด เพราะมีผลทำให้พัฒนาการล่าช้า และในเด็กแรกเกิดถึง 3 ปี เป็นช่วงวัยที่สำคัญที่สุด ในการเรียนรู้ เนื่องจากสมองของเด็กจะพัฒนาสูงสุด ซึ่งมีสิ่งแวดล้อมโดยรอบจะเป็นตัวกระตุ้นส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสมองในช่วงต้น หากปล่อยให้เด็กใกล้ชิดสื่อเหล่านี้มากเกินไปโดยไม่กำหนดเวลาดูหรือเลือกสื่อ ที่ไม่เหมาะสม จะส่งผลเสียหลายด้าน คือ 1) ด้านการสื่อสาร พูดช้า พูดไม่ชัด ขาดความคิดสร้างสรรค์ และ การจ้องมองจอภาพเป็นเวลานานจะส่งผลเสียกับดวงตาได้ เช่น ทำให้สายตาสั้น ดวงตาแห้ง 2) ด้านร่างกาย จะไม่แข็งแรง เหนื่อยง่าย ขาดการเคลื่อนไหวออกกำลังกายตามที่ควรจะเป็นหรืออาจส่งผลให้เป็นเด็กขี้เกียจได้ 3) ด้านอารมณ์ ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ เพราะเด็กแยกแยะโลกของอินเทอร์เน็ตกับความจริงไม่ได้ หงุดหงิดง่าย ใจร้อน รอคอยไม่เป็น เด็กขาดสมาธิไม่จดจ่อหรือตั้งใจทำกิจกรรมใด และ 4) ด้านพฤติกรรม จะก้าวร้าว ซน สมาธิสั้น มีพฤติกรรมคล้ายออทิสติก คือดื้อ ต่อต้าน โลกส่วนตัวสูง สื่อสารกับคนอื่นน้อย
“ทั้งนี้ เวลาในการใช้สื่อเทคโนโลยีที่เหมาะสมควรคำนึงถึงช่วงอายุเป็นหลักคือ เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ให้หลีกเลี่ยงการใช้สื่อมีจอทุกชนิด (ยกเว้นวิดีโอแชท) สำหรับเด็กอายุ 2-5 ปี ให้จำกัดเวลาการใช้สื่อมีจอ ไม่ควรเกินวันละ 1 ชั่วโมง และควรเลือกโปรแกรมหรือแอปพลิเคชันที่มีคุณภาพให้เหมาะสมกับวัยและใช้ไปด้วยพร้อมกันกับเด็ก ซึ่งจะช่วยให้เด็กเข้าใจสิ่งที่เห็นได้มากขึ้น สิ่งสำคัญคือพ่อแม่หรือผู้ปกครองเด็กควรหลีกเลี่ยง การใช้สื่อมีจอเพื่อให้เด็กสงบนิ่ง หรือหยุดร้องไห้ ถึงแม้ว่าจะเป็นการใช้แค่ช่วงเวลาสั้น ๆ ก็ตาม เนื่องจากการใช้สื่อมีจออาจทำให้เด็กสงบได้จริง แต่นำมาซึ่งปัญหาการไม่สามารถจำกัดเวลาการเล่นได้ และที่สำคัญพ่อแม่หรือผู้ปกครองควรตระหนักถึงคือช่วงพัฒนาการของเด็กตั้งแต่แรกเกิด – 5 ปี ถือเป็นรากฐานของชีวิต พ่อแม่จึงควรหลีกเลี่ยงการเลี้ยงลูกด้วยมือถือ แล้วหันมาใช้เวลาสร้างความสัมพันธ์ร่วมกันในครอบครัว เพราะพัฒนาการที่ดีของเด็ก ๆ เริ่มต้นจากสิ่งเล็ก ๆ ที่ได้เรียนรู้ พาลูกเล่น เรียน ทำกิจกรรมร่วมกัน และไม่ลืมที่จะโอบกอดแสดงความรักระหว่างกันในครอบครัว สิ่งเหล่านี้จะส่งเสริมให้พัฒนาการต่าง ๆ ของเด็กได้ดีกว่าวิธีอื่น” นายแพทย์สุวรรณชัย กล่าว
ขอบคุณข้อมูล : กรมอนามัย
ลิงก์ผู้สนับสนุน
กระทู้/ข่าว อื่นๆ ที่น่าสนใจ
|
|
|
|
แจ้งลบกระทู้นี้
อ่าน 443 |
|
แสดงความคิดเห็น |
โดย ตนข่าว
IP: Hide ip
, วันที่ 14 ต.ค. 65
เวลา 11:29:22
|