• เตือนโรคฉี่หนูระบาดฤดูฝน |
โพสต์โดย กรรมกรข่าว , วันที่ 02 ก.ค. 51 เวลา 09:06:36 IP: Hide ip |
กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
เตือนโรคฉี่หนูระบาดฤดูฝน
............ฉี่หนูระบาด............
กรมปศุสัตว์เตือนภัยระวังโรคฉี่หนู ทั้งในคนและสัตว์เลี้ยง ซึ่งพบการระบาดของโรคนี้สูงในช่วงฤดูฝน การป้องกันควรหลีกเลี่ยงการเข้าไปในแหล่งน้ำหรือโคลนที่อาจมีการปนเปื้อนของเชื้อ หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรสวมรองเท้าบู๊ทและถุงมือยางให้มิดชิดและควรชำระล้างร่างกายด้วยสบู่ทันที
นายสัตวแพทย์ศักดิ์ชัย ศรีบุญซื่อ อธิบดีกรมปศุสัตว์ แจ้งเตือนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ให้เฝ้าระวังสัตว์เลี้ยง เนื่องจากขณะนี้เป็นฤดูฝน ประกอบกับมีฝนตกติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมขังในหลายพื้นที่ จึงเป็นสาเหตุทำให้เกิดการระบาดของโรคต่าง ๆ มากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคฉี่หนู หรือโรคเลปโตสไปโรซีส (Leptospirosis) กรมปศุสัตว์จึงขออธิบายถึงโรคดังกล่าวพอสังเขปดังนี้ สาเหตุของโรคเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ชื่อ เลปโตสไปรา (Leptospira sp.) ซึ่งเป็นเชื้อที่อยู่ในปัสสาวะของสัตว์พาหะ เช่น หนู สุนัข หมู วัว ควาย แพะ แกะ และแมว เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า เชื้อเลปโตสไปโรซีสสามารถมีชีวิตได้นานในดิน โคลนหรือน้ำที่มีความชื้นและกรดด่างพอเหมาะ แต่เชื้อจะถูกทำลายได้ง่ายในพื้นดินที่แห้งและมีแดดส่อง
ดังนั้น จึงพบการระบาดของโรคนี้สูงในช่วงฤดูฝน เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่สภาพอากาศมีความเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเชื้อ และทำให้โอกาสการติดต่อของโรคสู่คนหรือสัตว์อื่น ๆ สูงขึ้น การติดต่อสามารถติดต่อได้จากการที่สัตว์ดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนปัสสาวะที่มีเชื้อการผสมพันธุ์ และการสัมผัสกับเชื้อเลปโตสไปโรซีสโดยตรง นอกจากนี้ยังพบว่าเชื้อสามารถติดต่อจากแม่สู่ลูกระหว่างอยู่ในครรภ์หรือขณะคลอดได้ สำหรับในคนนั้นสามารถติดต่อได้จากการที่สัมผัสโดยตรงกับสัตว์นำโรค หรือโดยการติดเชื้อที่ปนเปื้อนอยู่ในน้ำ ในดินโดยผ่านทางผิวหนังที่มีแผลขีดข่วนหรือเข้าทางเยื่อบุจมูก ปาก หรือ ตา
อาการ โดยส่วนใหญ่เมื่อสัตว์ได้รับเชื้อเลปโตสไปโรซีสแล้ว มักไม่แสดงอาการป่วยให้เห็นแต่อาจพบแสดงอาการป่วยรุนแรงจนเป็นเหตุให้เสียชีวิตได้ อาการที่พบได้แก่ มีไข้ ซึม เบื่ออาหารมีจุดเลือดออกตามเยื่อเมือก สุดท้ายเกิดไตวาย ดีซ่าน และตาย สัตว์ที่ตั้งท้องอาจแท้ง ส่วนในคนอาการที่พบโดยส่วนใหญ่ ได้แก่ มีไข้ ปวดศีรษะและกล้ามเนื้อย่างรุนแรง โดยเฉพาะกล้ามเนื้อน่องและหลัง ตาแดงอักเสบ ดีซ่าน การป้องกันและรักษาในสัตว์ ได้แก่ มีมาตรการควบคุมป้องกันโรคในสัตว์ที่เข้มงวด ควรกำจัดสัตว์นำโรค เช่น หนู อย่างต่อเนื่องในบริเวณฟาร์มหรือฝูงเลี้ยงสัตว์ รักษาสัตว์ที่ติดเชื้อด้วยยาปฏิชีวนะ ปรับปรุงสุขาภิบาลในคอก สัตว์เลี้ยง และควบคุมการนำเข้าสัตว์ใหม่เข้าฝูง
ส่วนการป้องกันและรักษาในคน ได้แก่ หลีกเลี่ยงการเข้าไปในแหล่งน้ำหรือโคลนที่อาจมีการปนเปื้อนของเชื้อ หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรสวมรองเท้าบู๊ทและถุงมือยางให้มิดชิด เมื่อขึ้นจากน้ำควรชำระล้างร่างกายด้วยสบู่ทันทีเพื่อป้องกันการติดเชื้อเลปโตสไปโรซีสที่อาจปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม ปรับปรุง/ดูแลด้านสุขาภิบาลตามอาคารบ้านเรือนที่พักอาศัย เช่น กำจัดขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูลที่จะเป็นแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัยของหนู ไม่รับประทานน้ำนมดิบ รก หรือเนื้อสัตว์ที่ปรุงไม่สุก เพราะอาจมีเชื้อเลปโตสไปโรซีสปนเปื้อนอยู่ ทั้งนี้ หากพบอาการน่าสงสัยว่าติดเชื้อ ควรพบแพทย์ทันที ไม่ควรซื้อยามารับประทานเองเพราะอาจจะส่งผลที่เป็นอันตรายต่อร่างกายได้
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
|
|
|
แจ้งลบกระทู้นี้
อ่าน 2169 |
|
แสดงความคิดเห็น |
โดย กรรมกรข่าว
IP: Hide ip
, วันที่ 02 ก.ค. 51
เวลา 09:06:36
|