• พระธาตุดอยสุเทพเกิดรอยร้าว หวั่นพังครืน หากฝนตกหนัก |
โพสต์โดย ตนข่าว , วันที่ 29 มิ.ย. 52 เวลา 09:54:31 IP: Hide ip |
กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
กรมศิลปากรพบฐานรากชั้นที่ 2 ของพระธาตุดอยสุเทพเกิดรอยร้าวจากฐานดินใต้โครงสร้างไหลตามน้ำฝน วิศวกรคาด หากเกิดฝนตกหนักพร้อมกับแผ่นดินไหวเกิน 5 ริกเตอร์ องค์พระธาตุเสี่ยงพังทลายได้เตรียมของบ 129 ล้านบาทเร่งบูรณะและติดตั้งเครื่องตรวจวัดน้ำใต้ดินแล้ว
เมื่อวันที่ 28 มิ.ย.52 นายสหวัฒน์ แน่นหนา ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 8 เชียงใหม่ เปิดเผยความคืบหน้าการบูรณะพระธาตุดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่ ว่า จากที่คณะทำงานสำนักศิลปากรที่ 8 ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดแผ่นทองจังโกบางส่วนรอบองค์พระธาตุฯ ออกเมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว พบชั้นในองค์พระธาตุฉ่ำไปด้วยความชื้น ปูนขาวใช้ฉาบเปื่อยยุ่ยเป็นผงละเอียดหลุดเป็นเนื้อดิน ตะปูสังฆวานรโบราณยึดติดองค์พระธาตุฯ หลุดหมด แต่องค์พระธาตุฯ อยู่ได้ด้วยแผ่นจังโกโอบรัดไว้เท่านั้น และผลการศึกษาของวิศวกรรม มช.ให้เร่งดำเนินการบูรณะ 3 อย่างคือ 1.แก้ไขปัญหาความชื้นภายในองค์พระธาตุอย่างเร่งด่วน 2.จัดระบบระบายน้ำใหม่หมดรอบองค์พระธาตุ และ 3.พื้นที่ลาดเอียงด้านทิศเหนือและค่อนไปทางทิศตะวันออกเป็นพื้นที่ลาดเอียง 45 องศา พบว่า เสถียรภาพของดินไม่มั่นคง หากฝนตก หนักอย่างต่อเนื่องอาจมีผลถึงโครงสร้างองค์พระธาตุทำให้เกิดการสไลด์ตัวได้ ตลอดเวลา
ทั้งนี้ในการบูรณะองค์พระธาตุฯ ดำเนินการไปแล้วแก้ปัญหาความชื้นภายในองค์พระธาตุฯ และระบบระบายน้ำรอบองค์พระธาตุใหม่หมด จะไม่ทำให้ความชื้นเข้าไปในองค์พระธาตุได้ตามที่รัฐบาลอนุมัติงบประมาณ 107.5 ล้านบาท และได้รายงานความคืบหน้าให้นายเกรียงไกร สัมปัชชลิต อธิบดีกรมศิลปากร รับทราบอย่างต่อเนื่อง จะเหลือเพียงการแก้ปัญหาพื้นที่ลาดเอียงเท่านั้น ยังไม่ได้ดำเนินการ แต่ได้จัดทำแบบแปลนไว้เสร็จเรียบร้อยแล้ว รอการอนุมัติจัดซื้อจัดจ้างและงบประมาณบูรณะในแผนงานกระตุ้นการท่องเที่ยว อารยธรรมล้านนา
อย่างไรก็ตามล่าสุด สิ่งที่น่าห่วงจากการที่ตรวจสอบล่าสุด เมื่อวันที่ 26 มิ.ย.นั้นบริเวณพื้นดินที่เอียงบริเวณส่วนฐานทางทิศเหนือที่ยังไม่ได้ดำเนิน การ เนื่องจากทางวัดต้องใช้พื้นที่บริเวณองค์พระธาตุประกอบพิธีกรรมต่างๆ จึงเป็นห่วงว่า ในฤดูฝนเช่นนี้อาจจะทำให้ดินที่อยู่ในแนวเอียงทลายลงหรือไหลไปกับน้ำฝน โดยเฉพาะส่วนฐานองค์พระธาตุที่ดินได้อ่อนตัวไหลออกอย่างต่อเนื่อง และพบว่าฐานรากชั้นที่ 2 มีรอยร้าว จึงส่งผลให้ฐาน และพื้นที่บริเวณระเบียงองค์พระธาตุทรุดตัว และเกิดรอยร้าวขึ้น ทั้งนี้สถาบันเทคโนโลยีเอเชีย และวิศวกรจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่คาดว่า หากมีฝนตกหนักและเกิดแผ่นดินไหวมากกว่า 5 ริกเตอร์พร้อมกัน จะส่งผลให้ยอดองค์พระธาตุทลายลงมาได้
นายสหวัฒน์ กล่าวอีกว่า เมื่อปี 2538 ได้เกิดฝนตกหนักในพื้นที่องค์พระธาตุ พร้อมๆกับแผ่นดินไหวประมาณ 6 ริกเตอร์ทำให้ยอดองค์พระธาตุหักลงมา จากการสำรวจ พบว่า คันกั้นดินเอียง จึงทำให้ดินที่อยู่ในส่วนฐานไหลออกมาทำให้องค์พระธาตุมีรอยร้าวและยอดหัก สำหรับปัญหาดังกล่าวได้รับการแก้ไขบ้างแล้วแต่ยังไม่ถาวร
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ทางกรมศิลปากรจะของบประมาณจำนวน 129 ล้านบาท เพื่อนำมาบูรณะ พร้อมติดตั้งเครื่องมือตรวจวัดระดับน้ำใต้ดิน เนื่องจากขณะนี้อยู่ในช่วงฤดูฝน จึงต้องเตรียมการป้องกันไว้ล่วงหน้า ซึ่งตามแผนงานกระตุ้นการท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนาต้องแล้วเสร็จภายในปี 2553 แต่การดูแลพื้นที่ลาดเอียงดังกล่าวต้องเสร็จก่อนช่วงมีฝนมาก.
ที่มา ไทยนิวส์
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
|
|
|
แจ้งลบกระทู้นี้
อ่าน 1514 |
|
แสดงความคิดเห็น |
โดย ตนข่าว
IP: Hide ip
, วันที่ 29 มิ.ย. 52
เวลา 09:54:31
|