• ผลไม้ไทยไปจีนล็อตแรกด้วยรถไฟสาย จีน-ลาว ผ่านด่านโมฮ่านในมณฑลยูนนานแล้ว |
โพสต์โดย คนข่าว , วันที่ 03 เม.ย. 65 เวลา 19:18:21 IP: Hide ip |
กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะทำงานของคณะกรรมการบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) เปิดเผยว่า การขนส่งทุเรียน 2 ตู้คอนเทนเนอร์และมะพร้าวจำนวน 1 ตู้คอนเทนเนอร์ทางรถไฟ จากสถานีรถไฟมาบตาพุต จ.ระยองสู่ประเทศจีน ได้ถึงช่วงสุดท้ายที่สำคัญมาก คือการขนส่งข้ามพรมแดนลาวที่ด่านบ่อเตนสู่แผ่นดินใหญ่จีนที่ด่านโมฮ่านมณฑลยูนนานได้แล้ว
นับเป็นระบบการขนส่งหลายรูปแบบ (Multi Modal Transportation) คือใช้ทั้งระบบรางและระบบรถที่เริ่มดำเนินการเป็นครั้งแรก เพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า กรณีที่ยังไม่สามารถขนส่งผลไม้ทางรถไฟจากลาวข้ามแดนไปด่านรถไฟโมฮ่านโดยตรง เนื่องจากจีนกำลังก่อสร้างอาคารและลานตรวจโรคพืชที่ด่านรถไฟโมฮ่าน จึงต้องไปใช้การตรวจโรคพืชที่ด่านโมฮ่านซึ่งเป็นด่านใหญ่ด่านเดิมไปพรางก่อน
รมว.เกษตรฯ พอใจแผนโลจิสติกส์เกษตรที่ประสบผลสำเร็จจากการทดสอบการขนส่งทุเรียนและมะพร้าวน้ำหอมล็อตแรกจากไทยผ่านลาวไปจีน ภายใต้พิธีสารผลไม้ไทย-จีนด้วยเส้นทางรถไฟจีน-ลาว แต่จะมีการประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) ในวันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน 2565 เพื่อพิจารณาแก้ไขปัญหาทุกขั้นตอน เนื่องจากการขนส่งล็อตแรกล่าช้ากว่าเป้าหมาย รวมทั้งการจัดการเรื่องพิธีการเอกสารของหน่วยงานต่าง ๆ การจองขบวนรถไฟ ตารางการเดินรถ และค่าระวางการขนส่งในระบบ “ราง-รถ” ให้สามารถเพิ่มปริมาณการขนส่งผลไม้บนเส้นทาง“หนองคาย-เวียงจันทน์-บ่อเตน-โมฮ่าน” ให้ได้มากที่สุดและเร็วที่สุด
สำหรับ โครงการขนส่งผ่านท่าเรือหวุงอ๋าง ขณะนี้มีความคืบหน้าอย่างมาก ในการประสานงานกับลาว และเวียดนามในการเปิดเส้นทางขนส่งผลไม้และสินค้าเกษตรออกทางด่านนครพนม-ด่านท่าแขก แขวงคำม่วนของลาว เข้าสู่เวียดนามที่ด่านชายแดนนาเพ้า-จาลอ จังหวัดกว๋างบิ่ญ โดยมีปลายทางที่ท่าเรือน้ำลึกหวุงอ๋าง จังหวัดฮาติงห์ชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก โดยมีระยะทางไม่ถึง 300 กิโลเมตร เพื่อลงเรือสินค้าไปยังตลาดปลายทาง เช่น ท่าเรือซินโจวและฟรีโซนหนานหนิงในเขตปกครองตนเองกว่างสี ท่าเรือกวางโจว เซิ่นเจิ้น ฮ่องกง เซี๊ยะเหมินหนิงโป เซี่ยงไฮ้ เกาหลีญี่ปุ่น และทวีปอเมริกาเหนืออเมริกาใต้ เพื่อย่นระยะทางและเวลาในการขนส่งโดยไม่ต้องย้อนใต้ไปผ่านท่าเรือสิงคโปร์ ซึ่งเป็นไปตามนโยบายอีสานเกตเวย์และระเบียงเศรษฐกิจอีสาน
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
|
|
|
แจ้งลบกระทู้นี้
อ่าน 417 |
|
แสดงความคิดเห็น |
โดย คนข่าว
IP: Hide ip
, วันที่ 03 เม.ย. 65
เวลา 19:18:21
|