กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
คนที่ทำงานเกี่ยวกับช่างที่ต้องวางท่อ คงจะพอรู้ข้อมูลและรู้ว่าแต่ละท่อมีคุณสมบัติการทำงานอย่างไร แต่สำหรับคนทั่วไปแค่พูดถึงท่อ ก็พอเข้าใจแต่สำหรับรายละเอียดเชิงลึกคงไม่ได้รู้อะไรมาก และคงมีความเข้าใจว่าทุกท่อก็มีการใช้งานเหมือนกันและแทนกันได้หมด คงจะต่างกันเพียงแค่ขนาดและสีเท่านั้น ในวันนี้เราจะมาคลายความสงสัยเกี่ยวกับท่อ PE ว่าคืออะไร เหมาะกับการใช้งานด้านใด และมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง จะได้เข้าใจถูกต้องมาขึ้นและหากต้องได้ไปซื้อวัสดุเอง ก็จะพอมีความรู้ที่จะคุยกับ ช่างหรือเจ้าของร้านได้
ท่อ PE คืออะไร ?
ท่อ PE มีชื่อชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ท่อ HDPE (High Density Polyethylene Pipe) หรือจะเรียกว่าท่อเกษตรก็ได้ ลักษณะจะเป็นพลาสติกโพลีเอทิลีนซึ่งมีค่าความหนาแน่นสูง แบ่งออกเป็น 2 แบบคือ สีดำคาดฟ้าและสีดำคาดส้ม มีความแข็งแรง เหนียว แต่ยืดหยุ่น สามารถโค้งงอได้ ดัดเลี้ยวไปตามตัวอาคาร สำหรับตัวท่อพลาสติกนั้น จะมีความมันและลื่น เพื่อให้ของเหลวหรือน้ำไหลผ่านได้อย่างสะดวก การทำงานจะมีแรงดันน้อย มีความปลอดภัย สะอาด ไร้สารพิษปนเปื้อน จึงเหมาะสำหรับที่จะใช้เป็นตัวผ่านของระบบน้ำดื่มที่ใช้บริโภคโดยตรง และมีขนาดมาตรฐานตามที่ มอก. กำหนด คือ 982-2556
ในส่วนของการทำงานระหว่างคาดเส้นสีน้ำเงินและสีส้มคือ ท่อที่คาดเส้นสีน้ำเงิน จะใช้สำหรับงานเกี่ยวกับประปา หรือระบบน้ำ ของเหลว ส่วนสีส้ม/สีแดง จะใช้สำหรับงานเกี่ยวกับไฟฟ้า เช่น ท่อร้อยสายไฟ
คุณสมบัติของท่อ PE
คุณสมบัติพิเศษของท่อที่เหนือกว่าท่อทั่วไปอย่างท่อ PVC (ท่อสีฟ้า)ที่เราใช้กันตามบ้านเรือนทั่วไป ก็คือไม่เป็นสนิมง่าย มีผิวที่เรียบมัน มีน้ำหนักเบากว่าท่อนเหล็ก จึงเคลื่อนย้ายและขนส่งได้โดยไม่ต้องบาดเจ็บ ทนต่อรังสีอัลตร้าไวโอเลตหรือ UV ได้เป็นอย่างดี ทนต่อสารเคมี กรด ด่างต่าง ๆ รับแรงดันได้เป็นอย่างดี จึงไม่มีการแตกร้าวและรั่วซึมง่าย มีความยืดหยุ่นสามารถม้วนพับหรือเปลี่ยนทิศทางในการลำเลียงของเหลวได้ และทนต่อสภาวะแวดล้อมภายนอกได้ดี รวมไปถึงยังติดตั้งง่าย มีอายุการใช้งานยาวนานถึง 50 ปี จึงได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว และแพร่หลายทั้งในและนอกต่างประเทศ
โดยปกติตัวท่อจะถูกนำมาใช้งานด้านประปา โดยการลำเลียงน้ำดื่ม เพราะสะดวกต่อการใช้งาน คดงอได้ ไม่จำเป็นต้องใช้กาวต่อท่อ สามารถรับแรงดันน้ำได้มากถึง 5-16 บาร์ นิยมเอาไปใช้ในงานด้านการเกษตร, งานสนามกอล์ฟ, ใช้ในงานอุตสาหกรรมทั่วไปที่เกี่ยวกับเคมีหรืออาหาร, ใช้เป็นท่อระบายน้ำทิ้งภายนอกอาคารได้ และใช้งานท่อร้อยสายไฟ สายเคเบิ้ล เป็นต้น
ระดับชั้นคุณภาพของท่อ PE
