กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
กลุ่มรักษ์ป่าน้ำลึม เดินหน้าฟื้นฟูป่าสร้างสรรค์เศรษฐกิจชุมชน
ข้าราชการที่ยึดมั่นในอุดมการณ์ จึงมีจิตสำนึกในการเป็นผู้ให้บริการประชาชน ยึดหลักความโปร่งใสในการปฏิบัติราชการ ไม่แสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ ปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างของข้าราชการและประชาชน ตลอดจนยึดมั่นในศีลธรรมอันดี และจิตสำนึกในการเป็นผู้ให้บริการประชาชน
คุณสมบัติข้างต้นคงเป็นสิ่งที่ประชาชนอยากเห็นในตัวข้าราชการทุกคน ดังเช่นนายตำรวจท่านหนึ่ง ที่ได้จัดสรรเวลานอกราชการมาทำงานจิตอาสา อย่างสม่ำเสมอ ทั้งการเป็น ประธานราษฎร อาสาสมัครพิทักษ์ป่าตำบลน้ำรึม, ประธานจิตอาสากลุ่มรักป่ารักน้ำรึม, รองประธานป่าชุมชนบ้านคลองสัก ซึ่งในทุกงานที่อาสา ร้อยตำรวจเอกสุชาติ มีชะคะ รองสารวัตรอำนวยการพิสูจน์หลักฐานจังหวัดตาก ก็ลงมือทำอย่างเต็มกำลังความสามารถเสมอมา
นอกจากนี้ยังได้ชักชวนจิตอาสาในจังหวัดตากมารวมตัวกันทำกิจกรรมจิตอาสาทุกวันอาทิตย์ ซึ่งร้อยตำรวจเอกสุชาติ ได้พูดถึงเรื่องนี้ว่า “การทำงานร่วมกันของจิตอาสาบางครั้งก็ระบุไม่ได้เลยว่าอาทิตย์ไหน ใครจะสะดวกมาช่วยบ้าง เพราะ คนที่จะสละเวลามาทำสม่ำเสมอค่อนข้างยาก อย่างเราที่เป็นข้าราชการ มีเงินเดือนจากการรับราชการ เพราะฉะนั้นในวันหยุดเราจึงสามารถมาทำงานจิตอาสาได้อย่างเต็มกำลัง แต่อีกหลายๆคน เขาทำงานรับจ้าง ได้เงินเป็นรายวัน วันไหนที่เขามาทำงานจิตอาสา ก็หมายความว่า วันนั้นเขาก็จะไม่มีรายได้ การทำงานจิตอาสา เราต้องเข้าใจความต่างในวิถีชีวิตของทุกคนด้วย”
“กลุ่มรักษ์ป่าน้ำลึม” คืออีกรูปธรรมหนึ่งที่ ร้อยตำรวจเอกสุชาติ และกลุ่มอาสาสมัครได้ร่วมกันขับเคลื่อน โดยมีเป้าหมายในการฟื้นฟูป่า ทำความดีถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชการที่ 9 สู่การเข้าร่วมเป็นจิตอาสาในโครงการ “คนรักษ์ป่า ป่ารักชุมชน” ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และในการเข้าร่วมในโครงการนี้เอง จึงทำให้คนอื่นๆในชุมชนได้เข้ามาร่วมไม้ร่วมมือ ในการดูแลป่า โดยได้แนวทางในการฟื้นฟูป่าจากศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งเป็นพื้นที่ศึกษาการพัฒนา ป่าไม้ พื้นที่ต้นน้ำลำธาร ให้ได้ผลอย่างสมบูรณ์ โดยหลังจากได้ไปดูงานศึกษากิจกรรมต่าง ๆ แล้วก็นำกลับมาประยุกต์ใช้ในการสร้างป่าชุมชนและสร้างฝาย ในพื้นที่ของตัวเอง
อย่างไรก็ตามเส้นทางการดูแลป่าชุมชน ก็ไม่ได้ราบรื่นนัก เพราะในหลายๆครั้ง คนที่เคยเข้าไปเก็บของป่าก็ไม่ได้คำนึงถึงการดูแลรักษา ผู้เสียประโยชน์จากการสร้างป่าชุมชนตำบลน้ำรึม ได้เคยลักลอบจุดไฟเผาป่า ในบริเวณป่าชุมชนหลายครั้ง แต่ทุกอุปสรรคที่เหล่าจิตอาสาได้เผชิญ ก็ยิ่งเหมือนเป็นการช่วยเติมความมุ่งมั่นในการสร้างผืนป่าให้อุดมสมบูรณ์ยิ่งขึ้น และด้วยความมุ่งมั่นในการพลิกฟื้นป่าชุมชน ทำให้ร้อยตำรวจเอกสุชาติ มีชะคะ รองประธานป่าชุมชนบ้านคลองสัก ได้เป็นตัวแทนรับมอบโล่รางวัลชนะเลิศป่าชุมชนระดับจังหวัด โครงการ “คนรักษ์ป่า ป่ารักชุมชน” ประจำปี 2563 จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
