• กรมทรัพย์สินทางปัญญา ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) "ผ้าตีนจกโหล่งลี้ลำพูน" |
โพสต์โดย คนข่าว , วันที่ 13 พ.ค. 65 เวลา 17:38:22 IP: Hide ip |
กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
นางกนกรัตน์ ยุกติรัตน์ พาณิชย์จังหวัดลำพูน เปิดเผยว่า กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ได้ประกาศรับขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) สินค้า ผ้าตีนจกโหล่งลี้ลำพูน เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2565 ที่ผ่านมา ซึ่งนับว่าจังหวัดลำพูน มีสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) แล้วจำนวน 4 สินค้า ได้แก่ ผ้าไหมยกดอกลำพูน ลำไยแห้งเนื้อสีทองลำพูน ลำไยเบี้ยวเขียวลำพูน และล่าสุดผ้าตีนจกโหล่งลี้ลำพูน โดยผ้าตีนจกโหล่งลี้ลำพูน (Pha Teen Jok Lhong Li Lamphun หรือ Teen Jok Lhong-Li LamphunTextiles) หมายถึง ผ้าซิ่นตีนจกที่มีองค์ประกอบ ได้แก่ แอวซิ่น (เอวซิ่น) ตัวซิ่น และตีนจก ผ่านกระบวนการทอจากเส้นฝ้าย และการจกด้วยมืออย่างประณีตตามกรรมวิธีแบบดั้งเดิม ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะที่สาคัญบนผืนผ้า คือ มีรูปคล้ายอักษร T อยู่กลางสะเปา ลวดลายมีการแบ่งกลุ่มชัดเจนทั้งลายมาตรฐานและลายประกอบ ผืนผ้าแน่นเรียบ เส้นฝ้ายไม่หลุดลุ่ย ผลิตในเขตพื้นที่อาเภอลี้ ของจังหวัดลำพูน . โดยประวัติความเป็นมา ผ้าตีนจกโหล่งลี้ลำพูน เมืองลี้ เป็นเมืองเก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนานตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยหรือก่อนปี พ.ศ. 1800 มีพระนางจามะรี พระราชธิดาของเจ้าเมืองหลวงพระบาง ได้อพยพผู้คนหลบหนีลี้ภัยข้าศึกและโรคระบาดจากเมืองหลวงพระบางลงมายังทางทิศใต้สู่แคว้นล้านนา ได้สร้างเมือง ณ บริเวณวัดพระธาตุดวงเดียว เนื่องด้วยมีสายน้ำ 3 สายมาบรรจบกันได้แก่ แม่ลี้ แม่แต๊ะ และแม่ไป จึงมีลักษณะภูมิประเทศที่เหมาะสม จึงตั้งชื่อเมืองว่าเมืองลี้ และในอดีตมีการแบ่งเขตของชุมชนตามลุ่มน้ำ โดยลักษณะทางภูมิประเทศของแอ่งที่ราบเชียงใหม่ลาพูนมีทิวเขาสูงทอดตัวต่อเนื่องกัน มีหุบเขาขนาดใหญ่หรือเล็กแตกต่างกัน ระหว่างเทือกเขาเหล่านี้เป็นที่ราบที่ผู้คนตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนต่าง ๆ ซึ่งถูกแยกจากกันโดยอาศัยเขตแดนที่ใช้สันปันน้ำของภูเขาทั้งเล็กและใหญ่ ขอบเขตของภูเขาหรือเนินเขาเตี้ย ๆ แบ่งพื้นที่ใหญ่ออกเป็นส่วนย่อย ๆ เรียกพื้นที่ซึ่งเป็นที่ราบย่อย ๆ เหล่านี้ว่า "โหล่ง" "ผ้าตีนจกโหล่งลี้ลำพูน" เป็นการทอจกผ้า แต่เดิมเป็นวัฒนธรรมการทอผ้าของกลุ่มชนไทยน