• มนุษย์เงินเดือนได้เฮ! ครม. ลดภาษีกระตุ้นเศรษฐกิจ |
โพสต์โดย กรรมกรข่าว , วันที่ 05 มี.ค. 51 เวลา 09:47:52 IP: Hide ip |
กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
มนุษย์เงินเดือนได้เฮ! ครม. ลดภาษีกระตุ้นเศรษฐกิจ
มนุษย์เงินเดือนได้เฮ! ครม. ลดภาษีกระตุ้นเศรษฐกิจ
ครม.ผ่านมาตรการภาษีกระตุ้นเศรษฐกิจชุดใหญ่ มนุษย์เงินเดือนรับประโยชน์เต็มที่ ได้หักลดหย่อนภาษีเพิ่มหลายรายการ ส่วนภาคธุรกิจ ทั้งประกัน อสังหาริมทรัพย์ และเอสเอ็มอีหน้าบาน เตรียมส่งมาตรการเพิ่มเติมอัดเงินให้รากหญ้าอีกระลอกเดือนเมษายน เอกชนขานรับช่วยกระตุ้นกำลังซื้อ
รัฐบาล เริ่มเดินแผนฟื้นเศรษฐกิจผ่านนโยบายประชานิยม โดยส่งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจชุดแรกให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบเมื่อวันที่ 4 มีนาคม ที่ผ่านมา
นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ที่ประชุม ครม.พิจารณาเห็นชอบมาตรการภาษีเพื่อการกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจของกระทรวง การคลัง ซึ่งสอดคล้องกับแนวนโยบายของรัฐบาล
ที่ต้องการเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจให้เข้มแข็ง แก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน และช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทางสังคม พัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ส่งเสริมธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) รวมทั้งกระตุ้นการลงทุนภาคเอกชนให้ขยายตัวมากขึ้น
มาตรการภาษีดังกล่าว ประกอบด้วย 3 มาตรการหลัก 16 มาตรการย่อย โดยมาตรการหลัก ได้แก่ 1.มาตรการภาษีเพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชนและส่งเสริมการออมของภาคครัว เรือน รวมทั้งช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทางสังคม เช่น ปรับเพิ่มวงเงินสุทธิที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจาก 1 แสนบาท
เป็น 1.5 แสนบาท ปรับเพิ่มวงเงินการยกเว้นและการหักค่าลดหย่อนเบี้ยประกันภัยสำหรับการ ประกันชีวิต จากเดิมที่กำหนดไว้ 5 หมื่นบาท เป็น 1 แสนบาท และเพิ่มการหักค่าลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคู่สมรส บิดา มารดา บุตร ซึ่งเป็นคนพิการได้ 3 หมื่นบาท เป็นต้น
ส่วนมาตรการที่ 2 เพื่อสนับสนุนวิสาหกิจชุมชนและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อย เช่น ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่ นิติบุคคล ซึ่งเป็นวิสาหกิจชุมชนที่มีเงินได้ไม่เกิน 1.2 ล้านบาทต่อปี มีผลตั้งแต่ปี 2551-2553
ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นที่มีทุนจดทะเบียนไม่ เกิน 5 ล้านบาท สำหรับกำไรสุทธิส่วนที่ไม่เกิน 1.5 แสนบาทจากเดิมหากมีกำไร 1 ล้านบาทแรก ต้องเสียภาษี 15% ส่วนที่เกินจากนี้ให้เสียในอัตราเดิม เริ่มตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไป
มาตรการที่ 3 เน้นการกระตุ้นการลงทุนและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของเอกชนไทย ได้แก่ ให้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลสามารถหักค่าใช้จ่ายในการติดตั้งเครื่องจักร อุปกรณ์หรือวัสดุที่ประหยัดพลังงานได้ 1.25 เท่าของค่าใช้จ่าย
ให้บริษัทหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ผลิต ในอัตรา 40% ของมูลค่าต้นทุน และลดภาษีธุรกิจเฉพาะจากเดิม 3% เหลือ 0.1% จากการขายอสังหาริมทรัพย์ โดยต้องดำเนินการภายใน 1 ปี นับจากวันที่กฎหมายมีผลใช้บังคับ เป็นต้น
