กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
เนื่องจากโครงสร้างประชากรที่กำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ส่งผลให้มีจำนวนแรงงานลดลง ในขณะเดียวกันก็ส่งผลให้มีจำนวนผู้สูงอายุและผู้รับบำนาญเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ระบบการแพทย์ที่ดีขึ้นและสุขภาพที่ดีขึ้น ทำให้อายุเฉลี่ยของประชากรก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน ซึ่งทำให้ผู้ประกันตนจะได้รับบำนาญเป็นระยะเวลายาวนานขึ้น เนื่องจากบำนาญประกันสังคมเป็นการดูแลตลอดชีวิต อย่างไรก็ตาม สิทธิประโยชน์ที่เพิ่มมากขึ้นก็จะตามมาด้วยต้นทุนที่สูงขึ้น เพื่อไม่ให้ต้นทุนสูงขึ้นมากจนเกินไป ส่งผลกระทบต่ออัตราเงินสมทบที่ผู้ประกันตนและนายจ้างต้องนำส่ง สำนักงานประกันสังคม จึงมีนโยบายการปรับปรุงอายุเกิดสิทธิรับบำนาญ (หรือที่เรียกกันว่าอายุเกษียณ) เพื่อให้เกิดสมดุลกับโครงสร้างประชากรผู้สูงอายุ และควบคุมต้นทุนของระบบบำนาญให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม โดยการขยายอายุผู้มีสิทธิรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพเป็นมาตรการปกติที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกดำเนินการ
สำนักงานประกันสังคม ได้มีการจัดทำแนวทางการปฏิรูประบบบำนาญชราภาพโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความยั่งยืนให้ระบบบำนาญชราภาพ รวมทั้งเสริมสร้างความมั่นคงให้กับลูกจ้างผู้ประกันตนเมื่อต้องเข้าสู่วัยเกษียณ โดยที่การขยายอายุผู้มีสิทธิรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพจาก 55 ปี เป็น 60 ปี เป็นมาตรการหนึ่ง ซึ่งจะเป็นการใช้กับผู้ประกันตนใหม่และผู้ประกันตนที่อายุน้อยเท่านั้น ผู้ประกันตนปัจจุบันที่ใกล้เกษียณอายุจะไม่ได้รับผลกระทบ นอกจากนี้ การขยายอายุเกิดสิทธิรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพจะเป็นการเพิ่มโอกาสให้ผู้ประกันตนได้รับบำนาญในอัตราที่สูงขึ้นด้วย โดยจะได้รับบำนาญเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อทุกปีผู้ประกันตนส่งเงินสมทบ ตัวอย่างเช่น หากส่งเงินสมทบกรณีชราภาพตั้งแต่อายุ 35 ปี และทำงานจนถึงอายุ 55 ปี เท่ากับทำงาน 20 ปี หากมีค่าจ้างที่ส่งเงินสมทบเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายเท่ากับ 15,000 บาท จะได้บำนาญในอัตรา 35% ของ 15,000 บาท หรือคิดเป็นเดือนละ 5,250 บาท และหากขยายระยะเวลาการทำงานถึงอายุ 60 จะได้รับบำนาญเพิ่มอีก 7.5% ทำให้บำนาญเพิ่มเป็น 42.5% ของค่าจ้าง 15,000 บาท หรือคิดเป็นเดือนละ 6,375 บาท (เพิ่มขึ้น 1,125 บาท) ไปตลอดชีวิต
ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าว สำนักงานประกันสังคมได้ดำเนินการสำรวจและรับฟังความคิดเห็นผ่านทางเว็ปไซต์สปส. และมีการสรุปการรับฟังความคิดเห็นให้ทราบด้วยแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการยกร่าง พรบ. และเตรียมเสนอ ครม. พิจารณาในลำดับถัดไป หากมีความคืบหน้าเพิ่มเติมจะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
|
|
|