กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ เห็นชอบแนวทางพิจารณาเตรียมพร้อมให้โรคโควิด 19 เป็นโรคประจำถิ่น หากสถานการณ์เหมาะสมและเข้าหลักเกณฑ์ที่กำหนด และเห็นชอบการจัดตั้งคลินิกวัคซีนในผู้ใหญ่สำหรับบุคคลที่มีอายุ18 ปีขึ้นไป
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯ และ รมว.สาธารณสุข ประธานการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ครั้งที่1/2565 เปิดเผยว่า ปัจจุบันประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ คงที่เฉลี่ยวันละ 7,000-9,000 ราย ส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์โอมิครอน ความรุนแรงของโรคน้อยกว่าสายพันธุ์เดลต้า ทำให้มีผู้ป่วยหนักต้องใส่ท่อช่วยหายใจและเสียชีวิตลดลง ซึ่งมาตรการที่กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการมาก่อนหน้านี้ ยังสามารถควบคุมป้องกันโรคได้ดี
ที่ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติจึงหารือใน 2 ประเด็นสำคัญ คือ
1. เห็นชอบแนวทางการพิจารณาให้โรคโควิด 19 เป็นโรคประจำถิ่น (endemic disease) มีหลักเกณฑ์และค่าเป้าหมายเช่น ผู้ป่วยรายใหม่ไม่เกิน 10,000 ราย/วัน อัตราป่วยตาย น้อยกว่าร้อยละ 0.1 การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลน้อยกว่าร้อยละ 10 และประชาชนมีภูมิต้านทานเพียงพอ กลุ่มเสี่ยงป่วยรุนแรงได้วัคซีนอย่างน้อย 2 โดส มากกว่าร้อยละ 80 เป็นต้น หากสถานการณ์เหมาะสมและเข้าหลักเกณฑ์ที่กำหนด สธ. จะประกาศแจ้งให้ทราบอีกครั้ง
2. เห็นชอบการจัดตั้งคลินิกวัคซีนในผู้ใหญ่สำหรับบุคคลที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป เพื่อให้บริการวัคซีนโควิด และวัคซีนในแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคที่มีความจำเป็น
ด้าน นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า โดยหลักการคำว่า โรคประจำถิ่น ต้องไม่ค่อยรุนแรงแต่ระบาดได้ มีอัตราตายไม่มาก ยอมรับได้ มีการติดเชื้อเป็นระยะๆ ได้ โรคต้องไม่รุนแรง มีภูมิต้านทานพอสมควรระบบการรักษาพยาบาลต้องมีประสิทธิภาพ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขวางแผนให้โควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่นภายในปีนี้
เมื่อถามว่าการจะเข้าสู่โรคประจำถิ่นจำเป็นต้องพิจารณาสถานการณ์จากทั่วโลกหรือต้องรอทางองค์การอนามัยโลกประกาศก่อนหรือไม่
นพ.เกียรติภูมิ กล่าวว่า ตรงนี้เป็นการจัดการบริหารควบคุมโรคภายในประเทศ หากเป็นพวกกฎหมาย กฎเกณฑ์บางอย่างก็ต้องรอองค์การอนามัยโลก การพิจารณาแนวทางเพื่อเข้าสู่โรคประจำถิ่นนั้น เป็นหลักการบริหารจัดการควบคุมโรคของประเทศไทย ซึ่งมีการวางแผนว่าจะจัดการเป็นโรคประจำถิ่นได้กี่เดือน ตัวอย่างเช่น หากกำหนดไว้ 6 เดือนถึง 1 ปี ก็จะมีการกำหนดว่า 3 เดือนแรกทำอย่างไร ซึ่งตรงนี้จะมีการพิจารณาและเสนอแผนอีกครั้ง
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
|
|
|