กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
วันที่ 5 พฤษภาคม 2565 เกิดกระแสวิจารณ์ในสื่อสังคมออนไลน์ พบเสาข้างถนนสายบนถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1168 สายภูเพียง-แม่จริมเป็นโพรงแตก และภายในมีท่อนไม้ไผ่ มีชาวเน็ตได้แสดงความคิดเห็นต่างๆ
ผู้สื่อข่าว ลงพื้นที่ตรวจสอบตามที่ได้รับแจ้งข้อมูล บนถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1168 สายภูเพียง-แม่จริมระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 10 ถึงหลักกิโลเมตรที่ 14 พบเสาหลักนำทาง (หลักลาย) โดยหลายต้นได้รับความเสียหายปริแตก หักโค่น และถูกไฟเผา ทำให้เห็นสภาพแกนกลางข้างในว่ามีไม้ไผ่อยู่
โดยนายนรินทร์ เอี่ยมครอง รองผู้อำนวยการทางแขวงทางหลวงน่านที่ 1 ชี้แจงว่า แขวงทางหลวงน่านที่ 1 ได้รับงบประมาณในการจัดซื้อหลักนำทางยางพาราในปี2564 โดยเป็นนโยบายเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางพาราของรัฐบาลให้นำมาติดตั้งแทนเสาคอนกรีตที่มีอยู่และเพิ่มเติมในส่วนที่ติดตั้งไม่ครบ ซึ่งเพื่อช่วยเหลือลดการสูญเสียจากการชนและใช้เป็นแนวสำหรับนำทางในการขับรถ ซึ่งมิใช่การป้องกันรถชน เพราะถ้าชนไม่ว่าเป็นเสาคอนกรีตหรือเสายางพาราก็กั้นไม่อยู่ ในส่วนที่มีไม้ไผ่ในเสานั้น เพื่อเป็นการช่วยในการติดตั้งให้ไวขึ้นเนื่องจากตอนได้เสามาใหม่ๆเสามีความอ่อน ทำให้การติดตั้งนั้นเป็นไปได้ยากจึงได้นำไม้ไผ่สอดข้างในเพื่อเป็นหลักยึดในการติดตั้ง และแขวงฯน่านที่ 1 ได้ติดตั้งและได้ตามแบบมาตรฐานของกรมทางหลวง จึงเป็นสาเหตุทำให้ผู้ที่พบเห็นว่ามีไม้ไผ่สอดด้านในนั้นเหมือนการคอรัปชั่น สอดไส้เสาหลักเพื่อลดต้นทุนนั้น ไม่จริง
สำหรับจังหวัดน่าน ดำเนินการติดตั้งจำนวน 2,086 ต้น ในราคาต้นละ 2,050 บาท โดยถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1168 สายภูเพียง-แม่จริม ติดตั้งจำนวน 260 ต้น ขณะนี้เสียหายไป 5 ต้น มีทั้งหัก ปริแตก และก็เกิดจากไฟไหม้ ซึ่งจะทำการเปลี่ยนใหม่
ทั้งนี้จากข้อมูลโครงการดังกล่าว กรมทางหลวงได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการศึกษาวิจัยและพัฒนาและการส่งเสริมการใช้ยางพาราร่วมกับการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ซึ่งเป้าหมายรัฐบาลให้กรมใช้ยางพาราน้ำจำนวน 9,000 ตันต่อปี ซึ่งกรมจะใช้ในรูปแบบพาราสลาลี่ซีล และพาราแอสฟัลท์ จำนวน 5% และมีค่าใช้จ่ายสูง ในปี2561 ใช้ในการฉาบผิวถนนไปแล้ว 1,000 ตัน อีก 8,000 ตัน หากนำมาใช้แบบเดิมจะมีค่าใช้จ่าย 4,000 ล้านบาท ทางกรมทางหลวงจึงได้หารือร่วมกับการยาง เปลี่ยนยางพาราน้ำเป็นแผ่น ใช้กับเสาหลักนำทาง ที่กั้นขอบทางทางเท้า งบในการจัดซื้อยางจากงบเหลือจ่ายไม่เกิน 500 ล้านบาท ตั้งเป้าต่อปีใช้ประมาณ 120,000-130,000 ต้นทั่วประเทศ เป็นการช่วยรับซื้อยางพาราจากเกษตรกรได้มากว่าเดิม นอกจากนี้ ในอนาคตจะขอความร่วมมือการยางฯในการวิเคราะห์ ผลิตภัณฑ์อื่นที่ใช้ยางพารา เช่น แบริเออร์ก่อสร้างที่ใช้ยางพารากั้นขอบทาง
ที่มา: แขวงทางหลวงน่านที่ 1 , ประชาสัมพันธ์จังหวัดน่าน ระพีพร เพ็ชรเจริญ ผู้สื่อข่าว
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
|
|
|