กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
อดีตผบ.หน่วยปฏิบัติการลำน้ำโขง เตือนไทยระวังเสีย'เกาะกูด'ซ้ำรอย'ปราสาทพระวิหาร' หวั่นกระทบเส้นเขตแดนอ่าวไทยสูญแหล่งพลังงานมูลค่ามหาศาล รายได้นับแสนล้านต่อปี ร้อง'แม้ว'เผยข้อมูลคุย'ฮุนเซ็น' เผยสหรัฐฯส่งเรือรบรุ่นใหญ่เทียบท่าเขมรแล้ว พร้อมโดดร่วมสงคราม
มติชนออนไลน์ - พล.ร.ท.ประทีป ชื่นอารมย์ อดีตผู้บัญชาการหน่วยปฏิบัติการลำน้ำโขง(นปข.) กล่าวถึงกรณีการขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก ว่า เกิดจากเมื่อครั้งประเทศกัมพูชาตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส ซึ่งเป็นผู้ขีดเส้นแบ่งเขตแดนจนทำให้เกิดพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตร.กม.ขึ้น เช่นเดียวกับเส้นแบ่งเขตแดนในทะเลที่ฝรั่งเศสขีดเส้นเขตไหล่ทวีป ซึ่งเป็นเส้นแสดงความนัยยะเป็นเจ้าของ มีสิทธิอธิปไตยในทรัพยากรใต้ท้องทะเล เช่น ฟอสซิล ก๊าซและน้ำมัน โดยเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาเริ่มจากหลักเขตแดนที่ 73 บริเวณบ้านหาดเล็ก จ.ตราด ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ผ่านพื้นที่ 1 ใน 3 ของเกาะกูด ต่างจากเส้นเขตไหล่ทวีปของไทย ซึ่งเริ่มจากหลักเขตแดนที่ 73 เหมือนกัน แต่ไปในทางทิศใต้และไม่ผ่านพื้นที่เกาะกูด เพราะถือว่าเกาะกูดเป็นของไทยตั้งแต่แรก เมื่อเส้นเขตไหล่ทวีปของทั้งสองประเทศไม่ตรงกัน จึงเกิดพื้นที่ทับซ้อนไหล่ทวีปมากกว่า 20,000 ตร.กม.
พล.ร.ท.ประทีป กล่าวเพิ่มเติมว่า ในพื้นที่ทับซ้อนไหล่ทวีปดังกล่าวนั้น เมื่อปี พ.ศ. 2550 กัมพูชาประกาศว่า ได้ให้บริษัท Chevron Corp ของสหรัฐอเมริกาขุดสำรวจและพบว่าเป็นแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ขนาด 6,278 ตร.กม. ประกอบกับผลการศึกษาของสหประชาชาติ ธนาคารโลกและมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด คาดว่าแหล่งพลังงานดังกล่าวจะมีน้ำมันดิบประมาณ 2,000 ล้านบาร์เรลและก๊าซธรรมชาติประมาณ 10 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นรายได้มหาศาลสูงถึง 6,000 ล้านดอลลาร์หรือประมาณ 2.1 แสนล้านบาท ต่อปี นอกจากนี้กัมพูชาประกาศว่าจะนำมันดิบและแก๊สธรรมชาติขึ้นมาใช้ในเชิงพาณิชย์ได้ในปี พ.ศ.2550 จึงน่าสังเกตุว่าเหตุใดประเทศไทยจึงยอมให้กัมพูชาขุดเจาะน้ำมันในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลได้
'เขาพระวิหารจะเป็นบทเรียนในอนาคตที่ยิ่งใหญ่กว่าปัจจุบัน กรณีเขาพระวิหาร เราสูญเสียแค่อำนาจอธิปไตยความเป็นชาติและโบราณวัตถุ และสูญูเสียความรู้สึก แต่ในทะเลนอกจากเสียอำนาจอธิปไตยแล้ว จะสูญเสียทรัพยากรที่เป็นมูลค่าที่จับต้องได้อีกมหาศาล' อดีตผู้บัญชาการหน่วยปฏิบัติการลำน้ำโขง กล่าว
นอกจากนี้ อดีตผู้บัญชาการหน่วยปฏิบัติการลำน้ำโขงกล่าวว่า เมื่อปี พ.ศ. 2544 ได้มีการตกลงในบันทึกความเข้าใจ(MOU) ภายใต้คณะกรรมการร่วมด้านเทคนิคไทย-กัมพูชา (Thai-Cambodian Joint Technical Committee – JTC) ซึ่งมีนายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศในขณะนั้นเป็นประธานฝ่ายไทย และนายซก อาน รองนายกรัฐมนตรีกัมพูชาเป็นประธานฝ่ายกัมพูชา โดยคณะกรรมการดังกล่าวมีหน้าที่รับผิดชอบในการกำหนด เงื่อนไขที่ตกลงร่วมกันของสนธิสัญญาการพัฒนาร่วม การแบ่งปันค่าใช้จ่ายและผลประโยชน์ของการแสวงประโยชน์ทางทรัพยาการปิโตรเลียมในพื้นที่ ส่วนการแบ่งเขตทะเลอาณาเขต ไหล่ทวีป และเขตเศรษฐกิจจำเพาะระหว่างเขตที่แต่ละฝ่ายอ้างสิทธิอยู่ในพื้นที่ที่ต้อง 'แบ่งเขตตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งใช้บังคับ' ทั้งนี้ หากมีการแบ่งเขตตามที่ระบุไว้ ต้องระวังอย่างมาก เพราะไทยอาจเสียเกาะกูดซ้ำรอยปราสาทพระวิหาร และอาจทำให้พื้นที่เขตไหล่ทวีปเปลี่ยนแปลงและได้พื้นที่ในอ่าวไทยน้อยลง
พล.ร.ท.ประทีป กล่าวต่อว่า หลังจากนั้น ในปี พ.ศ.2549 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางเยือนกัมพูชา เพื่อเจรจากับฮุนเซน ผู้นำกัมพูชา ทำความตกลงพัฒนาร่วมทรัพยากรปิโตรเลียมและแบ่งเขตทางทะเล ซึ่งยังไม่เคยเปิดเผยรายละเอียดในข้อตกลงในเรื่องสัดส่วนการแบ่งผลประโยชน์เลย จึงอยากเรียกร้องให้เปิดเผยรายละเอียดความคืบหน้าของการตกลงทั้งสองกรณีดังกล่าว
อดีตผู้บัญชาการหน่วยปฏิบัติการลำน้ำโขง(นปข.) กล่าวทิ้งท้าย ที่น่าสงสัยอีกอย่างหนึ่ง คือพฤติกรรมของสหรัฐฯ ในระยะนี้ โดยเฉพาะการสร้างสถานทูตในกรุงพนมเปญใหญ่กว่าสถานทูตประจำประเทศไทย รวมทั้งได้ส่งเรือรบพิฆาตนำวิถีขนาดใหญ่เทียบท่าเรือสีหนุวิลล์ของกัมพูชาอยู่บ่อยครั้ง ทั้งที่ไม่เคยจอดเทียบท่าดังกล่าวมาก่อน เหมือนมีนัยยะจะแสดงพลังบางอย่าง ทำให้เกิดความกังวลว่า หากเหตุการณ์พิพาทบานปลายกลายเป็นความรุนแรงระดับสงคราม การรบในครั้งนี้ไทยคงไม่ได้สู้กับกัมพูชาเพียงประเทศเดียวเท่านั้น
ที่มาจากหนังสือพิมพ์มติชน
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
|
|
|