• ดื่มน้ำน้อย ไม่ได้ทำให้เลือดข้น!!! แต่ภาวะเลือดข้น เกิดจากความไม่สมดุลของเม็ดเลือด น้ำหนักตัวเกิน การสูบบุหรี่ และดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก |
โพสต์โดย คนข่าว , วันที่ 18 ก.ย. 66 เวลา 11:38:24 IP: Hide ip |
กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
ภาวะเลือดข้น คือ ภาวะที่เลือดมีความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงสูงผิดปกติ ส่งผลให้เลือดมีความหนืด ไหลเวียนไปทั่วร่างกายได้ยากกว่าปกติ และเสี่ยงเกิดลิ่มเลือดอุดตันตามอวัยวะ หรือโรคต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคหลอดเลือดสมอง, รวมถึงภาวะอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการไหลเวียนของเลือดในร่างกาย
ถาม: การดื่มน้ำน้อย ทำให้เกิด “ภาวะเลือดข้น” จริงหรือไม่?
ตอบ: ไม่จริง เนื่องจากภาวะเลือดข้นมักเกิดจากการสร้างเม็ดเลือดแดงมากกว่าปกติ แม้ว่าในภาวะที่ร่างกายขาดน้ำและเกลือแร่อย่างรุนแรง อาจจะทำให้เลือดข้นขึ้นกว่าปกติได้ แต่การดื่มน้ำน้อยเพียงอย่างเดียว จะไม่ทำให้เกิดภาวะขาดน้ำและเกลือแร่อย่างรุนแรง
สาเหตุของเลือดข้น
ภาวะเลือดข้นมีหลายประเภท แต่ละประเภทจะแบ่งตามสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ เช่น น้ำหนักตัวเกิน การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก ปัญหาจากการผลิตเซลล์เม็ดเลือด หรือเป็นผลมาจากโรคต่าง ๆ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ภาวะเลือดข้นที่มีสาเหตุจากปริมาณน้ำเลือดหรือพลาสมาลดลง (Apparent Polycythemia)
มักมีสาเหตุมาจากการที่มีน้ำหนักตัวเกิน การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก การใช้ยาขับปัสสาวะ หรือเป็นผลมาจากภาวะขาดน้ำในร่างกาย
ภาวะเลือดข้นที่มีสาเหตุจากไขกระดูกผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงออกมาในปริมาณที่มากเกินไป (Absolute Polycythemia)
แบ่งได้ 2 ประเภท ดังต่อไปนี้
- ภาวะเลือดข้นที่ไขกระดูกผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงมากผิดปกติ (Primary Polycythemia หรือ Polycythemia Vera) ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของสารพันธุกรรมเจเอเคทู (JAK2) ทำให้ไขกระดูกผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงในปริมาณที่มากผิดปกติ และผลิตเซลล์เม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือดในปริมาณที่มากผิดปกติด้วยเช่นกันมักเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ
- ภาวะเลือดข้นที่มีสาเหตุมาจากการผลิตฮอร์โมนอีริโทโพอิติน (Erythropoietin) ในปริมาณที่มากเกินไป(Secondary Polycythemia) หรืออาจเกิดขึ้นจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic Obstructive Pulmonary Disease: COPD) และภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep Apnoea) ส่งผลให้ออกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ไม่เพียงพอ จึงผลิตฮอร์โมนอีริโทโพอิตินมากขึ้น และปัญหาที่เกี่ยวกับไต เช่น เนื้องอกในไต หรือการตีบของหลอดเลือดแดงในไต เป็นต้น
จึงสรุปได้ว่า การดื่มน้ำน้อยไม่ทำให้เกิด “ภาวะเลือดข้น”
ปริมาณน้ำดื่มที่พอเหมาะในคนปกติ ร่างกายจะมีความสามารถในการปรับตัวเพื่อรักษาสมดุลได้เป็นอย่างดี หากดื่มน้ำอย่างน้อย 500-600 ซีซี และไม่เกิน 3-4 ลิตรต่อวัน ร่างกายก็ยังสามารถทำงานได้ตามปกติ จึงไม่จำเป็นต้องวิตกกังวลเรื่องการดื่มน้ำจนเกินไป แนะนำให้ดื่มน้ำวันละประมาณ 1-2 ลิตรต่อวัน
ข้อแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
- หากรู้สึกกระหายน้ำ แสดงว่าร่างกายมีภาวะขาดน้ำ ควรดื่มน้ำเพื่อเติมน้ำให้กับร่างกาย
- หากมีการสูญเสียน้ำและเกลือแร่ออกจากร่างกายมากกว่าปกติ เช่น เสียเหงื่อมาก หรือ ท้องเสีย ควรได้รับทั้งน้ำและเกลือแร่เพื่อชดเชยกับที่สูญเสียไป
- ปริมาณน้ำดื่มที่เหมาะสมในผู้ป่วย ขึ้นกับโรคประจำตัวที่เป็นและสภาพร่างกายของผู้ป่วยแต่ละราย
- ควรหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำรวดเดียวเป็นจำนวนมาก เนื่องจากร่างกายอาจไม่สามารถขับน้ำส่วนเกินออกได้ทัน
สามารถติดตามบทความและข้อมูลอ้างอิงต่อได้ที่…https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/line/hyperemia/
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
|
|
|
แจ้งลบกระทู้นี้
อ่าน 231 |
|
แสดงความคิดเห็น |
โดย คนข่าว
IP: Hide ip
, วันที่ 18 ก.ย. 66
เวลา 11:38:24
|