• กลางเดือน พ.ค.67 จะหมดฤดูร้อน แต่ ก.ย.-ต.ค.67 ฝนจะทิ้งช่วง จะแล้งและยังร้อน |
โพสต์โดย ตนข่าว , วันที่ 27 เม.ย. 67 เวลา 11:04:39 IP: Hide ip |
กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
27 เมษ.ย.67 ดร.ปกรณ์ เพ็ชรประยูร ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมภูมิสารสนเทศ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ หรือ จิสด้า ได้เปิดเผยว่า “เอลนีโญในประเทศไทยนั้นคาดว่าจะสิ้นสุดในเดือนพฤษภาคม แต่ไม่ได้หมายความว่า อากาศร้อนจะสิ้นสุดลง ความร้อนยังมีอยู่ เนื่องจาก เดือนพฤษภาคม ถึง มิถุนายน จะมีฝนทิ้งช่วง คือ มีภาวะแล้งต่อ อาจจะไปถึงเดือนกันยายน ถึงตุลาคมก็ได้”ดร.ปกรณ์ กล่าว
สถานการณ์ปัจจุบันอยู่ช่วงรอยต่อระหว่าง “เอลนีโญ” ที่ส่งผลให้ปริมาณฝนลดลงในปี 2565-2566 และกำลังเข้าสู่สถานการณ์ “ลานีญา” ที่จะมีปริมาณฝนเพิ่มมากขึ้น โดยกรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์ว่า สภาวะเอลนีโญกำลังปานกลางในปัจจุบัน จะอ่อนลงและเปลี่ยน เข้าสู่สถาวะเป็นกลางในช่วงเดือน เม.ย.-มิ.ย.2567 จากนั้น มีความน่าจะเป็น 62% ที่จะเข้าสู่สภาวะลานีญาในช่วงเดือน มิ.ย.-ส.ค.2567
คลิปอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
อุณหภูมิสูงเกิน 40 องศา เตือนระวัง 'โรคฮีทสโตรก' เลี่ยงอยู่กลางแดดจัดๆ ดื่มน้ำบ่อยๆ
.
โรคลมร้อน หรือ ฮีทสโตรก (Heatstroke) เกิดจากภาวะที่ร่างกายร้อนจัดจนส่งผลกระทบต่อระบบต่างๆ ในร่างกาย เป็นอาการที่พบได้ในช่วงที่ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูร้อน ทำให้หลายพื้นที่มีอากาศร้อนอบอ้าว มีค่าดัชนีความร้อนพุ่งสูงขึ้น และอาจมีอุณหภูมิสูงถึง 44.5 องศาเซลเซียส ทำให้เสี่ยงต่อการเจ็บป่วยจากภาวะอากาศร้อนได้ง่ายขึ้น
.
ซึ่งเป็นอาการเสี่ยงต่อผู้ที่ทำงานหรืออยู่ในสถานที่ที่มีแดดจัด หรือมีอากาศร้อนอบอ้าว รวมถึงกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคปอด เป็นต้น อาจเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ รวมถึงเด็กและหญิงตั้งครรภ์ก็ต้องระมัดระวังเช่นกัน
.
ผลกระทบต่อร่างกาย
-ตัวร้อน วิงเวียน ปวดศีรษะ
-คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย
-เหงื่อออกมาก หัวใจเต้นแรง
-เป็นลม หรือเกิดอาการชัก พูดจาสับสนไม่รู้เรื่อง
.
วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น
1.รีบนำผู้ป่วยเข้าที่ร่มหรือที่ที่มีอากาศถ่ายเท จัดร่างกายให้ผู้ป่วยนอนราบ คลายเสื้อผ้าออกให้พอหลวม
2.ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นเช็ดตามร่างกาย ซอกคอ รักแร้ และศีรษะ ร่วมกับใช้พัดลมเป่าระบายความร้อน
3.หากผู้ป่วยหมดสติ ให้จับนอนตะแคงเพื่อป้องกันไม่ให้โคนลิ้นอุดตันทางเดินหายใจ
4.รีบนำผู้ป่วยส่งไปยังโรงพยาบาล หรือโทรแจ้งได้ที่ สายด่วน 1669 ทันที
.
สามารถป้องกันโรคฮีทสโตรกได้ง่ายๆ ดังนี้
1.ดื่มน้ำสะอาดบ่อยๆ หากสูญเสียเหงื่อมากควรดื่มเครื่องดื่มประเภทเกลือแร่
2.สวมใส่เสื้อผ้าที่ระบายความร้อนได้ดี ควรเลือกเสื้อผ้าสีอ่อน และไม่รัดแน่นจนเกินไป หลีกเลี่ยงใส่เสื้อ ผ้าสีทึบดํา เพราะจะสะสมความร้อนได้
3.ไม่ควรอยู่กลางแจ้งคนเดียว ควรอยู่เป็นกลุ่ม เพราะหากมีอาการผิดปกติ จะได้มีคนช่วยเหลือได้ทัน
4.หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่มีแดดจัดต่อเนื่องนานเกินไป หรือในสถานที่มีอากาศถ่ายเทไม่สะดวก
5.หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
6.ห้ามทิ้งใครไว้ในรถที่จอดอยู่กลางแดด โดยเฉพาะเด็กเล็ก เพราะรถอาจมีอุณหภูมิสูงข้ึนภายใน 10-20 นาที หากปิดเครื่องปรับอากาศ
.
ที่มา : ข้อมูลการเฝ้าระวังเสียชีวิตที่เกี่ยวเนื่องจากภาวะอากาศร้อน (Hot Weather related Deaths Surveillance) กองระบาดวิทยา , กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม
ลิงก์ผู้สนับสนุน
กระทู้/ข่าว อื่นๆ ที่น่าสนใจ
|
|
|
|
แจ้งลบกระทู้นี้
อ่าน 396 |
|
แสดงความคิดเห็น |
โดย ตนข่าว
IP: Hide ip
, วันที่ 27 เม.ย. 67
เวลา 11:04:39
|