• ต้องรุ้ !! โควิด-19 สายพันธุ์อังกฤษ แตกต่างจากสายพันธุ์ปกติอย่างไร |
โพสต์โดย ตนข่าว , วันที่ 08 เม.ย. 64 เวลา 23:26:10 IP: Hide ip |
กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
โควิด-19 สายพันธุ์อังกฤษ แตกต่างจากสายพันธุ์ปกติอย่างไร
หลายคนติดตามข่าวสารสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด – 19 ระลอกใหม่ที่กำลังแพร่ระบาดรวดเร็ว คงได้รับข้อมูลจากทางผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณะสุขแล้วว่า ไวรัสโควิด-19 รอบนี้เป็นสายพันธุ์ที่พัฒนาวิวัฒนาการขึ้นมาเฉพาะถิ่น หรือเรียกว่าการกลายพันธุ์ โดยเป็นโควิด-19 สายพันธุ์อังกฤษที่ระบาดในสหราชอาณาจักร ยุโรป และอเมริกา ต่างจากสายพันธุ์ท้องถิ่นก่อนหน้าที่มาจากประเทศจีนและเมียนมา
ทำให้ไวรัสกลายพันธุ์นี้มีคุณสมบัติเฉพาะตัวที่อาจทำให้ไทยรับมือการแพร่ระบาดในวงกว้างได้ยากกว่าเดิม
ศ.นพ.โอภาส พุทธเจริญ หัวหน้าศูนย์โรคอุบัติใหม่ทางคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยระบุว่า โควิดสายพันธุ์ B.1.1.7(GR,G) ซึ่งประเทศที่พบครั้งแรกในอังกฤษ เมื่อเดือนกันยายน 2563 ส่วนใหญ่อยู่ในอังกฤษ มีการกระจายไปในประเทศอเมริกา และประเทศอื่นๆ ในยุโรปแล้ว โดยตำแหน่งที่กลายพันธุ์เป็นตำแหน่งพิเศษคืออยู่บนผิวไวรัส ทำให้ไวรัสมีคุณสมบัติจับผิวเซลล์มนุษย์ได้ดีขึ้น อีกทั้ง ในห้องทดลอง พบว่าไวรัสมีประสิทธิภาพในการแบ่งตัวดีขึ้น เพราะฉะนั้นไวรัสในโพรงจมูกก็จะมาก และติดเชื้อง่าย
The New York Time รายงานข้อมูลของสำนักระบาดวิทยาแห่งสหรัฐที่ระบุว่า ผลของการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของไวรัสสายพันธุ์นี้ ทำให้มันสามารถเกาะกับเซลล์ได้แน่นขึ้น เข้าสู่ร่างกายได้เร็ว จึงแพร่กระจายเร็ว อีกทั้งไวรัสสามารถเลี่ยงหลบการถูกภูมิต้านทานเข้ามาทำลายได้ ทำให้มีอาการเป็นไข้ตัวร้อนได้ เพราะการติดเชื้อ
เมื่อไวรัสมาเกาะที่เซลล์ ก็จะเจาะผนังเซลล์ให้ร่างกายจะปล่อยเอนไซม์มาเพื่อเปิดทางให้ไวรัสเข้าไป เหมือนเปิดจุกไวน์ให้เปิดออก การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางพันธุกรรมของมันทำให้เอนไซม์เข้ามาปลดล๊อกได้ง่ายขึ้น ไวรัสจึงเข้าไปในเซลล์ได้เร็วขึ้นนั่นเอง
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกมาอธิบายว่า โควิด-19 สายพันธุ์อังกฤษ คือ แพร่กระจายได้เร็วมาก จึงไม่แปลกว่าเหตุใดสถานบันเทิงจึงมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นมาก ซึ่งมากกว่าปีที่แล้ว 10 เท่า และการติดเชื้อส่วนใหญ่จะแสดงอาการน้อย แต่ไวรัสในลำคอจะมีปริมาณมาก หากผู้ติดเชื้อเดินทางไปได้ไกล หรือเดินทางไปหาผู้สูงวัย
ความรุนแรงของโรค จะทำให้โอกาสเกิดปอดบวมสูง โอกาสเสียชีวิตเพิ่มขึ้นตามอายุที่มากขึ้น ในปีนี้จึงมีความน่าเป็นห่วงอย่างมาก เพราะการเคลื่อนย้ายของประชาชนเป็นเหตุทำให้การแพร่กระจายของโรคไปได้ไกล และช่วงสงกรานต์ปีนี้ไม่สามารถปิดกั้นคนได้แล้ว
ในอังกฤษเรียกสายพันธุ์นี้สั้นๆ ว่า “สายพันธุ์เคนท์” เนื่องจากพบครั้งแรกที่เมืองเคนท์ ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศเมื่อเดือนกันยายนปีที่ผ่านมา จะกลายเป็นสายพันธุ์ย่อยของโควิด-19 ที่จะแพร่ระบาดและครอบงำไปทั่วโลก ขณะที่มีการตรวจพบสายพันธุ์นี้ระบาดไปแล้ว 50 ประเทศในเวลานี้
ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า สายพันธุ์เคนท์ซึ่งแพร่ระบาดไปทั่วอังกฤษจนทำให้รัฐบาลต้องประกาศล็อกดาวน์เป็นรอบที่ 2 เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ สามารถแพร่กระจายได้เร็วขึ้นกว่าสายพันธุ์เดิม 70% และเป็นเหตุให้ถึงแก่ชีวิตเพิ่มมากขึ้นกว่าทุกสายพันธุ์ย่อย 30%
การกลายพันธุ์โครงสร้างทางพันธุกรรมของไวรัสสายพันธุ์เคนท์ จากอังกฤษ ที่ทำให้ไวรัสสายพันธุ์นี้แพร่ระบาดได้รวดเร็วขึ้น 1.7 เท่า ดังนั้นจึงไม่แปลกใจว่าทำไมถึงพบผู้ติดเชื้อรวดเดียวหลายคนในหลายจังหวัดพร้อมๆ กัน
ลิงก์ผู้สนับสนุน
กระทู้/ข่าว อื่นๆ ที่น่าสนใจ
|
|
|
|
แจ้งลบกระทู้นี้
อ่าน 3502 |
|
แสดงความคิดเห็น |
โดย ตนข่าว
IP: Hide ip
, วันที่ 08 เม.ย. 64
เวลา 23:26:10
|