หรือไทยวน หรือไทยล้านนา หรือโยนก ซึ่งเป็นกลุ่มชนกลุ่มใหญ่ที่อาศัยอยู่ในดินแดนล้านนามาเป็นเวลานาน มีต้นกาเนิดจากกลุ่มไทยวน จากเชียงแสน ที่อพยพมาตั้งหลักปักฐานอยู่บริเวณพื้นที่ "โหล่ง" เมืองลี้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2347 และได้นาวัฒนธรรมการทอผ้าจกแบบเชียงแสนมาประยุกต์ สร้างสรรค์ จนมีลักษณะเฉพาะของลวดลาย มีความเป็นเอกลักษณ์ และสืบทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนอีกรุ่นหนึ่ง เป็นมรดกทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาที่แท้จริงของชาวไทยวนในชุมชน "โหล่งลี้" ซึ่งวิถีชีวิตของคนในพื้นที่จะเกี่ยวข้องผูกพันอยู่กับธรรมชาติ และการทาการเกษตร วัฒนธรรมประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมถึงความเชื่อ ความศรัทธา การสืบสานวัฒนธรรมประเพณี พิธีกรรม อาทิ เมื่อว่างจากการทาสวนไร่นาชาวบ้านจะมีการไปวัดทำบุญในงานเทศกาลต่าง ๆ โดยแม่บ้านจะมีการทอผ้าและตัดเย็บด้วยมือ เพื่อเตรียมเครื่องแต่งกายของคนในครอบครัว ด้วยการผสมผสานภูมิปัญญาด้านการทอผ้าจกที่มีมาแต่เดิมร่วมกับจินตนาการที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัว ก่อเกิดการสร้างสรรค์ลวดลายต่าง ๆ ที่มีรูปแบบเฉพาะตัวขึ้นมา เอกลักษณ์ที่สาคัญของผ้าตีนจกโหล่งลี้ลำพูน คือ มีรูปคล้ายอักษร T อยู่กลางสะเปา ซึ่งหมายถึงเสาหลักของชุมชนของเมือง แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์และความมั่งคั่ง ทั้งนี้ ได้มีการค้นพบผ้าซิ่นตีนจกโบราณถูกเก็บไว้เป็นจานวนมากในเขตตำบลลี้ จึงถูกกว้านซื้อโดยนักอนุรักษ์และนักสะสม นอกจากนี้ยังพบผ้าหลบและหมอนหน้าจกแบบไทยวนทั่วไปในพื้นที่โหล่งลี้ โดยเรียกลายจกเหล่านี้ว่า "ลายจกโหล่งลี้" ซึ่งในช่วงปี พ.ศ. 2530 การทอผ้าตีนจกในพื้นที่ได้ห่างหายไปเพราะการทอ ผ้าจกมีกระบวนการที่ยากและละเอียดต้องใช้เวลานาน ประกอบกับมีการนากี่กระตุกเข้ามาแทนที่ ทำให้ผลิตผ้าได้ รวดเร็วขึ้น จึงละเลยภูมิปัญญาโบราณ ต่อมาได้มีการสืบค้นภูมิปัญญาผ้าตีนจกโหล่งลี้ลาพูน ด้วยเล็งเห็นว่า “ผ้าตีนจกโหล่งลี้ลำพูน” มีความโดดเด่น สวยงาม มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง ผ้าตีนจกโหล่งลี้ลาพูน จึงเป็นที่กล่าวขวัญของผู้ที่นิยมความสวยงามของผืนผ้าที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวไม่เหมือนใคร
ที่ม่:ประชาสัมพันธ์จังหวัดลำพูน
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
|
|
|
แจ้งลบกระทู้นี้
อ่าน 331 |
|
แสดงความคิดเห็น |
โดย คนข่าว
IP: Hide ip
, วันที่ 13 พ.ค. 65
เวลา 17:38:22
|