กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
ต้นแบบความเข้มแข็งในการจัดการของชุมชนร่วมสร้างมรดกทางธรรมชาติ พัฒนาสู่แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ชื่อดัง”ดอยโจ้โก้”ต.ดงคู่ ให้อยู่คู่สุโขทัยเมือง “มรดกโลก”
นายปรกรณ์ แหลมหลัก หนึ่งในผู้นำจิตอาสาด้านการอนุรักษ์เปิดเผยว่า จ.สุโขทัย เป็นเมือง “มรดกโลก” ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ และผู้คนก็ยังคงไว้ซึ่งวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมเรียบง่าย เป็นอีกหนึ่งจังหวัดน่าเที่ยว นอกจากจะได้สัมผัสความยิ่งใหญ่ของอาณาจักรที่เก่าแก่ผ่าน มีโบราณสถาน งานศิลปกรรมต่างๆ ที่เป็นเอกลักษณ์ สุโขทัยยังเต็มไปด้วยความงดงามทางธรรมชาติ รวมถึงชุมชนที่น่ารักมี และเสน่ห์ เช่น สถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์จุดชมวิวดอยโจ้โก้และตลาดประชารัฐตำบลดงคู่ (ตลาดดอยโจ้โก้)ที่เกิดจากความร่วมมือของคนในชุมชนที่ช่วยกันอนุรักษ์ และดูแลป่าชุมชน บนพื้นที่ราชพัสดุ จำนวน 8 ไร่ ที่บริหารจัดการโดยคนในชุมชน และเป็นอีกหนึ่งสถานที่ ที่นักท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ไม่ควรพลาด ทั้งนี้พื้นที่ตำบลดงคู่ แบ่งเขตการปกครอง เป็น 7 หมู่บ้าน (ประกอบด้วยหมู่บ้าน หมู่1 บ้านดงคู่ , หมู่2 บ้านดงคู่ใต้ , หมู่3 บ้านธารทอง , หมู่4 บ้านดงสักลาย , หมู่5 บ้านห้วยสัก , หมู่7 บ้านหมอนสูง , หมู่7 บ้านหาดเสี้ยว) ทางเข้าตำบล 2 ข้างทางมีสภาพแวดล้อมเป็นป่ารกร้าง เต็มไปด้วยพืชพรรณไม้ จึงเป็นที่มาของชื่อ ตำบลดงคู่ ที่ตำบลของเรามีการประชุมเดือนละครั้ง จะมีผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้าน เจ้าหน้าที่ส่วนท้องถิ่น เจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และตัวแทนจากโรงงานในพื้นที่ มาร่วมประชุม เพื่อแจ้งข่าวสาร แลกเปลี่ยนข้อมูล รวมถึงการทำข้อตกลงต่างๆร่วมกัน เพื่อการดูแล และพัฒนาพื้นที่ ที่ยั่งยืน
ผู้นำจิตอาสาด้านการอนุรักษ์ผู้นี้เล่าว่า การพูดคุยแลกเปลี่ยนกันอย่างสม่ำเสมอของท้องถิ่นจึงทำให้เกิดการพัฒนาพื้นที่ มีการวางแผน การตัดสินใจ และการดําเนินงาน โดยให้คนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมมากที่สุด เพื่อให้การขับเคลื่อนเป็นไปตามความต้องการของคนในท้องถิ่นอย่างแท้จริงจนทำให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ขึ้นในพื้นที่การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เป็นการท่องเที่ยวเพื่อเข้าใจธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและการจัดการเพื่อรักษาระบบนิเวศให้ยั่งยืน ครอบคลุมถึงขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น และในขณะเดียวกันก็ช่วยสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจที่ส่งผลให้การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเกิดประโยชน์ต่อประชาชนท้องถิ่นและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอีกด้วย
