กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
กรมวิทย์ยันสายพันธุ์ "มิว" ยังพบใน ไทย อย่าตกใจ ย้ำการ์ดอย่าตก
ศ.เกียรติคุณ ดร.วสันต์ จันทราทิตย์ หัวหน้าศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงกรณีองค์การอนามัยโลก (WHO) ยกระดับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์มิว (Mu) รหัสพันธุกรรม B.1.621 ให้เป็นหนึ่งในสายพันธุ์ที่เฝ้าระวัง หรือ Variants of Interest (VOI) ว่า สายพันธุ์มิวพบครั้งแรกที่โคลัมเบีย เมื่อเดือน ม.ค.64 ในฐานข้อมูลกลางโควิดโลก หรือ GISAID พบการแพร่ระบาดเพิ่มมากขึ้นและมีการถอดรหัสพันธุกรรม พบการกลายพันธุ์ที่ต่างจากสายพันธุ์ดังเดิมอู่ฮั่นค่อนข้างมากถึง 50-60 ตำแหน่ง จึงทำให้องค์การอนามัยโลกพิจารณายกระดับให้เป็นสายพันธุ์ที่เฝ้าระวัง ตัวที่ 5 หลังจากที่ก่อนหน้ามี 4 สายพันธุ์ที่ถูกจัดให้เฝ้าระวัง คือ อีตา (Eta- B.1.525) ระบาดในหลายประเทศ ,ไอโอตา (Iota – B.1.526 ) ระบาดในสหรัฐอเมริกา , แคปปา (Kappa- B.1.617.1) ระบาดในอินเดีย และแลมบ์ดา(Lambda- C.37) ระบาดในเปรู สายพันธุ์เหล่านี้ถูกจัดเป็นกลุ่มสีเหลืองที่ความรุนแรงยังต่ำกว่าสายพันธุ์ที่ต้องระวัง หรือ Variants of Concern (VOC) เป็นกลุ่มสีแดงมี 4 ตัวที่ระบาดในขณะนี้ คือเดลตา,อัลฟา, เบตา และแกมมา
การเผยแพร่ข่าวการพบสายพันธุ์ต่าง ๆ มาจากการอ่านข่าวข้อมูลจากต่างประเทศ แต่อย่าเพิ่งรีบตกใจ หรือกังวล
สายพันธุ์มิวระบาดอยู่ในประเทศที่ไกลจากไทยและประเทศในแถบเอเชียก็ยังไม่พบรายงานการระบาด โดยยังไม่น่าห่วง ด้วยยังไม่มีหลักฐานทางคลินิกที่บ่งชี้ว่าจะรุนแรงกว่าสายพันธุ์ที่กำลังระบาดอยู่ในปัจจุบัน เพียงแต่รหัสพันธุกรรมบ่งชี้ว่าอาจจะหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ ซึ่งการเฝ้าระวังสายพันธุ์มิวสำหรับประเทศไทย คงต้องเข้มงวดระบบเฝ้าระวังคนที่เดินทางมาจากต่างประเทศทั้งในสถานกักตัวของผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศและในโครงการแซนด์บอกซ์
ด้านนพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า สัปดาห์หน้ากรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เตรียมแถลงความคืบหน้าการตรวจหาเชื้อโควิด ในสายพันธุ์ กลุ่ม AY หรือ C.1.2. หรือ สายพันธุ์มิวล่าสุด แต่ขณะนี้ยังไม่พบทั้งสายพันธุ์ C.1.2. หรือ มิว ในไทย จึงอย่าตกใจหรือกังวล มาตรการต่างๆ ทั้งสวมหน้ากากอนามัย และการหมั่นล้างมือ และมีระยะห่างยังเป็นกลไกในการป้องกันควบคุมโรคที่ดีที่สุด
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
|
|
|