จากกลุ่มอาสากลุ่มเล็กๆ ที่มุ่งมั่นตั้งใจทำงานอย่างต่อเนื่อง ทุกวันนี้จึงมีอาสาสมัครกว่า 60 คน ที่อาสามาร่วมดูแล รักษาป่าชุมชนร่วมกับร้อยตำรวจเอกสุชาติ และจากประสบการณ์ที่ผ่านมา ทำให้เหล่าจิตอาสา ช่วยกันสลับหมุนเวียนเปลี่ยนกันไปประจำการณ์ที่หอดูไฟ ในป่าชุมชน เพื่อเฝ้าระวัง และป้องกันการเกิดไฟป่าลุกลาม และฟื้นป่าชุมชนให้เป็นป่าเศรษฐกิจ เพื่อช่วยสร้างรายได้ให้คนในท้องถิ่น
“การที่เราจะฟื้นฟูป่าชุมชนที่ยั่งยืนสิ่งแรกที่เราควรทำ คือ การฟื้นฟูใจผู้คนในชุมชน จากนั้นก็ต้องศึกษาพื้นที่ป่า และพันธุ์พืชในป่าชุมชน ว่าในป่าชุมชนมีพืชใดเป็นไม้ท้องถิ่น และพืชใดเป็นพืชเศรษฐกิจ เพราะการปลูกไม้ดั้งเดิมในท้องถิ่น ผสมผสานกับปลูกพืชเศรษฐกิจที่สามารถสร้างรายได้ ให้แก่คนท้องถิ่น เพื่อทำให้พื้นที่ป่าชุมชนมีป่าที่มีสภาพใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุด” ร้อยตำรวจเอกสุชาติ เน้นย้ำวิธีการสำคัญในการฟื้นฟูป่า
ดอกผลจากความมุ่งมั่นในการสร้างป่าเศรษฐกิจ ทำให้จังหวัดตาก ขึ้นชื่อในเรื่องของผักหวานป่า ซึ่งในธรรมชาติค่อนข้างเยอะแต่ด้วยชาวบ้านเข้าใจผิดว่าการเผาป่าทำให้ผักหวานออก จึงทำให้พื้นที่ป่าส่วนใหญ่เสื่อมโทรม และปริมาณผักหวานป่าก็ลดลง ร้อยตำรวจเอกสุชาติ และกลุ่มจิตอาสา จึงช่วยกันสร้างความเข้าใจกันชาวบ้าน เรื่องการดูแลและสร้างป่าเศรษฐกิจ โดยติดตามเข้าไปดูในพื้นที่ป่าชุมชน ต่อเนื่องมา 5ปี พบว่ามีต้นผักหวานป่าถูกรูดใบเพื่อเก็บเกี่ยว และปริมาณไฟป่าก็ลดน้อยลงจนทุกวันนี้ชุมชนเลิกเผาป่า และเก็บผักหวานด้วยการรูดใบผักหวานทั้งต้น เพื่อให้ต้นผักหวานแตกใบอ่อนออกมาใหม่ ผักหวาน คือตัวบ่งชี้ว่าสิ่งที่เพียรพยายามได้เห็นผลแล้ว แต่ในบางปีการเกิดไฟป่า ก็จะทำให้ผักหวานป่า และไม้พื้นถิ่นอื่นๆได้รับความเสียหาย และล้มตายลงไป ร้อยตำรวจเอกสุชาติ และกลุ่มจิตอาสา จึงได้รวมตัวกันเก็บเมล็ดพันธุ์ เพื่อนำกลับไปปลูกทดแทน ทั้งเมล็ดมะขามเปรี้ยว เมล็ดต้นมะค่า เมล็ดสะเดา เมล็ดผักหวานป่า เป็นต้น จากที่เคยลองใช้กล้าไม้ที่ได้มาจากการเพาะชำแล้วเอามาลงดินโอกาสรอด มีแค่ 5% จึงปรับมาใช้การปลูกด้วยเมล็ดเป็นหลักเพราะเปอร์เซ็นต์ในการใช้เมล็ดจะรอดสูงกว่า อัตราการงอกไม่น้อยกว่า 30- 40%
ปัจจุบันป่าเศรษฐกิจที่ดำเนินงาน“กลุ่มรักษ์ป่าน้ำลึม” จึงเป็นป่าที่มีความหลากหลายทางสายพันธุ์ สามารถสร้างรายได้ และสร้างความเชื่อมโยงระหว่างคนกับป่า เพราะคนในชุมชนจะสามารถเข้าป่าเพื่อเก็บพืชผักมาประกอบอาหารเมื่อไหร่ก็ได้.
ลิงก์ผู้สนับสนุน
กระทู้/ข่าว อื่นๆ ที่น่าสนใจ
|
|
|
|