การเข้าใช้ใช้พื้นที่ราชพัสดุ ตำบลดงคู่ ถือเป็นอีกหนึ่งสถานที่ต้นแบบในเรื่องของการจัดการร่วมกันของประชาชน และหน่วยงานท้องถิ่น เพราะที่ราชพัสดุเป็นอสังหาริมทรัพย์อันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินที่สงวนไว้เพื่อใช้ประโยชน์ในทางราชการ ดังนั้น จึงมีเพียง กระทรวง ทบวง กรม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรอื่นของรัฐ ที่จะสามารถขอใช้ที่ราชพัสดุเพื่อประโยชน์ในทางราชการได้ตามความจำเป็นและสมควร พื้นที่สีเขียวในพื้นที่สาธารณประโยชน์ ตำบลดงคู่แห่งนี้ จึงเปรียบเสมือนห้องเรียนธรรมชาติที่ช่วยสร้างจิตสำนึกให้คนในชุมชน และนักท่องเที่ยวที่เข้ามามีความรับผิดชอบในแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ มีการจัดการรักษาสิ่งแวดล้อม และสนับสนุนเศรษฐกิจและกิจกรรมต่างๆ ในท้องถิ่นเป็นหลัก
อาคารประชารัฐ อาคารหลังแรกบนพื้นที่ ราชพัสดุแห่งนี้ ได้งบของกองทุนหมู่บ้านในการก่อสร้างอาคาร เพื่อให้ชาวบ้านได้นำผลผลิตต่างๆไปค้าขาย และยังได้ประสานของบประมาณกับทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุโขทัย เพื่อนำงบมาทำเป็นถนนรอบพื้นที่สำหรับวิ่งออกกำลังกาย เดิมตลาดประชารัฐตำบลดงคู่ (ตลาดดอยโจ้โก้) อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย เปิดให้บริการ สัปดาห์ละ 3 วัน คือ ทุกวันจันทร์ วันเสาร์ และวันพฤหัสบดี ปัจจุบันให้บริการ สัปดาห์ละ 1วัน แม้ปัจจุบันตลาดประชารัฐตำบลดงคู่ (ตลาดดอยโจ้โก้) จะเปิดเพียงสัปดาห์ละวัน แต่เหล่าจิตอาสา ก็ยังคงพยายามอนุรักษ์ผืนป่าให้อุดมสมบูรณ์ ทั้งการสร้างฝ่ายน้ำล้นเป็นระยะ และกั้นน้ำลงลำห้วยลำเหมืองเพื่อให้เกษตรกรในพื้นที่ได้ใช้และยังนำไม้พื้นถิ่นไปปลูกเสริม เพื่อทดแทนต้นไม้เดิมที่ล้มตายจากเหตุธรรมชาติ และไฟป่า แม้ว่าในปีที่ผ่านมาไฟป่าที่เกิดขึ้นจะไม่ค่อยหนัก และไม่ได้มากเท่าปีก่อนๆ แต่การปลูกเพิ่มจะเป็นการช่วยสร้างต้นน้ำตามธรรมชาติให้อุดมสมบูรณ์ขึ้นอีกด้วย
นายปรกรณ์กล่าวว่า กว่าจะมีแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์แห่งนี้ได้ จิตอาสาทุกคน และหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชนในพื้นที่ต้องร่วมแรง ร่วมใจกันดูแล และพัฒนาร่วมกันมายาวนาน “การพัฒนาพื้นที่ต้องครอบคลุมถึงการจัดการ และการดูแลป่าชุมชน ไม่ว่าจะเป็นการ อบรมให้ความรู้ในด้านการป้องกันไฟป่า,การสร้างจิตสำนึกให้นักเรียน และชาวบ้าน ด้วยการด้วยการร่วมกันบวชป่า อีกทั้งยังมีการซ่อมแซม และสร้างฝายแม้วเพื่อสร้างความชุ่มชื่นให้ผืนป่า ดูแลป่าไม้ที่มีการอนุรักษ์ และมีการทำประชาสัมพันธ์ ด้วยการติดป้ายห้ามจับสัตว์ทุกชนิด ในเขตอนุรักษ์ รวมถึงการเฝ้าระวัง และการจัดการเมื่อไฟป่าอีกด้วย การดูแลผืนป่าก็เหมือนการได้ตอบแทนบุญคุณให้แก่แผ่นดิน”ทุกวันนี้การท่องเที่ยว เป็นกิจกรรมรูปแบบหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินชีวิตของเราในการสร้างหรือการจัดการใดๆ ควรยอมรับในข้อจํากัดจากสภาพแหล่งท่องเที่ยวตามลักษณะที่เป็นอยู่และกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวและคนในชุมชนตระหนักถึงการดูแลรักษาอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยวเพื่อให้เกิดความยั่งยืนในด้านเศรษฐกิจสังคมวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม โดยไม่ให้เกิดการรบกวนหรือทําความเสียหายแก่ธรรมชาติ แต่มีวัตถุประสงค์เพื่อชื่นชม ศึกษาเรียนรู้และเพลิดเพลินไปกับทัศนียภาพ พืชพรรณ และสัตว์ป่า ตลอดจนลักษณะทางวัฒนธรรมที่ปรากฏในแหล่งธรรมชาติเหล่านั้น.
ลิงก์ผู้สนับสนุน
กระทู้/ข่าว อื่นๆ ที่น่าสนใจ
|
|
|
|