เนื่องจากท่อพีอี มีคุณสมบัติที่ยืดหยุ่นและรับแรงดันได้ดี จึงได้มีการกำหนดระดับชั้นคุณภาพ เพื่อระบุความสามารถของท่อในการใช้งานแต่ละประเภทได้ โดยจะแยกออกเป็นสองรูปแบบคือ การรับแรงดันของตัวท่อ (PN) และความแข็งแรงในการรับน้ำหนัก (PE) ทั้งสองอย่างนี้จะมีการกำหนดไว้ควบคู่กัน คือ ตัวท่อต้องมีการรับแรงดันน้ำในท่อได้ และตัวท่อเองก็ต้องมีความแข็งแรงเพื่อรับน้ำหนักทั้งภายในและภายนอกของสภาพแวดล้อมบริเวณที่มีการติดตั้งตัวท่อด้วย แต่โดยปกติแล้วบ้านเรามักจะมีความคุ้นชินกับการติดตั้งตัวท่อแบบฝังดินมากกว่า เพราะลักษณะจะเป็นแบบม้วน ทำให้มีรอยต่อน้อย ในส่วนการพิจารณาระดับชั้นก่อนเลือกนำไปใช้งานนั้น จะมีเกณฑ์ที่ระบุไว้ที่ตัวท่อเลย ยกตัวอย่างเช่น HDPE, PN10 หรือ PE80 โดยเทียบความแตกต่างดังนี้
• หากขนาดท่อและความหนามีความเท่ากัน ชั้นคุณภาพของ PE100 จะสามารถรับแรงดันสูงกว่า PE80
• ความสามารถในการรับแรงดันและขนาดท่อมีความเท่ากัน ชั้นคุณภาพของ PE80 จะมีผนังท่อหนากว่า และจะมีน้ำหนักท่อต่อเมตรน้อยกว่า PE100
• ความสามารถในการรับแรงดันและขนาดท่อเท่ากัน ชั้นคุณภาพ PE100 ถึงจะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากัน จะมีการไหลวนของน้ำในเส้นท่อดีกว่า PE80 (เนื่องจากผนังท่อบางกว่า)
• ขนาดท่อและความสามารถรับแรงดันเท่ากัน ชั้นคุณภาพในการฝังดินได้ลึกกว่า PE100 จะทำงานได้ดีกว่า PE80
• ขนาดท่อของ PE100 และ PE80 จะมีความสามารถในการรับแรงดันได้เท่ากัน โดยที่มีอุณหภูมิต่างกัน
• และเมื่อมีอุณหภูมิสูงขึ้น ความสามารถในการรับแรงดันของ PE100 และ PE80 จะมีอัตราลดลงเท่ากัน
จะเห็นได้ว่าท่อ PE มีคุณสมบัติพิเศษเหมาะกับการใช้งานได้หลายประเภท ไม่ว่าจะเพื่ออุปโภคหรือบริโภค แม้ว่าจะมีราคาสูงมากกว่าท่อชนิดอื่นทั่วไปก็ตาม แต่ก็คุ้มค่า สมราคา มีคุณภาพ ทนต่อการใช้งาน และใช้งานได้อย่างดีเยี่ยม จึงมีผู้สนใจไม่ว่าจะเป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง หรือประชาชนบุคคลทั่วไป หันมาเลือกใช้ท่อประเภทนี้กันมากขึ้น
แต่ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะยังมีอีกกลุ่มผู้รับงานอีกจำนวนไม่น้อยที่ยังไม่นิยมใช้ท่อ PE ในงานก่อสร้างบ้านทั่วไปมากนัก เพราะเรื่องต้นทุนราคาของวัสดุที่มีราคาสูงกว่าท่อพีวีซีอยู่ประมาณ 30% และยังมองว่ามีความยุ่งยากในการติดตั้ง เพราะมีขั้นตอนเพิ่มขึ้นมากกว่าการติดตั้ง โดยต้องมีเครื่องมือควบคุมในการเชื่อมต่อท่อ ในขณะที่ท่อพีวีซีใช้เพียงน้ำยาประสานท่อแล้วสวมข้อต่อได้ในทันที และต้องเป็นช่างที่มากประสบการณ์หรือมีฝีมือเฉพาะทางเท่านั้น ถึงจะทำการติดต่อท่อชนิดนี้ได้ แต่ถึงอย่างนั้นการตลาดเกี่ยวกับการซื้อขายท่อ PE ก็ยังมาแรงและมีผู้สนใจใช้ท่อนี้สำหรับงานก่อสร้างหรือประโยชน์อื่น ๆ อย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงในปัจจุบันโลกยุคออนไลน์ก็สามารถสั่งผ่านเว็บไซต์ได้ง่ายๆไม่ต้องยุ่งยาก อย่างเว็บ hiachet.com ที่มีอุปกรณ์วัสดุก่อสร้างมากมายให้เลือกสรร
เครดิตภาพ : bkk.co.th / polypipethailand.com / scb-pipeliningsystems.com
ลิงก์ผู้สนับสนุน
กระทู้/ข่าว อื่นๆ ที่น่าสนใจ
|
|
|
|