• กักตัวนายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างหรือไม่ |
โพสต์โดย คนข่าว , วันที่ 23 เม.ย. 65 เวลา 17:52:49 IP: Hide ip |
กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
“กักตัวนายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างหรือไม่”
23 เมษายน 2565 เพจ กฎหมายเเรงงาน ได้โพสต์เฟสบุ๊คให้ความรู้และอธิบายเกี่ยวกับการ “กักตัวนายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างหรือไม่” แบ่งเป็น 2 กรณี ดังนี้
1) หากเจ้าาหน้าที่รัฐสั่งกักตัว
ลูกจ้างที่มีความเสี่ยงเพราะไกล้ชิดผู้ติดเชื้อ หรือที่ทำงานมีผู้ติดเชื้อ โดย “แพทย์” หรือ “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” ออกเอกสารให้กักตัวเพื่อสั่งเกตอาการ ปัญหาว่านายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างหรือไม่ คำตอบคือ “นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าจ้าง” เพราะเป็นกรณีที่ถือว่ามี “เหตุสุดวิสัย” ที่ตัวลูกจ้างเองไม่สามารถมาทำงานได้
และเมื่อมี “เหตุสุดวิสัย”(เพราะกักตัว) ก็เข้าเกณฑ์ที่จะไปขอรับเงินทดแทนกรณีว่างงานจากสำนักงานประกันสังคมอัตราร้อยละ ๕๐ ของค่าจ้างรายวัน แต่ทั้งนี้รวมกันต้องไม่เกิน ๙๐ วัน อย่างไรก็ตาม ในรอบ ๑๕ เดือนที่ผ่านมาท่านต้องส่งเงินสมทบไม่น้อยกว่า ๖ เดือน
2) นายจ้างสั่งกักตัว
กรณีนายจ้างออกประกาศห้ามลูกจ้างเดินทางข้ามจังหวัด หรือเดินทางเข้าไปในพื้นที่เสี่ยงที่อาจเกิดการติดเชื้อไวรัสโควิด-19
แต่ภายหลังทราบว่าลูกจ้างฝ่าฝืนคำสั่งดังกล่าว จนเป็นเหตุให้นายจ้างสงสัยได้ว่าลูกจ้างเสี่ยงต่อการติดเชื้อ จึงมีคำสั่งไม่ให้ลูกจ้างมาทำงานและให้กักตัว ณ ที่พักอาศัยเป็นเวลา 14 วัน เพื่อเฝ้าดูอาการ
“นายจ้างก็ต้องจ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้าง”
เพราะคำสั่งให้ลูกจ้างกักตัวเป็นคำสั่งให้หยุดงานเพื่อประโยชน์ของนายจ้าง จะถือว่าการปฏิบัติตามคำสั่งของนายจ้างดังกล่าวเป็นการขาดงานหรือละทิ้งหน้าที่ของลูกจ้างไม่ได้ (ที่มา: อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานแถลงข่าว https://www.labour.go.th/index.php/58335-2021-05-06-02-16-53)
ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
1) กรณีนี้ถือเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับในการทำงาน นายจ้างอาจลงโทษได้ แต่อาจเป็นโทษออกหนังสือเตือน
2) นายจ้างอาจแจ้ง จนท.ให้ออกหนังสือกักตัวให้ จากนั้นขอให้รับจากประกันสังคมแทน
3) ที่มีการแชร์กันทำนองว่า “นายจ้างมีสิทธิไม่จ่ายเงิน เพราะถือว่าขาดงาน” นั้นไม่ถูกต้อง เพราะถ้าขาดงานกันนาน๑๔ วันก็ถูกเลิกจ้างกันหมดแน่ๆ เรื่องนายจ้างไม่จ่ายเงินนั้นถูก กรณีนี้ไม่ใช่ขาดงานหรือละทิ้งหน้าที่(ตามมาตรา๑๑๙(๕)) เพราะการละทิ้งหน้าที่ต้อง “ไม่มีเหตุอันสมควร” ด้วย แต่อันนี้มีเหตุอันสมควร
นอกจากนั้นเหตุผลที่ไม่ใช่ขาดงาน เพราะเป็นเหตุสุดวิสัย และเหตุสุดวิสัยเป็นเงื่อนไขตามกฎหมายให้ได้รับเงินกรณีว่างงานข้างต้น
ที่มา: เพจกฎหมายแรงงาน https://www.facebook.com/265489857320459/posts/1219166708619431/?d=n
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
|
|
|
แจ้งลบกระทู้นี้
อ่าน 726 |
|
แสดงความคิดเห็น |
โดย คนข่าว
IP: Hide ip
, วันที่ 23 เม.ย. 65
เวลา 17:52:49
|