กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
กระทรวงสาธารณสุข เชิญชวนกลุ่มเสี่ยงเข้ารับการฉีดวัคซีนโรคโควิด 19 ตามแผนเมื่อได้รับการติดต่อนัดหมาย เพื่อช่วยลดความรุนแรงของโรค ลดการเสียชีวิต ลดการป่วยที่นอนในโรงพยาบาล โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงชายที่พบจำนวนการเสียชีวิตมากกว่าหญิง 3 เท่าตัวในการระบาดของโรคระลอกใหม่
นายแพทย์โสภณ เมฆธน ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานอนุกรรมการอำนวยการบริหารจัดการการให้วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้สัมภาษณ์ว่า กระทรวงสาธารณสุข ได้เริ่มฉีดวัคซีนให้กับกลุ่มเสี่ยงใน 13 จังหวัดเป้าหมายระยะแรก ตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ -วันที่ 18 มีนาคม 2564 มีผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนสะสม 61,791 ราย เป็นผู้ชายร้อยละ 35.5 ผู้หญิงร้อยละ 64.5 อายุเฉลี่ย 44 ปี โดยเป็นบุคลากรทางการแพทย์ประมาณร้อยละ 50.25 เจ้าหน้าที่ด่านหน้ารวม อสม. ร้อยละ 11.08 ผู้มีโรคประจำตัวร้อยละ 6.26 ประชาชนกลุ่มเสี่ยงทั่วไปร้อยละ 32.39 และผู้สูงอายุ60 ปีขึ้นไป ฉีดไปแล้วร้อยละ 0.02 (ข้อมูล Official Line หมอพร้อม ณ วันที่ 19 มีนาคม 2564 เวลา 15.48 น.) เนื่องจากเพิ่งเริ่มฉีดหลังจากได้รับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า ทั้งนี้ มีรายงานเป็นผื่นลมพิษ 2 รายหลังฉีดวัคซีน ซึ่งเป็นอาการที่พบได้ในการฉีดวัคซีนทั่วไป
นายแพทย์โสภณกล่าวต่อว่า มีผลการวิจัยยืนยันชัดเจนว่าวัคซีนโควิดมีประโยชน์ในเรื่องของการลดการป่วยและลดการเสียชีวิต และยังมีข้อมูลที่น่าสังเกตในกลุ่มผู้เสียชีวิตในการระบาดระลอกใหม่ ซึ่งเป็นผู้ชายมากถึง 22 รายสูงกว่าผู้หญิงที่พบเพียง 7 ราย ในขณะที่ผู้ที่มารับการฉีดวัคซีนกลายเป็นผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย จึงขอเชิญชวนผู้ชายในพื้นที่เป้าหมายซึ่งเป็นเสาหลักของครอบครัว เข้ารับการฉีดวัคซีนทันทีเมื่อได้รับการติดต่อนัดหมาย เพื่อให้มั่นใจว่าวัคซีนจะช่วยลดความรุนแรงของโรค ลดการเสียชีวิต และลดการป่วยที่ต้องนอนในโรงพยาบาล สามารถดูแลคนในครอบครัวต่อไป นอกจากนี้ นักวิชาการยังเชื่อว่าวัคซีนจะช่วยลดการแพร่โรคในครอบครัวได้ หากพ่อแม่ได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว แม้จะได้รับเชื้อแต่เชื้อจะน้อยลง ไม่สามารถแพร่เชื้อให้คนในครอบครัว เพราะลูกๆ หลานๆ ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปียังฉีดวัคซีนไม่ได้
สำหรับวัคซีนที่ประเทศไทยมีอยู่ขณะนี้มาจาก 2 บริษัท คือ ซิโนแวค ประเทศจีนฉีดให้กับประชาชนอายุ 18 - 59 ปี เนื่องจากมีข้อมูลด้านปลอดภัย หรือประสิทธิภาพของวัคซีนในกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไปยังมีน้อย จึงฉีดให้กลุ่มเป้าหมายในพื้นที่เสี่ยงอายุ 18 - 59 ปี ส่วนวัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้าฉีดได้ทุกกลุ่มอายุ ตั้งแต่อายุ 18 ขึ้นไป รวมถึงผู้สูงอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป ดังนั้นในระยะแรก ที่มีวัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้า เพียง 100,000 กว่าโดสจึงนำไปใช้ฉีดเสริมในกลุ่มที่มีอายุ 60 ขึ้นไป ทั้งบุคลากรทางการแพทย์ อสม. เจ้าหน้าที่ที่ทำงานด่านหน้า ตลอดจนประชาชนในจังหวัดที่ได้รับวัคซีนชิโนแวค ซึ่งยังไม่ได้ฉีดให้กับกลุ่มผู้สูงอายุตามข้อจำกัดของวัคซีน เมื่อมีวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้ามากขึ้นในเดือนมิถุนายนจะนำไปฉีดให้กับทุกกลุ่มอายุตามแผนการฉีดวัคซีนที่วางไว้
ลิงก์ผู้สนับสนุน
กระทู้/ข่าว อื่นๆ ที่น่าสนใจ
|
|
|
|