นพ.สุรพงษ์ กล่าวว่า มาตรการภาษีครั้งนี้ถือเป็นครั้งใหญ่กว่าที่ผ่านมา และน่าจะมีพลังเพียงพอในการกระตุ้นเศรษฐกิจให้ขยายตัวได้ 6% ในปีนี้ นอกจากประชาชนและภาคเอกชนทุกกลุ่มจะได้ประโยชน์แล้ว เชื่อว่าในอนาคตจะทำให้รัฐจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้นทดแทนรายได้ที่สูญเสียไป จากการลดภาษี
ส่วนการคงอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในระดับ 7% ยังไม่ได้นำเข้า ครม. เพราะยังมีเวลาตัดสินใจ แต่เบื้องต้นคาดว่าจะคงภาษีในระดับเดิมต่อไปอีก 2 ปี เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน
อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้รัฐบาลจะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจด้านอื่นๆ ที่ไม่ใช่ภาษีทยอยออกมาเพิ่มเติม เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมนี้เป็นต้นไป เพื่อกระตุ้นประชาชนระดับฐานรากและกลุ่มอื่นๆ
โดยอาจเป็นการกระตุ้นผ่านการใช้งบประมาณ ซึ่งภายในเดือนมีนาคมนี้จะพิจารณาความจำเป็นในการเพิ่มวงเงินงบขาดดุลกลาง ปีอีกครั้ง โดยมองว่ารัฐบาลมีความจำเป็นต้องทำงบขาดดุลต่อเนื่องไปอีก 3-4 ปี เพื่อผลในการกระตุ้นเศรษฐกิจ
ด้านนายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า มาตรการภาษีครั้งนี้ถือเป็นมาตรการใหญ่มากนับตั้งแต่ปี 2535 ที่มีการปรับจากระบบภาษีการค้ามาเป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม
ซึ่งมาตรการดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อผู้มีรายได้และผู้ประกอบการหลายระดับ แม้จะส่งผลให้รัฐจัดเก็บรายได้ลดลงถึง 4.2 หมื่นล้านบาท แต่จะส่งผลให้เกิดการใช้จ่ายและการลงทุนในประเทศเพิ่มมากขึ้น ซึ่งทำให้รัฐมีรายได้มากกว่าที่เสียไป
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวถึงมาตรการดังกล่าวว่า เป็นมาตรการที่ดี ช่วยวิสาหกิจชุมชนและเอสเอ็มอีให้มีเงินเหลือใช้จ่ายเพิ่มขึ้น และการลดภาษีธุรกิจเฉพาะให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จาก 3% เหลือ 0.1% เชื่อว่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศ
จากการซื้อขายในภาคอสังหาริมทรัพย์ และส่งผลเกี่ยวเนื่องกับหลายธุรกิจ ตั้งแต่วัสดุก่อสร้าง เหล็ก รวมไปถึงแรงงานในธุรกิจก่อสร้าง โดยภาพรวมแล้วเชื่อว่ามาตรการลดหย่อนภาษีธุรกิจจะทำให้ภาคอสังหาริมทรัพย์ คึกคักมากขึ้น และจะเห็นผลชัดเจนกว่าการกระตุ้นส่วนอื่น
ส่วนผลการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ จะต้องดูหลังใช้มาตรการ 3 เดือน ว่าจะได้ผลอย่างไร ทั้งนี้ รัฐบาลควรเร่งประชาสัมพันธ์มาตรการดังกล่าวให้ผู้ประกอบการและประชาชนรับ รู้โดยเร็ว ประกอบกับเร่งเบิกจ่ายงบประมาณและเร่งลงทุนโครงการเมกะโปรเจกท์ ก็จะช่วยเสริมเศรษฐกิจให้ขยายตัวได้ดีขึ้น
และต้องทำอย่างต่อเนื่อง ขณะที่มาตรการภาษีเพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชนและช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส ทางสังคม จะทำให้ผู้มีรายได้ระดับกลางถึงล่างมีเงินเหลือไว้ใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดกำลังซื้อในระบบเศรษฐกิจ นับเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจระดับล่างได้ส่วนหนึ่ง
ที่มาจาก
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
|
|
|
แจ้งลบกระทู้นี้
อ่าน 1367 |
|
แสดงความคิดเห็น |
โดย กรรมกรข่าว
IP: Hide ip
, วันที่ 05 มี.ค. 51
เวลา 09:47:52
|