กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
บ๊วย (อังกฤษ: Chinese plum, Japanese apricot; ชื่อวิทยาศาสตร์: Prunus mume) เป็นผลไม้ที่อยู่ในสกุล Prunus มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน และพบในไต้หวัน, ญี่ปุ่น, เกาหลี, เวียดนาม และลาว ในประเทศไทยนิยมปลูกบริเวณภาคเหนือของไทย เช่น ดอยอ่างขาง ในโครงการหลวง โดยนำพันธุ์มาจากไต้หวันและญี่ปุ่น ใบขนาดเล็ก สีเขียวอมเทา ขอบใบหยักฟันเลื่อย ดอกมีกลิ่นหอม สีขาวหรือชมพู ผลเล็ก ทรงกลม เมื่ออ่อน ผลสีเขียว เมื่อสุกสีเหลิอง เนื้อนิ่ม รสเปรี้ยวอมหวาน เมล็ดแข็ง
ประโยชน์ของบ๊วย
บ๊วยจัดเป็นผลไม้ที่มีสรรพคุณหลายอย่าง และเป็นที่รู้จักกันดีในการนำเอาผลไปใช้ประโยชน์ เช่น การนำไปทำเป็นน้ำบ๊วย เพื่อ
1. ช่วยในการเพิ่มกำลัง บรรเทาอาการอ่อนเพลีย
2. ช่วยในการเสริมสร้างระบบการย่อยอาหาร
3. ช่วยลดมลพิษและอาหารที่เป็นพิษที่ร่ายกายและยังช่วยลดกรดในกระเพาะอาหาร
4. ช่วยแก้เหงือกอักเสบที่เป็นปัญหาของกลิ่นปาก
5. แก้อาการเมาค้าง ไม่ว่าจะเกิดจากการดื่มสุรา หรือจากการเดินทาง เช่น เมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน ช่วยแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน และอาหารไม่ย่อย
6. ช่วยปรับสมดุลในกระเพาะอาหารให้มีความมั่งคงแข็งแรง
7. ช่วยแก้อาการแพ้ท้อง
8. ช่วยลดอาการกระหายน้ำ ลดการเสียเหงื่อในร่ายกาย
โดยส่วนใหญ่นำไปแปรรูปเป็นบ๊วยแช่อิ่ม, บ๊วยดอง, บ๊วยเค็ม หรือใช้ทำอาหารเช่น น้ำจิ้มบ๊วย, ซอสบ๊วย, ปลานึ่งบ๊วย เป็นต้น
บ๊วย เป็นผลไม้เมืองหนาวที่มีแหล่งกำเนิดในประเทศจีน ต่อมาภายหลังได้แพร่กระจายไปหลายประเทศ เช่น ประเทศญี่ปุ่น ไทย ลาว พม่า เวียดนาม ไต้หวัน ฯลฯ สำหรับในประเทศไทยมีการเพาะปลูกกันมานานแล้ว โดยได้แพร่เข้ามาทางภาคเหนือ เช่น จังหวัดเชียงราย โดยสายพันธุ์ที่นิยมเพาะปลูกกัน ได้แก่
- บ๊วยพันธุ์เชียงราย หรือ บ๊วยพันธุ์แม่สาย บ๊วยชนิดนี้จัดเป็นพันธุ์พื้นเมืองดั้งเดิมของไทย ต้องปลูกในพื้นที่ที่มีความสูงตั้งแต่ 500 เมตรขึ้นไป และยังมีข้อเสียก็คือ ผลมีขนาดเล็กไม่ตรงกับความต้องการของโรงงานแปรรูป
- บ๊วยพันธุ์ปิงติง สายพันธุ์นี้เป็นพันธุ์ที่นำเข้ามาจากไต้หวัน เหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่ที่มีความสูงตั้งแต่ 700 เมตรขึ้นไป
- บ๊วยพันธุ์เจียนโถ พันธุ์นี้เป็นพันธุ์ที่นำเข้ามาจากไต้หวันเช่นเดียวกัน และเหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่ที่มีความสูงตั้งแต่ 700 เมตรขึ้นไป
- บ๊วยพันธุ์บารมี 1 หรือ บ๊วยพันธุ์ขุนวาง 1 สายพันธุ์นี้เป็นพันธุ์ที่ถูกคัดเลือกมาจากศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ จุดเด่นก็คือ ลักษณะของผลจะมีขนาดใหญ่และเหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่ที่มีความสูงตั้งแต่ 700 เมตรขึ้นไป
- บ๊วยพันธุ์บารมี 2 หรือ บ๊วยพันธุ์ขุนวาง 2 สายพันธุ์นี้เป็นพันธุ์ที่ถูกคัดเลือกมาจากศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่เช่นกัน นอกจากจะให้ผลที่มีขนาดใหญ่แล้ว ยังให้ผลผลิตที่สูงอีกด้วย และเหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่ที่มีความสูงตั้งแต่ 700 เมตรขึ้นไป
ลักษณะของบ๊วย
ลิงก์ผู้สนับสนุน
กระทู้/ข่าว อื่นๆ ที่น่าสนใจ
|
|
|
|